เสด็จลี้ภัยครั้งที่สองและสวรรคต ของ พระเจ้าชาร์ลที่_10_แห่งฝรั่งเศส

พระราชวังสตราสซัลโดในกอริเซีย ที่พำนักในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพสุสานของพระเจ้าชาร์ลที่ 10 และดยุกแห่งอ็องกูแลม พระราชโอรส ณ สุสานกอนสตานเจวิกาในเมืองนอวากอริกา สโลวีเนีย

เมื่อเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าผู้ประท้วงจำนวน 14,000 คน กำลังเตรียมการบุกโจมตี สมาชิกพระราชวงศ์จึงเสด็จออกจากร็องบูเยต์จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม ทั้งหมดต่างพากันลงเรือกลไฟพาณิชย์ที่พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปทรงจัดเตรียมไว้ให้สู่สหราชอาณาจักร ทุกพระองค์ทรงได้รับแจ้งจากนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ดยุกแห่งเวลลิงตัน ว่าจะต้องเสด็จเข้าสู่ประเทศอังกฤษเยี่ยงสามัญชนทั่วไป ทุกพระองค์จึงต้องทรงใช้พระนามแฝง ส่วนพระเจ้าชาร์ลที่ 10 ทรงใช้พระนามเรียกตนเองว่า เคาน์แห่งปงตีเยอ เมื่อเสด็จเข้าสู่อังกฤษ ชาวอังกฤษต้อนรับสมาชิกราชวงศ์บูร์บงอย่างเย็นชาและมีท่าทีเย้ยหยันด้วยการโบกธงตรีกอลอร์ของฝ่ายปฏิวัติที่พึ่งจะถูกประกาศใช้เป็นธงชาติแห่งฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ[56]

ไม่นานหลังจากนั้น บรรดาเจ้าหนี้ของพระเจ้าชาร์ลที่ 10 ต่างพากันตามพระองค์มายังอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้าหนี้เหล่านี้ได้ถวายเงินกู้ยืมจำนวนมหาศาลให้พระเจ้าชาร์ลได้ทรงใช้สอยและพระองค์ยังไม่ได้ทรงใช้คืนจนครบจำนวนเงินที่ทรงติดค้างไว้ อย่างไรก็ตาม พระราชวงศ์ยังพอมีพระราชทรัพย์ส่วนของเจ้าหญิงมารี เตเรซ พระชายา ที่ทรงฝากไว้ในลอนดอนมาชดใช้หนี้สินดังกล่าว[56]

พระราชวงศ์บูร์บงทรงได้รับอนุญาตให้พำนักที่ปราสาทลัลเวิร์ธในดอร์เซต แต่ไม่นานก็ต่างพากันเสด็จย้ายไปพำนักที่พระราชวังฮอลีรูดในเอดินบะระ[56] ซึ่งใกล้เคียงกันคือ รีเจนต์เทอร์เรซ สถานที่ประทับของพระสุณิสา (ลูกสะใภ้) เจ้าหญิงคาโรไลน์ แฟร์ดีนันด์แห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง ดัชเชสแห่งแบร์รี[57]

จากการที่พระเจ้าชาร์ลที่ 10 เสด็จฯ ย้ายมาประทับ ณ สกอตแลนด์ ปรากฏว่าความสัมพันธ์ของพระองค์กับดัชเชสแห่งแบร์รีไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากดัชเชสแห่งแบร์รีทรงอ้างสิทธิ์การเป็นผู้สำเร็จราชการแทนให้แก่พระโอรสของพระนาง อ็องรี ดาร์ตัว รัชทายาทที่ได้รับสมมุติแห่งฝรั่งเศสสายเลชีตีมีสต์องค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากการสละราชสมบัติของพระเจ้าชาร์ล ณ ร็องบูเยต์ ในช่วงแรกพระเจ้าชาร์ลไม่ทรงยอมรับการอ้างสิทธิ์ดังกล่าว แต่ในเดือนธันวาคมทรงตกลงว่าจะสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ดังกล่าว[58] หากพระนางเสด็จนิวัตฝรั่งเศสได้สำเร็จ[57] ในปี พ.ศ. 2374 ดัชเชสแห่งแบร์รีเสด็จออกจากบริเตนผ่านเนเธอร์แลนด์ ปรัสเซีย ออสเตรีย สู่เนเปิลส์ อันเป็นถิ่นที่ประทับเดิมที่ราชวงศ์ของพระนางประทับอยู่[57] ต่อมาเสด็จถึงมาร์แซย์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2375 แต่ทรงได้รับเสียงสนับสนุนเพียงน้อยนิด[57] จึงเสด็จต่อไปยังว็องเด ที่ซึ่งทรงพยายามก่อการกำเริบต่อรัฐบาลใหม่ แต่ทรงถูกจับกุมตัวและถูกคุมขัง นำมาซึ่งความอัปยศแก่พระเจ้าชาร์ลเป็นอันมาก[58] เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัว ดัชเชสแห่งแบร์รีเสกสมรสใหม่อีกครั้งกับขุนนางชั้นผู้น้อยแห่งเนเปิลส์ ยิ่งทำให้พระเจ้าชาร์ลทรงรู้สึกอนาถพระทัยมากขึ้นไปกว่าเดิม และจากการแต่งงานต่างฐานันดรในครั้งนี้ ทำให้พระเจ้าชาร์ลทรงห้ามไม่ให้พระนางพบกับพระโอรส-ธิดาของพระนางอีก[59]

ในช่วงฤดูหนาวระหว่างปี พ.ศ. 2375 - 2376 พระราชวงศ์บูร์บงที่เหลือเสด็จย้ายไปประทับ ณ กรุงปราก ตามคำเชิญของจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย ทั้งหมดจึงได้ประทับ ณ พระราชวังฮะราดส์ชิน (Hradschin Palace) ภายใต้พระบรมราชานุญาตของจักรพรรดิแห่งออสเตรีย[58] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2376 สมาชิกราชวงศ์บูรบงสายเลชีตีมีสต์ทรงรวมกลุ่มกันที่กรุงปรากเพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติปีที่สามสิบของดยุกแห่งบอร์โด ทั้งหมดต่างทรงคาดหวังว่างานเฉลิมฉลองจะออกมายิ่งใหญ่ แต่พระเจ้าชาร์ลกลับเพียงแค่เฉลิมฉลองเพียงเล็กน้อย ในวันเดียวกันนั้นเอง หลังจากที่ทรงถูกโน้มน้าวอย่างมากจากเดอ ชาโตบรีอองด์ ทรงตกลงยอมพบกับดัชเชสแห่งแบร์รีในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ณ ลีโอเบิน ในออสเตรีย ซึ่งพระโอรส-ธิดาของพระนางปฏิเสธที่จะพบกับพระมารดาของตนหลังจากทราบข่าวการเสกสมรสครั้งที่สอง พระเจ้าชาร์ลทรงปฏิเสธคำเรียกร้องหลายประการจากดัชเชสแห่งแบร์รี แต่จากคำทักท้วงของพระสุณิสา (ลูกสะใภ้) พระองค์อื่น ๆ เช่น ดัชเชสแห่งอ็องกูแลม พระเจ้าชาร์ลจึงยอมตกลงในที่สุด ต่อมาช่วงฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2378 พระเจ้าชาร์ลก็ทรงยิมยอมให้ดัชเชแห่งแบร์รีเข้าพบกับพระโอรส-ธิดาของพระนางได้[60]

จากการสวรรคตของจักรพรรดิฟรันซ์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2378 สมาชิกราชวงศ์บูร์บงเสด็จย้ายออกจากปราสาทปราก เนื่องจากจักพรรดิพระองค์ใหม่ของออสเตรีย จักรพรรดิแฟร์ดีนันด์ที่ 1 ประสงค์ที่จะใช้ปราสาทดังกล่าวเป็นสถานที่สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ ในช่วงต้นทั้งหมดเสด็จย้ายไปพำนักชั่วคราวที่เมืองเตอปลิตซ์ แต่ต่อมาเมื่อจักรพรรดิแฟร์ดีนันที่ 1 ประสงค์ที่จะประทับ ณ ปราสาทปรากเป็นการถาวร สมาชิกราชวงศ์บูร์บงจึงต้องหาที่พำนักแห่งใหม่และตัดสินใจซื้อปราสาทเคียชแบร์ก (Kirchberg Castle) แต่ยังไม่สามารถย้ายเข้าไปได้ในทันทีเนื่องจากในขณะนั้นมีการระบาดของอหิวาตกโรค ในขณะเดียวกันนั้นเอง ในเดือนตุลาคม ที่พระเจ้าชาร์ลเสด็จฯ ไปยังชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของออสเตรียที่อบอุ่นกว่า ณ เมืองเกอร์ซ (Görz) ของสโลวีเนีย ซึ่งที่เมืองเกอร์ซนี้เองที่ทรงติดเชื้ออหิวาตกโรคและสวรรคตในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2379 ชาวเมืองต่างพากันสวมเสื้อผ้าสีดำเป็นการไว้อาลัยให้กับพระองค์ พระศพถูกฝัง ณ สุสานกอนสตานเจวิกา (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเมืองเมืองนอวากอริกาของสโลวีเนีย)[61] ร่วมกับหลุมศพของสมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ