นโยบายต่างประเทศผิดแปลก ของ พระเจ้าซาร์บอริสที่_3_แห่งบัลแกเรีย

การสร้างสัมพันธไมตรีกับนาซีเยอรมนี

จากสนธิสัญญาเนยยี-เซอร์-ไซน์ ทำให้กองทัพบัลแกเรียเป็นอันตรายและหลายครั้งที่รัฐบาลต้องการการแก้ไข ในปีพ.ศ. 2478 ได้เผชิญหน้ากับตุรกี เพื่อป้องกันช่องแคบที่ เธรซทางตะวันตก เมื่อขอบเขตแดนถูกรุกล้ำ บัลแกเรียได้เตรียมทำการโจมตีโดยมีมหาอำนาจยินยอม บัลแกเรียได้หันไปพึ่งฝรั่งเศส,อังกฤษและเยอรมนี เพื่ออาวุธที่ทันสมัย จักรวรรดิไรช์ที่สามได้ตอบรับพร้อมข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ในขณะที่รับข้อเสนอพระเจ้าซาร์บอริสทรงพยายามไม่มีสัญญาณที่ผูกมิตรกับทหารเยอรมัน

ในเชิงพาณิชย์ นาซีเยอรมนีได้ค้นหาประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตเกี่ยวกับอาหารและบัลแกเรียมีทรัพยากรมาก ดังนั้นจึงมีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจกันทั้ง 2 ประเทศ บัลแกเรียส่งออก 70% แม้จะมีการเจริญเติบโตของฝ่ายประชาชนที่พระองค์ทรงกลัว บัลแกเรียได้อยู่ภายใต้การครอบงำของเยอรมันตามที่ทรงคาด พระองค์จึงพยายามหันไปหาประชาธิปไตยตะวันตก

ภาพพระฉายาลักษณ์อย่างเป็นทางการของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และซารินาจีโอวันนา

นโยบายทางการทูตของพระเจ้าซาร์

พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย ในปีพ.ศ. 2476

ตั้งแต่พ.ศ. 2478 พระเจ้าซาร์บอริสและนายกรัฐมนตรี จอร์กี คียอเซอิวานอฟ พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาธิปไตยตะวันตก พระองค์เสด็จไปฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้งเพื่อรองรับประชาธิปไตยแต่ไม่สำเร็จด้านสัญญาการค้า ในช่วงหนึ่งทรงเดินทางไปอังกฤษในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2481 พระองค์ได้รับการช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิลล์ แซมเบอร์เลน เกี่ยวกับวิกฤตชูเดเตน พระองค์ทรงทราบว่า ฟือเรอห์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์รู้สึกเห็นใจเขาและได้มีบทบาทเป็นตัวกลางในกิจการของพระองค์ในเยอรมนี ซึ่งพระองค์ได้พบปะเป็นการลับกับฟือเรอห์ หลังจากการพบปะนี้พระองค์ทรงเขียนถึงเลขาธิการที่จะใช้คำแนะนำการติดต่อโดยตรงกับฮิตเลอร์และกำหนดขอบเขตแคว้นชูเดเตน

ในพ.ศ. 2478 ในระหว่างการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของอิตาลีโดยสัมพันธมิตร ในกรณีที่อิตาลีรุกรานเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปีย พระเจ้าซาร์บอริสทรงไม่ลังเลที่จะสนับสนุนการคว่ำบาตรอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี เตือนพระองค์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์บัลแกเรียและอิตาลี พระองค์ทรงตอบกลับว่า "ผมไม่ต้องการดำเนินนโยบายโดยใช้ความรู้สึกต่อพ่อแม่ภรรยาผม"

สำหรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในกลุ่มบอลข่านนับว่าตึงเครียดยิ่งกว่า บัลแกเรียได้ปฏิเสธที่เกี่ยวข้องกับ"ข้อตกลงบอลข่าน" โรมาเนีย,ยูโกสลาเวีย,ตุรกีและกรีซได้กำหนดข้อตกลงขึ้นเพื่อไม่ให้บัลแกเรียเกิดลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืน โดยข้อตกลงนี้บังคับให้บัลแกเรียยอมรับสภสพที่เป็นอยู่ ทำให้ต้องยอมแพ้ทางพฤตินัย ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ สัญญามิตรภาพระหว่างบัลแกเรียและยูโกสลาเวียลงนามในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2480

เมื่อสงบ พระเจ้าซาร์บอริสทรงมั่นใจได้ว่าลัทธิสนับสนุนการเรียกร้องดินแดนคืนของบัลแกเรียสามารถแก้ไขได้ผ่านช่องทางการทูตและจะเพิ่มขึ้นด้วยการสนับสนุนอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และสงครามโลกครั้งที่ 2

เป็นกลาง

ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความคิดเห็นในสาธารณะระหว่างการสนับสนุนเยอรมนี ซึ่งสัญญาจะจะได้รับอาณาเขตที่เสียไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเห็นใจฝ่ายที่ต่อต้านฝ่ายอักษะ พระเจ้าซาร์บอริสทรงกล่าวในปีพ.ศ. 2483 ว่า "นายพลของข้าคือผู้นิยมเยอรมัน ข้าคือผู้นิยมนโยบายอังกฤษ,พระราชินีและพสกนิกรคือผู้นิยมอิตาลีและผู้นิยมรัสเซีย ดังนั้นข้าบัลแกเรียเป็นกลาง"

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 ฮิตเลอร์ประสบความสำเร็จ พระเจ้าซาร์บอริสทรงเป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรีบ็อกดาน ฟิลอฟ ซึ่งนิยมเยอรมัน หลังจากการเข้าพบฮิตเลอร์ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 พระองค์ทรงบอกว่า โรมาเนียมีแนวโน้มที่จะยึดครองโดบรุลยา ดังนั้นหลังจากเจรจาโดบรุลยาใต้ถูกคืนสู่บัลแกเรียในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 โดยสนธิสัญญาคราอิโอวา พระองค์ทรงส่งผลของสนธิสัญญาให้กับฮิตเลอร์,มุสโสลินี และรวมทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสด้วย

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2483 มุสโสลินีได้เชิญพระองค์ให้ร่วมในสงครามอิตาลี-กรีซ ซึ่งทำให้บัลแกเรียได้รับพื้นที่ถึงทะเลอีเจียนแต่พระองค์ปฏิเสธคำเชิญ ในทำนองเดียวกันแม้จะมีแรงกดดันที่ว่าซาร์ทำให้ฮิตเลอร์ไม่ประสบความสำเร็จ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 บัลแกเรียได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาไตรภาคี พระเจ้าซาร์ทรงต้องการที่จะเป็นกลางและตามคำเชิญของฟือเรอห์ พระองค์ตอบว่า "ไม่ตอนนี้" ทัศนคติของพระองค์ตอนนี้ทำให้ได้ชื่อเล่นจากฮิตเลอร์ว่า"จิ้งจอกเขี้ยวลากดิน"

ความกังวลเกี่ยวกับการพบปะกับฮิตเลอร์ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน สหภาพโซเวียตเสนอพระเจ้าซาร์บอริสให้เป็นสัญญาทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ พระเจ้าซาร์ปฏิเสธ นาซีได้ย้ำอีกครั้งถึงสนธิสํญญาไตรภาคีแต่พระองค์ทรงปฏิเสธไปทั้งหมด

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ