บัลแกเรียหลังการสวรรคตของพระองค์ ของ พระเจ้าซาร์บอริสที่_3_แห่งบัลแกเรีย

ไม้แกะสลักโดยชาวบ้านโอซอย จารึกว่า"สำหรับพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 ผู้กู้อิสรภาพ,มาซิโดเนียขอขอบคุณ"

หลังจากพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 สวรรคต พระโอรสของพระองค์ซึ่งพระชนมายุ 6 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์ พระนามว่า พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย โดยมีเจ้าชายคิริล ผู้เป็นเสด็จอาเป็นผู้สำเร็จราชการ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ รัฐบาลได้ประกาศเป็นกลางในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่ช้าเกินไป สหภาพโซเวียตได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรีย

ในวันต่อมา ฝ่ายจลาจลได้นำกำลังบ้านเกิดเมือนนอนโดนมีการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์และซเวโน รัฐบาลใหม่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีจอร์เจียฟ คิมอน ได้กวาดล้างผู้ต่อต้านถึง 16,000 คน และต่อมาได้มีการประหาร 2,730 คน อันประกอบด้วย เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรียและคณะผู้สำเร็จราชการ,อดีตรัฐมนตรี 22 คน,ผู้แทนราษฎร 67 คน,ที่ปรึกษาพระราชวงศ์ 8 คนและเจ้าหน้าที่ระดับสูง 47 คน ผู้คนเหล่านี้ได้ถูกกวาดล้างโดยรัฐบาลที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2489 รัฐบาลได้โจมตีสถาบันกษัตริย์และบังคับเนรเทศไปยังสเปน

อย่างไรก็ตามแม้คอมมิวนิสต์จะกุมอำนาจทั้งหมดและทำการลบรอยประวัติศาสตร์ซึ่งบันทึกเรื่องราวของพระเจ้าซาร์ ประชาชนบัลแกเรียยังจดจำภาพลักษณ์ของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 หลังจากคอมมิวนิสต์หมดอำนาจไปแล้ว ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการฉลองครบรอบ 50 ปีการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 โดยมีการฝังที่สำนักปฏิบัติธรรมริลาอีกครั้งหลังจากที่เจ้าหน้าที่และประชาชนผู้จงรักภักดีต้องเคลื่อนย้ายพระศพไปที่ลับเพื่อหลบภัยคอมมิวนิสต์

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ