ต้นรัชกาล ของ พระเจ้าซาร์บอริสที่_3_แห่งบัลแกเรีย

พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 กษัตริย์แห่งปวงชนบัลแกเรีย

พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียในวันครองราชสมบัติ

บัลแกเรียในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ ทรงประสบความล้มเหลวทางด้านการทหาร ได้แก่

  • สงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ทำให้เกิดสนธิสัญญาบูคาเรสต์(1913)ที่ซึ่งบัลแกเรียต้องสูญเสียดินแดนและต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาลแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
  • สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ซึ่งให้ผลในทางเดียวกันคือ สนธิสัญญานิวอิลี-เซอร์-แซน ทำให้สูญเสียขอบเขตอำนาจของประเทศที่ครอบคลุมถึงทะเลอีเจียน

ประชาชนชาวบัลแกเรียได้หมดความศรัทธาในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ในที่สุดพระองค์ได้สละราชบัลลังก์ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2461 เจ้าชายบอริสได้ครองราชสมบัติ พระนามว่า พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย

มีทรงครองราชย์ลางร้ายเริ่มเกิดขึ้น พระองค์ทรงถูกแยกจากพระราชวงศ์ พระองค์ทรงไม่ได้พบกับพระขนิษฐาทั้ง 2 พระองค์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2464 และไม่ได้พบกับพระอนุชาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2469 ผลผลิตไม่ดีในปีพ.ศ. 2460 และพ.ศ. 2461 เกิดพวกฝ่ายซ้ายคือ สหภาพอกราเรียนและพรรคคอมมิวนิสต์บัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพวกฝ่ายซ้ายได้ถูกกำจัดในปีพ.ศ. 2462 และยังคงระบอบกษัตริย์ไว้

ยุคไร้อำนาจแห่งเผด็จการ

พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียในปีพ.ศ. 2468

1 ปีหลังจากทรงครองราชสมบัติ อเล็กซานเดอร์ สแตมบอลิยิสกี้จากพรรคสหภาพประชาชนบัลแกเรียได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าเขาจะได้รับคะแนนนิยมจากเหล่าเกษตรกรและชนชั้นกรรมาชีพ นายกรัฐมนตรีแสดงตนต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน ในไม่ช้าประธานคณะมนตรีได้จัดตั้งเผด็จการชาวนาขึ้นมาและแสดงตนเป็นปริปักษ์กับเหล่าผู้นำกองทัพระดับสูงและคนชนชั้นกลาง

พระเจ้าซาร์ทรงพยายามให้นายกรัฐมนตรีควรมีความเคารพ พระองค์ทรงพยายามเตือนถึงความทะเยอทะยานของสแตมบอลิยิสกี้ว่ายังคงมีกษัตริย์อยู่แต่ไม่มีอำนาจปกครอง พระองค์ทรงบอกความลับแก่พระญาติว่า "ฉันพบว่าตัวเองนั้นอยู่ในตำแหน่งเพียงเจ้าของร้านเครื่องแก้ว ที่ซึ่งเรานำช้างมา ซึ่งทำให้เกิดเศษกระด้างและสนับสนุนความเสียหาย"

ท้ายที่สุดในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2466 การรัฐประหารกลายเป็นสิ่งเลวร้ายและฝ่ายค้านรัฐบาลอกราเรียน หนึ่งในผู้นำการรัฐประหารบัลแกเรีย พ.ศ. 2466 อเล็กซานเดอร์ ซานคอฟ และจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการขึ้นมาใหม่

ระหว่างรัฐบาลนี้เสถียรถาพของประเทศเริ่มดีขึ้น ในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2466 เกิดการลุกฮือในเดือนกันยายนโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ล้มเหลว จึงเริ่มต้นยุคสมัย"หวาดกลัวขาว" ที่ซึ่งผู้ก่อการร้ายและผู้สนับสนุนกลายเป็นเหยื่อมากกว่า 20,000 คน นักการเมืองกว่า 200 คนถูกลอบสังหาร

ในขณะเดียวกันกรีซได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรียจากเหตุการณ์ที่เพทริคที่เป็นกรณีพิพาทกัน และกรีซก็ได้รับการสนับสนุนจากสันนิบาตชาติ ซึ่งกรีซสามารถยึดครองเพทริคได้

การโจมตีจากทั้งสองฝ่าย

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2468 พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 และพระสหายสี่คนได้กลับจากการล่าสัตว์ที่อราโบคอนัก ใกล้เมืองโอฮานี ในขณะที่ทางกลับ ทรงได้ยินเสียงกระสุนปืนจำนวนมาก คนเฝ้าสัตว์ป่าและพนักงานพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติถูกสังหาร กระสุนปืนทำให้คนขับรถได้รับบาดเจ็บ พระเจ้าบอริสทรงควบคุมรถไว้ได้แต่รถพระที่นั่งได้พุ่งชนกับเสา โชคดีที่มีรถบัสผ่นมาทำให้พระองค์และพระสหายอีกสองคนหลบหนีมาได้ และในวันเดียวกันอดีตนายพลและผู้แทนราษฎร คอนสแตนติน จอร์เจียฟ ได้ถูกลอบสังหาร

3 วันต่อมาที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยาในกรุงโซเฟีย มีพิธีฝังศพอดีตนายพลอาวุโสคอนสแตนติน จอร์เจียฟ ที่ซึ่งมีข้าราชการระดับสูงบัลแกเรียเข้าร่วมพิธีมากมาย เหล่าคอมมิวนิสต์และพวกอนาธิปัตย์ได้วางแผนที่จะฝังระเบิดที่มหาวิหารสเวตา-นาเดลยา เพื่อปลงพระชนม์พระเจ้าบอริสที่ 3 และสังหารคณะรัฐบาล ได้เกิดการระเบิดขึ้นในช่วงกลางพิธีและมีผู้เสียชีวิต 128 คน ซึ่งรวมทั้ง นายกเทศมนตรีแห่งโซเฟีย,นายพลทั้ง 11 คน,ข้าราชการระดับสูง 25 คน,หัวหน้ากองตำรวจและเหล่าเยาวชนหญิงที่เข้าร่วมพิธี พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 ซึ่งต้องเข้าร่วมพิธี บังเอิญในวันนั้นพระองค์ทรงมาสายเพราะทรงไปร่วมพิธีฝังศพพระสหายฮันเตอร์ ผู้ร่วมแผนการระเบิดครั้งนี้ถูกจับ 3,194 คน ถูกประหาร 268 คน

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ