ภายใต้การปกครองของพระบิดาผู้เข้มงวด ของ พระเจ้าซาร์บอริสที่_3_แห่งบัลแกเรีย

การรับศีลจุ่มที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง

เจ้าชายบอริสได้ประสูติในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2437 ประเทศบัลแกเรีย เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรียและเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งเบอร์เบิน-ปาร์มา พระมเหสีได้ประกาศให้มีการยิงปืนร้อยเอ็ดนัดเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติบุตรองค์แรก ในนาม เจ้าชายบอริสแห่งทูร์นูโว [2]

ในช่วงที่ประสูตินี้บัลแกเรียอยู่ในท่ามกลางปัญหาความซับซ้อนทางการเมือง เนื่องจากเป็นประเทศใหม่ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ นิกายกรีกออร์ทอด็อกซ์ และเคยเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิออตโตมัน เจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งบัลแกเรียและเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงศรัทธาในนิกายโรมันคาทอลิกอย่างแรงกล้า ทำให้ปัญหาทางด้านศาสนาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องแก้ไขในดินแดนนี้[3]

บัลแกเรียกับรัสเซียมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน รัสเซียไม่พอใจกับการเป็นพระเจ้าซาร์ของเจ้าชายเฟอร์ดินานด์ ซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าชายเยอรมันที่เป็นพันธมิตรกับอังกฤษและพระมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิงฝรั่งเศสคือ เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง เจ้าชายเฟอร์ดินานด์ได้รับการเลือกให้เป็นเจ้าผู้ครองบัลแกเรียซึ่งทรงเกลียดชังรัสเซีย

แต่เจ้าชายบอริส พระโอรสของของพระองค์ทรงแบ็ฟติสท์ตามคาทอลิกแล้ว พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงจริงจังอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนมานับถือออร์ทอด็อกซ์ การแบ็ฟติสท์ในนิกายนี้จะช่วยให้พระองค์ใกล้ชิดกับชาวบัลแกเรียได้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งรัสเซียทรงปฏิเสธที่จะรับรองพระองค์

อย่างไรก็ตามการที่ทรงกระทำเช่นนี้ทำให้เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วยุโรป สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13แห่งโรมันคาทอลิกทรงบัพพาชนียกรรมพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ สมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟที่ 1 แห่งออสเตรียทรงร้องขอให้เจ้าหญิงมารี หลุยส์ทูลเตือนการกระทำของพระสวามี ทำให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ทรงลังเลพระทัยเล็กน้อยแต่ในที่สุดฝ่ายรัฐชนะ ทำให้พระองค์ทรงยืนยันความคิดเดิม ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารีตนับถือออร์ทอด็อกซ์ และจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (พระโอรสในจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 ซึ่งพระเจ้านิโคลัสทรงอภิเษกสมรสกับพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร)ได้กลายเป็นพระบิดาอุปถัมภ์ของเจ้าชายบอริส พระเจ้าเฟอร์ดินานด์และเจ้าหญิงมารี หลุยส์ พระมเหสีหลังจากทรงถูกบัพพาชนียกรรม ทรงตัดสินใจให้พระโอรสองค์ที่ 2 คือ เจ้าชายคีริลแห่งบัลแกเรียเข้ารีตโรมันคาทอลิก เพื่อขอโทษพระสันตะปาปา

การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด

เจ้าชายบอริส เมื่อมีพระชนมายุ 5 ชันษา

ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2442 หลังจากเจ้าหญิงมารี หลุยส์ทรงพระประสูติกาลพระธิดาองค์ที่ 2 คือ เจ้าหญิงนาเด็จดาแห่งบัลแกเรีย พระนางก็สิ้นพระชนม์ [4]ทำให้ทุกพระองค์ทรงได้รับการเลี้ยงดูจากพระอัยยิกาคือ เจ้าหญิงคลีเมนทีนแห่งออร์เลออง ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส แค่พระนางก็สิ้นพระชนม์ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 พระบิดาจึงทรงเลี้ยงดูและให้การศึกษาด้วยพระองค์เอง[5]

ครูสอนพิเศษของพระองค์เป็นครูชาวสวิส[6] โดยพระเจ้าเฟอร์ดินานด์จะทรงคัดเลือกครูด้วยพระองค์เองและมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เจ้าชายบอริสทรงศึกษาทุกวิชาในโรงเรียนบัลแกเรีย ทรงสำเร็จการศึกษาในภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน [7] ทรงศึกษาต่ออิตาลีและอังกฤษ แม้แต่ภาษาแอลเบเนียก็ทรงสำเร็จการศึกษา พระบิดาของพระองค์ทรงให้ศึกษาวิทยาศสตร์ธรรมชาติ ทำให้พระองค์ศึกษาตลอดชีวิตซึ่งทำให้ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญ พระบิดาให้พระองค์ศึกษากลศาสตร์เฉพาะหัวรถจักร [8]ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2453 ทรงผ่านการสอบวิศวกรรถไฟเมื่อมีพระชนมายุเพียง 15 ชันษา [9]

อย่างไรก็ตามชีวิตในวังนั้นไม่เรียบง่าย พระโอรสธิดาทุกพระองค์ต้องเรียกพระบิดาว่า"ฝ่าบาท" ไม่มีการเรียกพระนามแบบสนิทสนม ทำให้พระโอรสธิดาทรงเก็บกด อารมณ์รุนแรงหรืออ่อนไหวง่าย เมื่อไม่มีภารกิจเจ้าชายบอริสจะไม่ได้ทรงติดต่อภายนอกต้องอยู่ในพระราชวังในสภาพไม่ต่างจากคุก [10]

ทรงเป็นพยานในเหตุการณ์ใหญ่

เจ้าชายบอริสแห่งบัลแกเรีย เมื่อทรงพระเยาว์

ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2451 เกิดการขัดแย้งทางการเมืองภายในจักรวรรดิออตโตมัน พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ได้ประกาศตนเป็น "สมเด็จพระเจ้าซาร์" และทรงประกาศอิสรภาพบัลแกเรียจากจักรวรรดิออตโตมันอย่างสมบูรณ์[11]

ในปีพ.ศ. 2454 เจ้าชายบอริสทรงเดินทางไปยังประเทศต่างๆเพื่อเป็นตัวแทนของบัลแกเรียในเวทีโลก[12] เช่น ทรงเข้าร่วมพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรที่กรุงลอนดอน และพระราชพิธีฝังพระศพสมเด็จพระราชินีมาเรีย เพียแห่งโปรตุเกสที่เมืองตูริน ทำให้มีการติดต่อกับระดับผู้นำประเทศตางๆ ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2454 ทรงเข้าเยี่ยมพระบิดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงได้เป็นพยานในเหตุการณ์สำคัญคือ การลอบสังหารพอยเทอ สตอฟพิน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งทรงเห็นด้วยพระองค์เองที่โรงละครโอเปร่าในเคียฟ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2455 เจ้าชายบอริสทรงเฉลิมฉลองวันประสูติครบรอบ 18 ชันษา และทรงบรรลุนิติภาวะ ในเดือนเดียวกันพระองค์ได้ดำรงเป็นนายทหารและเป็นนายกองร้อยที่ 6[13] 9 เดือนหลังจากเริ่มต้นสงครามบอลข่านครั้งที่ 1ที่ซึ่งเซอร์เบีย,กรีซ,มอนเตเนโกรและบัลแกเรียร่วมกันต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันเพื่ออิสรภาพแห่งภูมิภาคมาซิโดเนีย โดยพระองค์ทรงเข้าร่วมรบในแนวหน้าของสมรภูมิ หลังจากได้รับชัยชนะแต่บัลแกเรียไม่ได้ผลประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้บัลแกเรียตัดสินใจเข้าโจมตีอดีตพันธมิตรในพ.ศ. 2456 กลายเป็นสงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ซึ่งจบลงด้วยโรคระบาด กองทัพถูกทำลายยับเยินด้วยอหิวาตกโรค [14]


หลังจากเกิดความล้มเหลวทางทหารอย่างมาก ทำให้พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ต้องทรงสละราชบัลลังก์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เจ้าชายบอริสได้ถูกเรียกกลับพระราชวังเพื่อเตรียมตัวสืบราชสมบัติ แต่เจ้าชายทรงปฏิเสธและกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการ เมื่อฝ่าบาทจำเป็นต้องไป ข้าพเจ้าจะไปกับพระองค์" พระเจ้าเฟอร์ดินานด์จึงไม่สละราชสมบัติและให้เจ้าชายบอริสไปศึกษาที่วิทยาลัยการสงคราม

ในปีพ.ศ. 2458 พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ทรงตัดสินใจนำประเทศบัลแกเรียเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1ร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง เจ้าชายบอริสทรงพยายามขัดขวางการตัดสินพระทัยของพระบิดาแต่พระเจ้าซาร์ทรงหยุดพระองค์ไว้ จากนั้นมกุฎราชกุมารได้รับการแต่งตั้งในการมอบหมายพิเศษกับสำนักงานใหญ่ของภารกิจของกองทัพ

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ