การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ของ พาโรโมมัยซิน

พาโรโมมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคคริพโตสปอริดิโอซิส (cryptosporidiosis)[7] และโรคบิดมีตัว,[8] และโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่น เช่น โรคติดเชื้อลิชมาเนีย[9]จากการศึกษาทางคลินิกหลายการศึกษาในสหภาพโซเวียต เมื่อทศวรรษที่ 1960 พบว่า พาโรโมมัยซินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคผิวหนังติดเชื้อลิชมาเนีย ได้เป็นอย่างดี และการศึกษาทางคลินิกในช่วงต้นทศวรรตที่ 1990 พบว่ายาดังกล่าวก็สามารถรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนียในอวัยวะภายในได้เช่นกัน โดยรูปแบบยาที่ใช้ในการศึกษาดังข้างต้นนั้นเป็นยาแคปซูลสำหรับรับประทานและยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[2]

พาโรโมมัยซินรูปแบบครีมทาภายนอกทั้งที่มีและไม่มีส่วนผสมของเจนตามัยซินนั้นมีประสิทธิภาพดีในการรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนียผิวหนังและเยื่อบุ ทั้งนี้ผลดังกล่าวนั้นเป็นผลจากการศึกษาทดลองทางคลินิกในขั้นที่ 3 ที่เป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม, แบบอำพรางทั้งสองฝ่าย[10]

หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร

เนื่องจากพาโรโมมัยซินถูกดูดซึมในทางเดินอาหารได้น้อยมาก[11] ผลของยานี้ต่อทารกในครรภ์จึงยังไม่อาจทราบได้แน่ชัด[12] ในกรณีหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการถูกดูดซึมของยาข้างต้น ทำให้ปริมาณยาที่อาจถูกขับออกทางน้ำนมนั้นมีปริมาณที่น้อยมากเช่นกัน[13]

ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง/เอดส์

การใช้พาโรโมมัยซินในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับเชื้อ Cryptosporidium นั้นมีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์สนับสนุนข้อบ่งใช้นี้อยู่อย่างจำกัด มีการศึกษาขนาดเล็กไม่กี่การศึกษาที่ว่าการได้รับการรักษาด้วยพาโรโมมัยซินสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อในระยะติดต่อได้ (oocyst shedding)[14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พาโรโมมัยซิน http://www.drugbank.ca/drugs/DB01421 http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.39011... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.toku-e.com/Upload/Products/PDS/20120518... http://www.webmd.com/drugs/2/drug-5160/paromomycin... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11587639 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17582067 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18947845 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23388004