การปกป้องหรือฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณน้ำขึ้นน้ำลง ของ พื้นที่ชุ่มน้ำ

ในช่วงที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ มนุษย์ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อระบายน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อพัฒนาเพื่อการต่าง ๆ หรือ เติมหรือกั้นฝายยกระดับน้ำให้สูงเพื่อกิจกรรมทางนันาการ นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา ได้เกิดความพยายามในรูปใหม่เพื่อการสงวนรักษาหน้าที่ใช้สอยที่เป็นธรรมชาติดั้งเดิมของพื้นที่ชุ่มน้ำไว้ ซึ่งบางครั้งต้องใช้งบประมาณสูงมาก ตัวอย่างได้แก่ความพยายามของหน่วยงานทหารช่างสหรัฐฯ ในการเอาชนะธรรมชาติด้วยการควบคุมการท่วมของน้ำแล้วใช้พื้นที่เพื่อการพัฒนา ซึ่งโครงการนี้ก็ยังคงอยู่แต่ปัจจุบันกลับเป็นการฟื้นฟูและปกป้องในพื้นที่ชุ่มน้ำกลับเข้าสู่สภาพปกติที่เป็นแหล่งพักพิง ขยายพันธุ์และอนุบาลสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการควบคุมน้ำท่วมซึ่งได้แก่:

  1. การแยกออกหรือกันออก หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำมักจัดให้มีทางเข้าและทางสัญจรให้ไปถึงเฉพาะบริเวณที่กำหนดไว้ ในขณะเดียวกันก็ออกข้อจำกัดไม่ให้คนเข้าถึงพื้นที่อื่นที่เปราะบาง การออกแบบจัดวางทางเดินไม้สะพานไม้ (boardwalks) หรือทางเดินเฉพาะบนดิน ซึ่งนับเป็นยุทธวิธีการจัดการสงวนรักษาพื้นที่เปราะบางทางนิเวศเอาไว้ รวมทั้งการออกใบอนุญาตที่มีการจำกัดจำนวน
  2. การศึกษา ในอดีต พื้นที่ชุ่มน้ำถูกมองว่าเป็นที่ดินที่เปล่าไร้ประโยชน์ การรณรงค์ด้านการศึกษาได้ช่วยให้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนแนวความคิดของสาธารณชนไปในทางดีและถูกต้องขึ้น ทำให้สาธารณชนหันมาสนับสนุนพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่กระจายในพื้นที่รับน้ำ จึงต้องจัดให้มีไกด์คอยให้คำอธิบายสำหรับประชาชนทั่วไป มีการไปบรรยายให้ความรู้ตามโรงเรียน ทำการติดต่อประสานงานกับสื่อต่าง ๆ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่เชงเกน พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร