หน้าที่ ของ พื้นที่ชุ่มน้ำ

โดยการอุ้มซับพลังอันรุนแรงของลมและคลื่น พื้นที่ชุ่มน้ำคือตัวปกป้องแผ่นดินที่เชื่อมต่อจากพายุ น้ำท่วมและความเสียหายจากการกระแทกของคลื่น ต้นไม้ในพื้นที่ชุ่มน้ำช่วยกรองมลพิษและสิ่งสกปรกที่มากับน้ำ ที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณที่ราบน้ำท่วมของแม่น้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ระหว่างบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่แสดงให้เห็นการแพร่กระจาย (invasion) การปรับตัว (modification) และการทดแทน (succession) ของพืชพรรณในพื้นที่ กระบวนการแพร่กระจายและการทดแทนได้แก่การเจริญงอกงามของหญ้าทะเล พืชเหล่านี้ช่วยดักตะกอนและเพิ่มอัตราการตกตะกอน ตะกอนที่ถูกจับไว้จะเพิ่มกลายเป็นที่เลนราบ สิ่งมีชีวิตในเลนเริ่มตั้งตัวและกระตุ้นให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นมากขึ้นทำให้องค์ประกอบอินทรย์ของดิน

ป่าแสม โกงกางขึ้นงอกงามบนพื้นที่น้ำตื้นที่มีความลาดเลยไปจากที่เลนราบ เป็นผลให้ความรุนแรงของกระแสน้ำขึ้นลงลดลง พวกต้นไม้เหล่านี้ทำให้การตะกอนตกมากขึ้นทำให้การเกิดที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำเค็มขึ้น ความเค็มตามธรรมชาติของดินจำกัดให้มีเฉพาะพืชพรรณทนเค็มเท่านั้นที่ขึ้นทดแทนได้ เช่น หญ้าชายเลน หญ้าทรงกระเทียม ฯลฯ ในระหว่างการทดแทนกันแต่ละครั้งก็ยังมีการเปลี่ยนความหลากหลายในชนิดพืชและสัตว์ของการเกิดทดแทนแต่ละครั้งด้วย

ในที่ลุ่มชื้นแฉะที่เป็นน้ำเค็มมีความหลากหลายในชนิดพืชพรรณค่อนข้างมาก วัฏจักรทางอาหารและที่อยู่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการวิถีชีวิตเฉพาะ (niche specialisation) มาก ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำประเภทนี้กลายเป็นระบบนิเวศที่ให้ผลิตผลสูงที่สุดในพื้นที่ประเภทอื่นใดบนโลก

พื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็กในอินเดียนา ประเทศสหรัฐฯ

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่เชงเกน พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร