อนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำของโลก ของ พื้นที่ชุ่มน้ำ

ดูบทความหลักที่: อนุสัญญาแรมซาร์

สืบเนื่องจากความห่วงใยจากการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำที่เกิดขึ้นในอัตราสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบอุทกวิทยาโดยรวมของโลก รวมทั้งการเริ่มเข้าใจในคุณค่าเชิงนิเวศวิทยาที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมในอนาคต ประเทศต่าง ๆ จึงร่วมกันจัดประชุมหาหนทางร่วมกันเพื่อปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำในระดับนานาชาติขึ้น

การชุมนุมทางวิชาการว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอิหร่านเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ที่เมืองแรมซาร์ (Ramsar) โดยมีผู้แทนเป็นทางการของรัฐบาลประเศต่าง ๆ มาชุมนุมหารือหาแนวปฏิบัติให้แต่ละชาตินำไปปฏิบัติและหาทางร่วมมือกันช่วยอนุรักษ์ ยับยั้บการสูญเสียและเพื่อใช้ทรัพยากรพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เรียกว่าอนุสัญญาแรมซาร์ จะมีผลใช้บังต่เมื่อมีประเทศต่าง ๆ ร่วมลงนามตั้ง 7 ประเทศขึ้นไป ซึ่งครบ 7 ประเทศและมีผลใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2518

ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมชุมนุม 153 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีการประกาศพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ (Ramsar sites) ที่มีความสำคัญต่อโลกครั้งนั้น 1634 แห่ง รวมเป็นเนื้อที่ได้ 145.6 แฮกตาร์ หรือ 910 ล้านไร่

ได้มีการประกาศภารกิจของการชุมนุมครั้งนั้นไว้ว่า: "ภารกิจของการชุมนุมวิชาการนี้ได้แก่การอนุรักษ์และการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหมดอย่างชาญฉลาดผ่านหน่วยงานระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับระดับชาติ และที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ โดยให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแบบอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นทั่วโลก"

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่เชงเกน พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร