การปรับตัวให้เข้ากับความเครียดทางธรรมชาติ ของ พื้นที่ชุ่มน้ำ

พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงถือเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่รับความเครียดทางธรรมชาติ (natural stress) นี้เกิดจากความเค็มและการขึ้นลงของน้ำทะเล พื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงนี้จึงต้องทนและสามารถอยู่รอดจากสภาพที่รุนแรงมากสุดจากคลื่นน้ำเค็มที่ขึ้นสูงสุดและความจืดของน้ำจืดเมื่อเวลาน้ำลง และในช่วงน้ำเอ่อที่เป็นน้ำกร่อยซึ่งขึ้นลงเป็นประจำในเวลาต่าง ๆ ต้นโกงกางสีเทาจัดการกับปัญหาน้โดยไล่เกลือออกทางตุ่มตามระบบรากที่ลอย มีกักตุ่มเกลือในใบและมีใบเคลือบมันที่ลดการสูญเสียน้ำ แต่ถึงกระนั้นต้นโกงกางเหล่านี้ก็ยังอ่อนแอต่อการเปลี่ยนระดับความจืดหรือเค็มที่ผิดปกติ

การเปลี่ยนแปลงการขึ้นลงของน้ำทะเลจากการไหลตามผิวบนที่เพิ่มขึ้น หรือระบบการระบายน้ำที่เปลี่ยนไปทำให้น้ำท่วมรากไม้แสมโกงกางมากขึ้นนานกว่าปกติ ย่อมมีผลต่อรากหายใจที่โผล่จากผิวดินพ้นน้ำที่ระดับปกติ นอกจากนี้คุณภาพน้ำที่เปลี่ยนไปยังอาจทำให้เกินขีดความสามารถที่จะรอดชีวิตของต้นไม้เหล่านี้ได้

สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่นหอย และหอยกาบ เป็นตัวช่วยบ่งชี้ความสมบูรณ์หรือการเสื่อมถอยของระบบนิเวศที่กำลังอยู่ในสภาวะเครียดได้ การลดปริมาณธาตุอาหารในระบบนิเวศมีผลให้การผลิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ลดลง การเปลี่ยนแปลงย่อมเกดขึ้น พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนใหญ่จะถูกเติมน้ำหรือระบายให้แห้ง เพื่อการใช้ประโยชน์หลาย ๆ อย่างของมนุษย์ ตั้งแต่เกษตรกรรมไปถึงที่จอดรถ สาเหตุคือความไม่รู้ กล่าวคือยังไม่รู้คุณค่าทางเศรษฐกิจของพื้นที่ชุ่มน้ำ ตัวอย่างเช่น กุ้งและปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับขายได้ในน้ำลึกเกิดจากการขยายพันธุ์และอนุบาลเติบโตในช่วงแรกในพื้นที่ชุ่มน้ำ

มนุษย์สามารถเพิ่มพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณน้ำขึ้นน้ำลงให้สมบูรณ์และได้ประโยชน์สูงสุดด้วยการลดสาเหตุที่ทำให้เกิดกระทบให้เหลือน้อยที่สุด คิดค้นยุทธวิธีการจัดการที่จะช่วยปกป้อง และหากเป็นไปได้ควรทำการฟื้นฟูระบบนิเวศส่วนที่เสียหายหรือที่เสี่ยงต่อการเสียหาย

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่เชงเกน พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร