ประเทศไทยและการเข้าร่วมในอนุสัญญาแรมซาร์ ของ พื้นที่ชุ่มน้ำ

ประเทศไทยได้ตกลงเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรืออนุสัญญาแรมซาร์และปฏิบัติตามพันธกรณีเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 เป็นลำดับที่ 110 โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสี้ยน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ ซึ่งจะได้ใช้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Ramsar Site" ได้ และถือได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่จัดไว้ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (List of Wetland of International Impotance)

ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) 10 แห่งได้แก่:

  1. พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสี้ยนเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดสงขลา-พัทลุง ลำดับที่ 948 ประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เนื้อที่ 281,625 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 07º50’N 100º08’E
  2. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ลำดับที่ 1098 ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เนื้อที่ 8,062 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 17°59’N 103°59’E
  3. พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม ลำดับที่ 1099 ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 เนื้อที่ 15,056.25 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 13°21’N 099°59’E
  4. พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ลำดับที่ 1100 ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เนื้อที่ 133,118 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 07°58’N 098°55’E
  5. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย ลำดับที่ 1101 ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เนื้อที่ 39,000 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 20°14’N 100°02’E
  6. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง) จังหวัดนราธิวาส ลำดับที่ 1102 ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 เนื้อที่ 15,056.25 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 06°12’N 101°57’E
  7. พื้นที่ชุ่มน้ำหาดเจ้าไหม (144,330 ไร่)-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง (279,687 ไร่)-ปากแม่น้ำตรัง (100,000 ไร่) จังหวัดตรัง ลำดับที่ 1182 ประกาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เนื้อที่รวมทั้งสิ้น 524,017 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 07°22’N 099°24’E
  8. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ ลำดับที่ 1183 จังหวัดระนอง ประกาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เนื้อที่ 120,675ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 09°36’N 098°39’E
  9. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลำดับที่ 1184 ประกาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เนื้อที่ 15,056.25 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 09°37’N 099°41’E
  10. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ลำดับที่ 1185 ประกาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เนื้อที่ 40,250 ไร่ ตำแหน่งที่ตั้ง 08°17’N 098°36’E

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่เชงเกน พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร