ประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำ ของ พื้นที่ชุ่มน้ำ

พื้นที่ชุ่มน้ำ มีความหมายครอบคลุมถึงแหล่งน้ำเกือบทุกประเภท ได้แก่ ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ กระพัง (ตระพัง) บาราย แม่น้ำ ลำธาร แคว ละหาน ชายคลอง ฝั่งน้ำ สบน้ำ สระ ทะเลสาบ แอ่ง ลุ่ม กุด ทุ่ง กว๊าน มาบ บุ่ง ทาม พรุ สนุ่น แก่ง น้ำตก หาดหิน หาดกรวด หาดทราย หาดโคลน หาดเลน ชายทะเล ชายฝั่งทะเล พืดหินปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แหล่งสาหร่ายทะเล คุ้ง อ่าว ดินดอนสามเหลี่ยม ช่องแคบ ชะวากทะเล ตะกาด หนองน้ำ กร่อย ป่าพรุ ป่าเลน ป่าชายเลน ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าแสม รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น โดยมีประเภทหลักที่สำคัญ คือ

  • พรุ (bog) หรือ มัสเคก (พรุเขตหนาว) คือดินพิตที่เป็นกรด (พรุพิต – peat bog)
  • ทุ่งมัวร์ (moor) ในขั้นแรกมีลักษณะเหมือนพรุแต่ต่อมาได้รวมตัวกับดินบนยอดเนิน
  • มอสส์ (แหล่งที่อยู่) ได้แก่พรุที่ยกตัวสูงขึ้นในสก็อตแลนด์
  • พรุดินด่าง (fen) คือดินพรุน้ำจืดที่มีคุณสมบัติทางเคมีของน้ำใต้ดินเป็นด่าง ซึ่งหมายความว่ามีสัดส่วนของประจุไฮดร็อกซีล ปานกลางถึงสูง (มีค่า pH มากกว่า 7)
  • ที่ลุ่มชื้นแฉะ (marsh) อาจเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็มก็ได้ ลักษณะสำคัญของมันก็คือความเปิดโล่งที่มีพืชพรรณประเภทเตี้ยขึ้นอยู่
  • ที่ลุ่มชื้นแฉะชายฝั่ง (น้ำเค็ม) อาจอยู่คู่กับชะวากทะเลและอยู่ยาวตามทางน้ำระหว่างเกาะขวางชายฝั่งและชายฝั่งด้านใน พืชพรรณอาจเริ่มจากต้นกกที่ขึ้นในน้ำกร่อยไปจนถึงต้นซาลิโคเนีย ที่ขึ้นบนดินเลนเค็ม พื้นที่ประเภทนี้ยังอาจปรับใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือนาเกลือ
  • ที่ลุ่มชื้นแฉะน้ำจืดอาจประกอบด้วย หญ้า กก หญ้าทรงกระเทียมและไม้ล้มลุกอื่น ๆ (อาจมีไม้พุ่มเตี้ย) ที่อยู่ได้กับน้ำตื้น ถือเป็นพรุที่มีรูปแบบเปิดโล่ง
  • คารร์ (carr) คือพรุดินด่างอีกชนิดหนึ่งที่ได้พัฒนามาถึงจุดที่สามารถรองรับต้นไม้ได้ คารร์เป็นชื่อเรียกกันยุโรปตอนเหนือ
  • มาบ (swamp) คือพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นไม้ขึ้นมากกว่าหญ้าและวัชพืชเตี้ย เป็นชื่อที่เรียกในเขตร้อนและอเมริกาเหนือ ดินและน้ำอาจมีความเป็นกรด โดยมาบที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยคือ มาบตาพุด มาบพระจันทร์ มาบอำมฤต และมาบกะเบา
  • ป่าชายเลน (mangrove forest) คือพื้นที่ที่สภาพที่ลุ่มน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยที่มีต้นไม้ชายเลนขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้นโกงกาง แสม ลำพู ชะคราม เช่น ป่าชายเลนอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ป่าชายเลนศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • บึงบายู (bayou) หรือ (slough) เป็นชื่อที่เรียกร่องหรือทางน้ำที่ไหลผ่านมาบ หรือบึง บางครั้งก็เรียก”ร่องน้ำขึ้น-ลง” (creek)
  • พื้นที่ชุ่มน้ำมนุษย์สร้าง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ทำขึ้นเพื่อจงใจให้เป็นที่สำหรับรองรับน้ำท่วมฉับพลัน เพื่อทำให้น้ำโสโครกสะอาดขึ้น ส่งเสริมให้เกิดที่พักพิงและที่อยู่อาศัยของสัตว์ และอาจเพื่อประโยชน์ด้านการหย่อนใจ อาจเรียกว่าแก้มลิงก็ได้
  • หนองน้ำในที่ดอน (pocosin) คือพื้นที่ชุ่มน้ำที่คล้ายพรุการมีไม้พุ่มและต้นไม้ทนไฟขึ้นเป็นส่วนใหญ่ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ

ทั้งนี้พื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง (intertidal) ที่พบตามชายฝั่งทะเลจะต้องมีอุณหภูมิไม่สุดโต่ง คลื่นไม่รุนแรงจัดมาก มีความเค็มไม่สูงและการนำพาของตะกอนเบาบาง รวมทั้งอยู่ในตำแหน่งที่เข้าลักษณะระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของชะวากทะเล (estuarine environment)

ใกล้เคียง

พื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เก็บกากนิวเคลียร์ลึกใต้ดิน พื้นที่ พื้นที่เชงเกน พื้นที่คุ้มครอง พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก พื้นที่สงวนชีวมณฑลโลกในประเทศไทย พื้นที่อับฝน พื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร