การรักษา ของ ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

ภาวะโลหิตจางบางอย่างสามารถรักษาหายได้ แต่บางชนิดอาจจะเป็นตลอดชีวิตถ้าเหตุคือการขาดเหล็กทางอาหาร การทานอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็ก เช่น ถั่ว ผักใบเขียว หรือเนื้อแดง (เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบรวมทั้งเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ยกเว้นบางส่วนของไก่และเนื้อปลา) หรือการทานเหล็กเสริม ปกติจะแก้ปัญหาโลหิตจางนอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถให้เหล็กผ่านเส้นเลือด หรือผ่านการถ่ายเลือดปริมาณเหล็กที่ทานและที่ดูดซึมเข้าเลือดจริง ๆ (bioavailability) อาจต่างกันมากปัญหาการดูดซึมเหล็กจะเพิ่มมากขึ้นถ้าทานเหล็กพร้อมกับนม ชา กาแฟ หรือสิ่งอื่น ๆวิธีบางอย่างที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหานี้รวมทั้ง[22][23]

วิตามินซี
  • การเสริมวิตามินซีจะช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้นไม่ว่าจะมีสารที่อาจเป็นตัวขัดขวางอื่น ๆ หรือไม่ แต่วิตามินซีเสื่อมไวต่อความร้อนและความชื้น ดังนั้น การเสริมวิตามินซีจึงมักจำกัดทำในอาหารแห้งที่ผนึกใส่ห่อ แต่บุคคลสามารถทานวิตามินซีบวกกับเหล็กเพื่อได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน
  • เทคนิคการห่อหุ้มเหล็กในระดับไมโครเมตร (Microencapsulation) ด้วยเลซิทินสามารถช่วยยึดและป้องกันเหล็กจากฤทธิ์ของสารที่เป็นตัวขัดขวางอื่น ๆ
  • ใช้เหล็กในรูปแบบ iron amino acid chelate เช่น NaFeEDTA ซึ่งช่วยยึดและป้องกันเหล็กเช่นเดียวกัน งานศึกษาทางโลหิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิลีแสดงว่า ferrous bis-glycine chelate สามารถทำงานร่วมกับวิตามินซีที่ช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ยิ่งดีขึ้น
  • การแยกทานเหล็กและตัวขัดขวางการดูดซึมเป็นระยะ 2-3 ชม.
  • ทาน "นม" อย่างอื่นเช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมอัลมอนด์ หรือนมแพะแทนนมวัว
  • การทานอาหารที่ปราศจากโปรตีนกลูเตนสามารถแก้ปัญหาในบุคคลที่มีโรค celiac disease
  • เหล็กแบบ heme ที่พบในผลิตภัณฑ์สัตว์ เช่น เนื้อ ปลา และไก่ ดูดซึมได้ง่ายกว่าเหล็กที่ไม่ใช่ heme ซึ่งอยู่ในพืชและเหล็กเสริม

การเปรียบเทียบความพร้อมดูดซึมได้ (bioavailability) ของเหล็กในแบบต่าง ๆ จำต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดเพราะปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือระดับเหล็กที่บุคคลมีอยู่แล้วดังนั้น การศึกษาความพร้อมดูดซึมได้แบบทั่วไปจะไม่สอดส่องในเรื่องนี้ และดังนั้น ข้ออ้างที่เกินเลยของบริษัทอาหารเสริมที่ใช้หลักฐานเช่นนี้ไม่ควรจะสนใจยังมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อยู่เพื่อกำหนดวิธีที่ดีที่สุดที่มีราคาถูกที่สุด

ถ้าภาวะโลหิตจางไม่ตอบสนองต่อการเสริมเหล็กทางปาก อาจจำเป็นต้องให้ทางเส้นเลือดหรือผ่านการฟอกเลือดแต่ก็เสี่ยงไข้ หนาว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เวียนหัว เป็นลม ผื่น และในบางกรณีถึงกับช็อกเพราะแพ้ (anaphylactic shock)แต่ความชุกของผลที่ไม่ต้องการก็ยังต่ำกว่าการเสริมเหล็กทางปาก (ซึ่งต้องลดขนาดรักษาหรือหยุดในคนไข้ 40%) หรือการถ่ายเลือดการตรวจเลือดหลังจากรักษาเป็นเรื่องสำคัญเพื่อยืนยันว่า การรักษาได้ผลหรือไม่ซึ่งสามารถทำได้ภายใน 2-4 อาทิตย์แต่สำหรับเหล็กที่ทานทางปาก ปกติต้องรอ 3 เดือนก่อนที่ยาที่ทานจะมีผลสำคัญ

เหล็กเสริมและโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ

เพราะว่า การมีระดับที่สูงขึ้นของ ferritin เมื่อติดเชื้อแบบฉับพลัน เชื่อว่า ก็เพื่อกันเหล็กจากแบคทีเรีย และดังนั้น ทั่วไปจึงพิจารณาว่าการให้เหล็กผ่านเส้นเลือด (ซึ่งหลีกเลี่ยงกลไกนี้) ควรจะหลีกเลี่ยงในคนไข้ที่กำลังติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteraemia)แต่ว่า การทดแทนเหล็กที่ขาดไปน้อยครั้งเป็นเรื่องฉุกเฉินที่รอรักษาการติดเชื้อแล้วไม่ได้ แต่ในบางกรณีก็อาจจะรอไม่ได้ เช่น ในโรคกระดูกอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic osteomyelitis)

เพราะว่า การพร่องเหล็กป้องกันการติดเชื้อโดยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกื้อกูลต่อแบคทีเรียมีงานศึกษาที่พบว่า การเสริมเหล็กทำให้เกิดโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ในเขตที่การติดเชื้อและมาลาเรียเป็นเรื่องสามัญยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ได้อาหารเสริมเหล็กมีหลักฐานว่าท้องเสียในอัตราที่สูงขึ้นอย่างไรก็ดี แม้การขาดธาตุเหล็กจะช่วยลดการติดเชื้อบางชนิด แต่ก็ปรากฏว่าลดภูมิป้องกันเชื้อบางประเภท เช่นแบคทีเรีย Salmonella typhimurium และอะมีบา Entamoeba histolyticaดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจว่า การเสริมเหล็กจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อบุคคลภายในสิ่งแวดล้อมที่มีโรคติดเชื้อมากแต่ว่า นี่ก็ยังเป็นปัญหาต่างกันจากการให้เหล็กกับบุคคลที่ติดเชื้ออยู่แล้ว[ต้องการอ้างอิง]

การทดแทนเหล็ก

เมื่อปรับการเสริมเหล็กในแต่ละวัน การใช้ปริมาณที่น้อยลงต่อวันก็จะทำให้การรักษาต้องดำเนินนานขึ้นการประมาณปริมาณเหล็กที่ต้องการสามารถใช้แนะแนวทางการรักษา และการรักษาสามารถทำเป็นเป็นรอบ ๆถ้าใช้วิธีนี้ คนไข้ควรจะมีส่วนร่วมในการรักษาโดยกำหนดแบบธาตุเหล็กที่ใช้ และตารางการรักษาที่ตนสามารถอดทนรับได้เหล็กที่ดูดซึมในทางเดินอาหารไม่ได้เป็นปริมาณสม่ำเสมอ และสามารถเปลี่ยนไปอย่างสำคัญขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งระดับเฮโมโกลบินและเหล็กที่สะสมอยู่ในร่างกายปริมาณที่ดูดซึมจะลดลงเมื่อภาวะขาดเหล็กเริ่มหายดังนั้น จึงบอกอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าร่างกายจะดูดซึมเหล็กเท่าไร แต่ก็ประเมินว่า ประมาณ 10%-20% ของเหล็กที่ทานจะดูดซึมเข้าร่างกายในช่วงต้น ๆ ของการรักษา

จำนวนคนเสียชีวิตเนื่องจากภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อประชากรล้านคนในปี 2555
  0-0
  1-1
  2-3
  4-5
  6-8
  9-12
  13-19
  20-30
  31-74
  75-381

ถ้าใช้ ferrous sulfate การรักษารอบหนึ่งจะใช้ยา 75 เม็ด โดยทาน 3 เม็ดต่อวันเป็นเวลา 25 วันสำหรับผู้ที่มีเลือดจางในระดับปานกลาง (moderate) การรักษารอบหนึ่งควรพอชดเชยเหล็กที่ขาดไปโดยส่วนหนึ่งถ้าภาวะโลหิตจางไม่รุนแรงและไม่มีอาการซับซ้อนอื่น ๆ เช่นการเสียเลือดหรือโรคในทางเดินอาหาร ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาอีกรอบหนึ่งเพื่อแก้ภาวะเลือดจางแต่การประเมินสถานะของโรคใหม่หลังจากรักษาเสร็จควรทำ เพื่อตรวจว่าจำเป็นต้องรักษาเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ถ้าคนไข้เสี่ยงต่อการเสียเหล็กต่อ ๆ ไป (เช่น การมีประจำเดือนมาก) อาจจะต้องรักษาโดยการให้เหล็กเพื่อคงสภาพ (maintenance) เรื่อย ๆข้อสำคัญของการรักษาเป็นรอบ ๆ เช่นนี้ก็คือว่า แผนการรักษาของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งเหตุของภาวะโลหิตจาง ปริมาณเหล็กที่พร่อง รูปแบบยาที่ใช้ และระยะเวลาที่ใช้รักษา[24]

ภาระโรค (DALY) เนื่องจากภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อประชากรแสนคนในปี 2547[25]
  no data
  less than 50
  50-100
  100-150
  150-200
  200-250
  250-300
  300-350
  350-400
  400-450
  450-500
  500-1000
  more than 1000

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก http://www.nps.org.au/health_professionals/publica... http://www.cmaj.ca/cgi/content/abstract/119/8/884 http://www.anaemiaworld.com/portal/eipf/pb/m/aw/es... http://www.diseasesdatabase.com/ddb6947.htm http://www.emedicine.com/med/topic1188.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=280 http://www.ironatlas.com/en.html/ http://journals.lww.com/smajournalonline/Fulltext/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1496985 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1819106