ภาษาเขมรสมัยกลาง
ภาษาเขมรสมัยกลาง

ภาษาเขมรสมัยกลาง

ภาษาเขมรสมัยกลาง หรือ ภาษาเขมรสมัยหลังพระนคร เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในช่วงเวลาระหว่างศตวรรษที่ 14 ถึงศตวรรษที่ 18[1] ซึ่งเอาไว้แบ่งคั่นช่วงเวลาระหว่างยุคของภาษาเขมรเก่าและภาษาเขมรสมัยใหม่ พัฒนาการและการสื่อสารของภาษาเขมรสมัยกลางเกิดขึ้นพร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรพระนคร ร่วมสมัยพร้อมกับการขยายอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา โดยยุคดังกล่าวถูกเรียกว่ายุคหลังพระนคร ภาษาเขมรสมัยกลางเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสัทวิทยา (phonology)[2]ของตัวภาษาไปจากเดิมอย่างมาก ซึ่งก็ได้วิวัฒนาการไปเป็นภาษาเขมรสมัยใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1777 เป็นต้นมา ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของนักองค์เอง พระราชบิดาของนักองด้วงภาษาเขมรได้หยิบยืมระบบการเขียนมาจากระบบการเขียนของตระกูลอักษรอินเดีย นับตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 6–7[3] ทั้งรูปแบบของภาษาเขมรเก่าและการเปลี่ยนแปลงของภาษาเขมรสมัยกลางต่างก็ได้ทิ้งร่องรอยที่เป็นลายลักษณ์อักษรเหลือไว้เป็นจำนวนมาก ทําให้ภาษาเขมรสมัยกลางได้รับการสืบสร้างและถูกนำมาศึกษาใหม่อีกครั้ง ในยุคดังกล่าวตัวภาษาเองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงต่างๆ ในกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด (plosive consonant) ซึ่งมีความแตกต่างไปจากภาษาเขมรเก่า ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบสระเพื่อชดเชยความแตกต่างในวิธีการออกเสียงตามมา โดยสระที่ตามหลังกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด โฆษะ โดยส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของหน่วยเสียงสระไปจากเดิมมากนัก ขณะที่สระชุดเดียวกันซึ่งตามหลังด้วยกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด อโฆษะ ก็ได้เกิดกระบวนการเลื่อนสระไปเป็นหน่วยเสียงที่แตกต่างกันไปอย่างเป็นระบบ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวครอบคลุมทั้งสระเดี่ยวและสระประสม นอกจากนี้การสูญเสียหน่วยเสียง /r/ ในตัวสะกด "រ" และการควบรวมหน่วยเสียง /s/ ไปเป็น /h/ ในตัวสะกด "ស" ดังที่ปรากฎภาษาเขมรสมัยใหม่ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในยุคของภาษาสมัยเขมรกลางทั้งสิ้นภาษาเขมรสมัยกลางมีหลักฐานชั้นต้นปรากฏอยู่ในรูปแบบของเอกสารหรือจารึกอยู่เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันภาษาเขมรสมัยกลางได้พัฒนาไปเป็นภาษาสมัยใหม่ถึงสามภาษา ได้แก่ ภาษาเขมรเหนือ ภาษาเขมรตะวันตก สำเนียงถิ่นต่างๆ ในภาษาเขมรกลาง รวมถึงภาษาเขมรสำเนียงมาตรฐานและภาษาเขมรกรอม

ภาษาเขมรสมัยกลาง

ภูมิภาค ประเทศกัมพูชา บางส่วนใน ประเทศไทย ประเทศลาว และ ประเทศเวียดนาม
ตระกูลภาษา
ออสโตรเอเชียติก
  • ภาษาเขมรสมัยกลาง
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาเขมรเก่า
  • ภาษาเขมรสมัยกลาง
ยุค พัฒนาไปเป็น ภาษาเขมร, ภาษาเขมรเหนือ ภาษาเขมรตะวันตก และ ภาษาเขมรกรอม ในคริสต์ศตวรรษที่ 18
ISO 639-3 xhm

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาเขมรสมัยกลาง http://sealang.net/sala/archives/pdf8/headley1998c... https://archive.org/details/introductiontoca0000ja... http://sealang.net/sala/archives/pdf8/jacob1976exa... https://doi.org/10.3406%2Fbefeo.1967.5052 http://sealang.net/sala/archives/pdf8/jenner1974de... https://doi.org/10.1524%2Fstuf.1975.28.16.599 https://api.semanticscholar.org/CorpusID:131639485 https://www.jstor.org/stable/20019179 https://books.google.com/books?id=QKgraWbb7yoC&q=I... https://www.academia.edu/1540105