การเปลี่ยนแปลง ของ ภาษาเปอร์เซียกลาง

การเปลี่ยนแปลงมาจากภาษาเปอร์เซียโบราณ

ในการแบ่งยุคของภาษากลุ่มอิหร่าน ยุคกลางได้แก่ภาษาที่ใช้พูดในช่วง พ.ศ. 243 (การสิ้นสุดของราชวงศ์อักแคมีเดีย) จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 (สิ้นสุดยุคซัสซาเนียน) ภาษาที่สำคัญที่สุดในยุคนี้คือภาษาปะห์ลาวี การเปลี่ยนแปลงจากยุคเก่ามาสู่ยุคใหม่ที่สำคัญคือการเปลี่ยนรูปแบบของคำจากรูปแบบการสร้างมาเป็นรูปแบบที่แยกเป็นคำนาม คำสรรพนาม และคำคุณศัพท์ เลิกใช้ปัจจัยเชื่อมต่อ รวมทั้งการเลิกใช้ การก เพศ และคำทวิพจน์ คำบุพบทใช้จำแนกบทบาทของคำ และเปลี่ยนรูปแบบการแสดงกาล อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้นยังใช้ภาษาเปอร์เซียโบราณเป็นภาษาเขียน ซึ่งต่างไปจากภาษาพูดในขณะนั้นมาก ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ได้แก่

  • ไม่มีการผันการกของคำนาม สรรพนามและคุณศัพท์
  • ไม่มีทวิพจน์
  • ใช้ปรบทเพื่อบอกถึงบทบาทที่ต่างไปของคำ

การเปลี่ยนแปลงไปเป็นภาษาเปอร์เซียยุคใหม่

ลูกหลานของภาษาเปอร์เซียกลางที่ใช้พูดอยู่ในปัจจุบันคือภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงของภาษาในช่วงยุคกลางตอนปลายและยุดใหม่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15-16 หนังสือที่เขียนด้วยภาษาเปอร์เซียกลางยังอ่านเข้าใจได้ด้วยผู้พูดภาษาเปอร์เซียใหม่ตอนต้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างต่อไปนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในพุทธศตวรรษที่ 15

  • การเปลี่ยนแปลงการออกเสียง เช่นการลดเสียงสระเสียงแรกที่ไม่เน้น
  • การลดเสียง g เมื่ออยู่ท้ายคำ
  • การเปลี่ยนเสียง w ไปเป็น b หรือ gw ไปเป็น g
  • การเปลี่ยนแปลงระบบกริยา เช่นเพิ่มการใช้อุปสรรคกับกริยาเพื่อแสดงมาลาของกริยา
  • การเปลี่ยนการใช้คำศัพท์โดยการใช้คำยืมจำนวนมากจากภาษาอาหรับแทนที่คำดั้งเดิมในภาษา
  • การเปลี่ยนมาใช้อักษรอาหรับแทนอักษรปะห์ลาวี

ภาษาเปอร์เซียกลางหรือภาษาปะห์ลาวีเป็นภาษาที่ใช้มากในเอกสารของภาษาโซโรอัสเตอร์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับและรายละเอียดของศาสนาโซโรแอสเตอร์ซึ่งเป็นศาสนาประจำรัฐในอิหร่านยุคซัสซาเนียน พ.ศ. 319 - 1193 ก่อนที่อิหร่านจะถูกรุกรานโดยชาวอาหรับและเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม

อารยัน
โบราณสันสกฤต: พระเวท - สันสกฤตคลาสสิก · มิตันนี
ใหม่เบงกอลี : จิตตะกอง สิลเหติ · ฮินดูสถาน : ฮินดี · อูรดู · อังคิกา · อัสสัม · โภชปุรี · มณีปุระพิษณุปุระ · มัลดีฟส์ · โดกรี · คุชราต · กอนกานี · มาห์ล · ไมถิลี · มราฐี · เนปาล · โอริยา · ปัญจาบ · โรมานี · สินธี · สิงหล · ฮาชอง · ราชสถาน · เมโมนี · มัล ปาฮาเรีย · นาฮารี
อิหร่าน
ตะวันออกอเวสตะ - ไซเทีย - ซอกเดีย · แบกเตรีย ควาเรสเมียร์ ออสซีเชีย ซาเซีย ซากา บาร์ตางี ฮินดูกูช อิสกาซมี การาโกรัม คูฟี มุนจี ภาษาโอโรโซรี ภาษาปาราชิ ภาษาปาทาน ภาษาโรซานี ภาษาซังเลชิ ภาษาซาริโกลี ภาษาซุกนี ภาษาวาคี ภาษาวันจี ภาษาวาซิรี ภาษายักโนบี ภาษายิดคา ภาษายักคูลัม ภาษาเซบากี ภาษากลุ่มปามีร์
ตะวันตกประวัติภาษาเปอร์เซีย:เปอร์เซียโบราณ - เมเดีย พาร์เทียน - เปอร์เซียกลาง - - อัลวิรี อัสเตียนี อซารีโบราณ บาลูจิ ภาษาบัชการ์ดี ภาษาดารี ภาษาดารีโซโรอัสเตอร์ ภาษาคิเลกิ ภาษาโครานี ภาษาฮาร์ซานี ภาษายิวเปอร์เซีย ภาษากุรมันยี ภาษาลากี ภาษาลูรี ภาษาบักเตียรี ภาษามาซันดารานี ภาษาโอรมูรี ภาษาซังซารี ภาษาปาราจี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโซรานี ภาษาทาจิก ภาษาตาเลซ ภาษาตัต ภาษาตาตี ภาษาวาฟซิ ภาษาซาซากิ · ภาษาบูโครี · · ภาษาเคิร์ด
ดาร์ดิก
นูริสถาน