ระบบเสียง ของ ภาษาไทดั้งเดิม

ภาษาไทดั้งเดิมมีหน่วยเสียงพยัญชนะที่หลากหลายกว่าภาษาตระกูลไทในปัจจุบัน แต่มีเสียงวรรณยุกต์ที่น้อยกว่าภาษาปัจจุบัน

พยัญชนะเดี่ยว

ตารางด้านล่างนี้แสดงระบบพยัญชนะของภาษาไทดั้งเดิม ตามการสืบสร้างของ หลี่ ฟางกุ้ย ในหนังสือ คู่มือภาษาศาสตร์เชิงเปรียบเทียบตระกูลไท (A Handbook of Comparative Tai). พยัญชนะในฐานเพดานแข็ง ซึ่งระบุในหนังสือดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ [č, čh, ž] ถูกจัดเป็นหยัญชนะกักเสียดแทรก (affricate consonant) ในที่นี้จะใช้สัญลักษณ์ [tɕ, tɕʰ and dʑ] ตามลำดับ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบสัทอักษรสากล

พยัญชนะภาษาไทดั้งเดิม
(หลี่ ฟางกุ้ย 1977)
ริมฝีปาก (Labial)ปุ่มเหงือก (Alveolar)เพดานแข็ง (Palatal)เพดานอ่อน (Velar)เส้นเสียง (Glottal)
กัก (Stop)ไม่ก้อง ไม่พ่นลม (Voiceless unaspirated)ptk
ไม่ก้อง พ่นลม (Voiceless aspirated)tɕʰ
ก้อง (Voiced)bdɡ
กักเส้นเสียง (Glottalized)ʔbʔdʔjʔ
เสียดแทรก (Fricative)ไม่ก้อง (Voiceless)fsxh
ก้อง (Voiced)vzɣ
นาสิก (Nasals)ไม่ก้อง (Voiceless)hmhn
ก้อง (Voiced)mnɲŋ
เสียงไหล (Liquids)
และ กึ่งสระ (semivowel)
ไม่ก้อง (Voiceless)hwhr, hl
ก้อง (Voiced)wr, lj

ระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้รับการสืบสร้างใหม่โดย พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลายประการด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเป็นเพียงการตีความที่แตกต่างกันเท่านั้น ได้แก่ พยัญชนะฐานเพดานแข็งถูกจัดใหม่ให้เป็นพยัญชนะกัก (stop) แทนที่จะเป็นพยัญชนะกักเสียดแทรก (affricate) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับพยัญชนะอื่นๆ ภายในระบบเสียงภาษาไทดั้งเดิม และสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสัทศาสตร์ได้โดยใช้หลักเดียวกันกับพยัญชนะกักตัวอื่นๆ (ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเสียงพยัญชนะเหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะของการกักเสียดแทรก) การตีความอีกอย่างที่ต่างกันคือ พยัญชนะที่มีเสียงกักเส้นเสียงนำมาก่อน (pre-glottalized consonant) [ʔb, ʔd] ถูกตีความใหม่ให้เป็นเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosive consonant) [ɓ, ɗ] แทน อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ได้แก่

  1. พยัญชนะกักพ่นลมถูกตัดออก โดยจัดให้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลัง หลังจากที่ภาษาไทดั้งเดิมได้แยกออกเป็นสาขาย่อยต่างๆ
  2. ตัดพยัญชนะเสียดแทรกริมฝีปาก (/f/ และ /v/) ออก โดยจัดให้เป็นการแปรเสียงที่เกิดขึ้นในภายหลังแทน
  3. เพิ่มพยัญชนะฐานลิ้นไก่ (uvular consonant) ออกมาต่างหาก (*/q/, */ɢ/, and */χ/) โดยเป็นหน่วยเสียงแยกจากพยัญชนะฐานเพดานอ่อน (velar) โดยมีที่มาจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างการแปรเสียงพยัญชนะในกลุ่ม /kʰ/, /x/ และ /h/ ในภาษาภายในตระกูลไทภาษาต่างๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาษาพวน และภาษาผู้ไทกะป๋อง ความแตกต่างของเสียง /kʰ/ และ /x/ สามารถสืบสร้างได้จากภาษาไทขาว อย่างไรก็ตาม พบว่าคำที่มีเสียงพยัญชนะต้น /x/ ในภาษาไทขาว สอดคล้อง (มีเชื้อสายร่วม) กันกับคำที่มีเสียงพยัญชนะต้นในภาษาพวนและภาษาผู้ไทกะป๋องได้ถึง 3 แบบ บางคำขึ้นต้นด้วยเสียง /kʰ/ ในทั้งสองภาษา, บางคำขึ้นต้นด้วย /h/ ในทั้งสองภาษา และบางคำขึ้นต้นด้วย /kʰ/ ในภาษาพวน แต่กลับเป็นเสียง /h/ ในภาษาผู้ไทกะปง แสดงว่าในภาษาไทดั้งเดิมควรจะมีหน่วยเสียงในกลุ่มนี้แตกต่างกันได้ถึง 3 หน่วยเสียง ไม่ใช่มีเพียงเสียง /x/ ตามการสืบสร้างแบบเดิม ดังนั้นพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ จึงสืบสร้างหน่วยเสียงใหม่สำหรับความสอดคล้องทั้ง 3 แบบเป็น /x/, /χ/ and /q/ ตามลำดับ

ตารางด้านล่างนี้แสดงระบบเสียงหยัญชนะในภาษาไทดั้งเดิม ตามการสืบสร้างของพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์

ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนลิ้นไก่เส้นเสียง
กักไม่ก้องptckq
ก้องbdɟɡɢ
กักเส้นเสียงɓɗʔjʔ
เสียดแทรกไม่ก้องs(ɕ)xχh
ก้องz(ʑ)ɣ
นาสิกไม่ก้องhmhn(hŋ)
ก้องmnɲŋ
เสียงไหลและกึ่งสระไม่ก้องhwhr, hl
ก้องwr, lj

ภาษาตระกูลไทในปัจจุบันมีเสียงพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) เพียงไม่กี่เสียงเมื่อเทียบกับเสียงพยัญชนะต้น โดยมีลักษณะการเกิดเสียง (manner of articulation) ที่เป็นไปได้เพียง 3 แบบได้แก่ เสียงกัก, เสียงนาสิก และเสียงเปิดเท่านั้น และไม่มีการแยกระหว่างก้องหรือไม่ก้อง ทำให้หลี่ ฟางกุ้ย ได้สืบสร้างระบบเสียงพยัญชนะท้าย ซึ่งเหมือนกันกับในภาษาไทยปัจจุบัน

Proto-Tai consonantal syllabic codas
(Li 1977)
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
กัก-p-t-k
นาสิก-m-n
เสียงไหลและกึ่งสระ-w-j

ในเวลาต่อมามีการศึกษาภาษาแสกเพิ่มขึ้น พบว่ามีคำที่มีเสียงพยัญชนะท้าย /-l/ อยู่ในภาษาดังกล่าว ซึ่งคำเหล่านี้ไม่ได้เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ จึงสันนิษฐานว่าภาษาไทดั้งเดิมควรจะมีเสียงพยัญชนะท้าย *-l อยู่ในระบบเสียง และยังพบว่ามีการแปรเสียงพยัญชนะท้ายที่แตกต่างกันระกหว่างภาษาแสกกับภาษาไทอื่นๆ ได้แก่ คำที่ลงท้ายด้วย /-k/ บางคำในภาษาแสก กลับลงท้ายด้วย /-t/ ในภาษาไทอื่น คำเหล่านี้เดิมเคยถูกสืบสร้างให้ลงท้ายด้วย *-t ซึ่งไม่พบว่ามีเงื่อนไขใดสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงจาก *-t ไปเป็น *-k ได้ จึงได้สืบสร้างเสียงใหม่สำหรับการแปรเสียงดังกล่าวเป็น *-c แทน

นอกจากนี้หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายอีกตัวที่อาจเป็นไปได้คือ /*-ɲ/ ซึ่งยังมีหลักฐานไม่มาก แต่สังเกตได้จากการที่คำว่า กิน /kinA1/ ในภาษาไทย เทียบได้กับภาษาในสาขาไทเหนือว่า /kɯnA1/ ซึ่งเป็นไปได้ว่าแท้จริงแล้วเสียงพยัญชนะท้ายของคำนี้ในภาษาไทดั้งเดิมควรจะเป็น *-ɲ (ซึ่งสืบสร้างคำนี้ได้เป็น *kɯɲA) ซึ่งต่อมาเกิดการเลื่อนฐานกรณ์ไปข้างหน้า (fronting) ของทั้งสระและพยัญชนะ กลายเป็น /kinA1/ ในภาษาไทย แต่เป็น /kɯnA1/ ในภาษากลุ่มไทเหนือ

Proto-Tai consonantal syllabic codas
(Pittayaporn 2009)
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อน
กัก-p-t-c-k
นาสิก-m-n(-ɲ)
เสียงไหลและกึ่งสระ-w-l-j

พยัญชนะควบ

หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ได้สืบสร้างพยัญชนะต้นควบต่อไปนี้

Proto-Tai consonant clusters
(Li 1977)
LabialAlveolarVelar
Unvoiced Stoppr-, pl-tr-, tl-kr-, kl-, kw-
Aspirated unvoiced stoppʰr-, pʰl-tʰr-, tʰl-kʰr-, kʰl-, kʰw-
Voiced Stopbr-, bl-dr-, dl-ɡr-, ɡl-, ɡw-
Implosiveʔbr-, ʔbl-ʔdr-, ʔdl-
Voiceless Fricativefr-xr-, xw-
Voiced Fricativevr-, vl-
Nasalmr-, ml-nr-, nl-ŋr-, ŋl-, ŋw-
Liquid

การสืบสร้างภาษาไทดั้งเดิมของหลี่ ฟางกุ้ย ยังมีปัญหาที่อธิบายไม่ได้หลายประการ หนึ่งในนั้นคือความไม่สอดคล้องกันระหว่างการแปรเสียงพยัญชนะต้น เช่น คำว่า (มีด)พร้า /phra:C2/ ซึ่งร่วมเชื้อสายกับคำว่า /tha:C2/ ในภาษาแสกซึ่งหลี่ ฟางกุ้ย เคยสืบสร้างให้ขึ้นต้นด้วย *vr- นอกจากนี้ยังมีคำอื่นๆ พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) เห็นว่าการแปรเสียงดังกล่าวไม่สามารถอธิบายได้จากการสืบสร้างเดิม แต่จะอธิบายได้ถ้าให้ภาษาไทดั้งเดิมมีพยางค์ย่อย (sesquisyllable หรือ minor syllable) ที่นอกเหนือจากพยางหลักด้วย จากนั้นจึงอธิบายการแปรเสียงดังกล่าวได้ว่าเป็นการกร่อนของพยัญชนะควบทั้งพยางค์หลักและย่อยที่คนละตำแหน่งกัน ดังนั้นจึงแบ่งพยัญชนะควบออกได้เป็น

  1. ควบพยางค์เดี่ยว (Tautosyllabic clusters) – พิจารณาเป็นพยางค์เดียว
  2. ควบพยางค์ครึ่ง (Sesquisyllabic clusters) – ประกอบด้วยพยางค์ย่อย (อาจมองว่าเป็น "ครึ่งพยางค์") และพยางค์หลัก

พยัญชนะควบกล้ำพยางค์ครึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกส่วนใหญ่ เช่นภาษาเขมร แต่ในภาษาตระกูลไทในปัจจุบันไม่พบว่ามีพยัญชนะควบกล้ำพยางค์ครึ่งหลงเหลืออยู่เลย ได้สันนิษฐานว่าภาษาไทดั้งเดิมเพิ่งเข้าสู่ระยะ "ควบกล้ำพยางค์ครึ่ง" (sesquisyllabic stage) เท่านั้น (ซึ่งกร่อนมาจาก ภาษาขร้าไทดั้งเดิม ที่สันนิษฐานว่ามีสองพยางค์เป็นอย่างต่ำ) ซึ่งกำลังจะเข้าสู่ระยะ "พยางค์เดียว" (monosyllabic stage) ต่อไป ดังที่พบในภาษาตระกูลไททุกภาษา

ตารางด้านล่างนี้แสดงพยัญชนะควบกล้ำพยางค์เดี่ยว ซึ่งสืบสร้างโดย พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009)

Proto-Tai consonant clusters
(Pittayaporn 2009)
LabialAlveolarPalatalVelarUvular
Unvoiced Stoppr-, pl-, pw-tr-, tw-cr-kr-, kl-, kw-qr-, qw-
Implosivebr-, bl-, bw-ɡr-, (ɡl-)ɢw-
Fricativesw-xw-, ɣw-
Nasalʰmw-nw-ɲw-ŋw-
Liquidʰrw-, rw-

ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของกลุ่มพยัญชนะควบพยางค์ครึ่ง

Voiceless stop + voiceless stop (*C̥.C̥-)
  • *p.t-
  • *k.t-
  • *p.q-
  • *q.p-
Voiceless obstruent + voiced stop (*C̥.C̬-)
  • *C̥.b-
  • *C̥.d-
Voiced obstruent + voiceless stop (*C̬.C̥-)
  • *C̬.t-
  • *C̬.k-
  • *C̬.q-
Voiceless stops + liquids/glides (*C̥.r-)
  • *k.r-
  • *p.r-
  • *C̥.w-
Voiced consonant + liquid/glide
  • *m.l-
  • *C̬ .r-
  • *C̬ .l-
Clusters with non-initial nasals
  • *t.n-
  • *C̬ .n-

พยัญชนะควบอื่นๆ ได้แก่ *r.t-, *t.h-, *q.s-, *m.p-, *s.c-, *z.ɟ-, *g.r-, *m.n-; *gm̩.r-, *ɟm̩ .r-, *c.pl-, *g.lw-; etc.

สระ

หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ได้สืบสร้างสระเดี่ยว จำนวน 9 เสียง โดยมีลักษณะสมมาตรทั้งสระส่วนหน้าและสระส่วนหลัง โดยสระส่วนหลังมีการแยกระหว่างปากห่อ (rounded) กับปากเหยียด (unrounded) ด้วย ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบสระของภาษาตระกูลไทในปัจจุบัน แต่กลับไม่มีการแยกระหว่างความสั้น-ยาว ดังตารางด้านล่าง

Proto-Tai vowels
(หลี่ 1977)
 FrontBack
unroundedunroundedrounded
Closei
ɯ
u
Mide
ɤ
o
Openɛ
a
ɔ

พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้ปรับปรุงแก้ไขระบบเสียงสระใหม่ โดยตัดสระ /ɛ/ และ /ɔ/ ออก และเพิ่มความแตกต่างระหว่างความสั้น-ยาว ของสระ ดังตารางด้านล่าง

Proto-Tai vowels
(Pittayaporn 2009)
 FrontBack
unroundedunroundedrounded
shortlongshortlongshortlong
Close/i/
/iː/
/ɯ/
/ɯː/
/u/
/uː/
Mid/e/
/eː/
/ɤ/
/ɤː/
/o/
/oː/
Open  /a/
/aː/
  

สระประสม (diphthong) โดย พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้แก่:

  • สูงขึ้น: */iə/, */ɯə/, */uə/
  • ต่ำลง: */ɤɰ/, */aɰ/

วรรณยุกต์

กระบวนการแยกของเสียงวรรณยุกต์ร่วมกับการแปรเสียงพยัญชนะต้น (จาก พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ 2009)

ภาษาไทดั้งเดิมมีเสียงวรรณยุกต์สามเสียงในพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะเสียงกังวาน (พยางค์เป็น, อังกฤษ: unchecked syllable หรือ "live syllable") และไม่มีการแยกเสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะปิดกั้น (พยางค์ตาย, อังกฤษ: checked syllable หรือ "dead syllable") ระบบเสียงดังกล่าวมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับภาษาจีนยุคกลาง และพบได้ทั่วไปในภาษาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสียงวรรณยุกต์สามเสียงในพยางค์เป็นโดยทั่วไปจะใช้สัญลักษณ์เป็น *A, *B และ *C ตามลำดับ และใช้สัญลักษณ์ *D สำหรับเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ตาย

หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ยังไม่มีข้อมูลว่าลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ทั้งสาม (*A, *B และ *C) มีลักษณะทางสัทศาสตร์เป็นอย่างไร และวรรณยุกต์ *D นั้นแท้จริงแล้วมีลักษณะแบบเดียวกับวรรณยุกต์เสียงใดในทั้ง 3 เสียงนั้น ต่อมา พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้อธิบายลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ โดยอาศัยระเบียบวิธีเปรียบเทียบลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไทปัจจุบัน แล้วสืบสร้างกลับไป ได้ดังนี้

Proto-Tai tonal characteristics
(Pittayaporn 2009)
*A*B*C*D
ชนิดของพยางค์เป็นเป็นเป็นตาย
ระดับเสียงเริ่มต้นกลางต่ำสูงต่ำ
รูปร่างเสียงคงที่ยกขึ้นตกลงยกขึ้น
ความยาวสระค่อนยาวค่อนสั้น
คุณภาพเสียงปกติ (modal)ต่ำลึก (creaky)กักเส้นเสียง (glottal constriction)
ภาพ

ระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทดั้งเดิม แท้จริงแล้วไม่ได้ต่างกันเพียงแค่ระดับเสียง (pitch) แต่ยังต่างกันที่คุณภาพของเสียง (ปกติ, ต่ำลึก, กักเส้นเสียง) และระยะเวลาของเสียงสระด้วย ลักษณะเช่นนี้ยังคงพบในภาษาตระกูลไทในปัจจุบันหลายๆ ภาษา อักขรวิธีของภาษาไทยปัจจุบันยังคงแสดงวรรณยุกต์เหล่านี้ไว้ โดยที่ ไม้เอก ใช้สำหรับแทนเสียง *B ในภาษาไทยโบราณ และไม้โท ใช้แทนเสียง *C ในภาษาไทยโบราณ จากตารางจะพบว่า วรรณยุกต์ *D มีลักษณะทางสัทศาสตร์เหมือนกับวรรณยุกต์ *B ซึ่งสอดคล้องกับการบังคับเอกโทในฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ ที่กำหนดให้ทั้งคำเอก (คำที่กำกับโดยไม้เอก) และคำตายอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ แสดงให้เห็นว่าในอดีต เสียงวรรณยุกต์ *B และ *D มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

ระบบวรรณยุกต์ในภาษาไทดั้งเดิมมีความสอดคล้องกันกับระบบของภาษาจีนยุคกลาง ดังตารางต่อไปนี้[3][4]

Sinitic–Tai tonal correspondences
Proto-Tai
Tone
Notes
(Written Thai orthography)
Middle Chinese
Tone
Chinese nameNotes
(Middle Chinese)
*AUnmarkedA平 Level (Even)Unmarked
*BMarked by -' (mai ek)C去 DepartingMarked by -h
*CMarked by -้ (mai tho)B上 RisingMarked by -x
*DUnmarkedD入 EnteringMarked by -p, -t, -k

วรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไทปัจจุบันได้มีพัฒนาการมาจากวรรณยุกต์ทั้งสี่ดังกล่าว โดยเกิดการแยกเสียงวรรณยุกต์แต่ละเสียงออกเป็นอย่างน้อย 2 เสียง ขึ้นอยู่กับลักษณะทางสัทศาสตร์ของพยัญชนะต้น ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 แบบ ต่อไปนี้

  1. "เสียงเสียดสี" (Friction sound) ได้แก่ เสียงเสียดแทรก ไม่ก้อง, เสียงกัก พ่นลม ไม่ก้อง, เสียงนาสิก ไม่ก้อง และเสียงไหล ไม่ก้อง
  2. เสียงกัก ไม่พ่นลม ไม่ก้อง
  3. เสียงกักเส้นเสียง
  4. เสียงก้องใดๆ

กระบวนการแปรเสียงวรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไท เกิดร่วมไปกับการแปรเสียงพยัญชนะต้น โดยลำดับขั้นตอนได้ดังนี้

  1. เสียงพยัญชนะต้นมีผลกระทบต่อเสียงวรรณยุกต์ ทำให้การรับรู้เสียงวรรณยุกต์มีความแตกต่างกันระหว่างพยัญชนะเสียงก้องและไม่ก้อง
  2. เกิดการแยกเสียงวรรณยุกต์อย่างชัดเจน สำหรับพยัญชนะเสียงไม่ก้อง (แยกเป็น *A1, *B1, *C1, *D1) และพยัญชนะเสียงก้อง (แยกเป็น *A2, *B2, *C2, *D2)
  3. เสียงกังวาน (sonorant) ไม่ก้อง ได้แปรไปเป็นเสียงก้อง
  4. เสียงกัก (stop) ก้อง เกิดการเสียความก้อง (devoicing) ไป กลายเป็นเสียงไม่ก้อง
  5. เกิดการแยกและรวมเสียงวรรณยุกต์ต่อไป

อนึ่ง วรรณยุกต์ *D ได้มีการแยกออกไปตามความสั้น-ยาวของสระในพยางค์ด้วย (*DS สำหรับพยางค์ที่มีสระเสียงสั้น และ *DL สำหรับพยางค์ที่มีสระเสียงยาว)

พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ได้เสนอว่า การแยกเสียงวรรณยุกต์เหล่านี้เกิดภายหลังจากที่ภาษาไทดั้งเดิมได้แยกออกไปเป็นภาษาต่างๆ แล้ว แตกต่างจากแนวคิดของนักภาษาศาสตร์บางคนก่อนหน้านี้ เช่น เจมส์ อาร์ แชมเบอร์เลน (1975) ที่ได้เสนอว่าการแยกเสียงวรรณยุกต์เกิดก่อนที่จะมีการแยกตัวของภาษาตระกูลไท

วิลเลียม เจ เก็ดนีย์ (1972) ได้เสนอ กล่องวรรณยุกต์ สำหรับใช้ในการวิเคราะห์การแปรเสียงวรรณยุกต์สำหรับภาษาในตระกูลไท[5][6][7][8] ดังตารางด้านล่างนี้

Gedney Box template
*A*B*C*DS*DL
Voiceless
(friction)
A1B1C1DS1DL1
Voiceless
(unaspirated)
A1B1C1DS1DL1
Voiceless
(glottalized)
A1B1C1DS1DL1
VoicedA2B2C2DS2DL2

และมีคำร่วมเชื้อสายตระกูลไท สำหรับทดสอบเสียงวรรณยุกต์ในภาษาตระกูลไทต่างๆ ต่อไปนี้[9][10][11]

Diagnostic words for Tai tones
*A*B*C*DS*DL
1: Voiceless
(friction)
huu หู ear,
khaa ขา leg,
hua หัว head;
sɔɔŋ สอง two,
maa หมา dog
khay ไข่ egg,
phaa ผ่า to split,
khaw เข่า knee;
may ใหม่ new,
sii สี่ four
khaaw ข้าว rice,
sɨa เสื้อ shirt,
khaa ฆ่า to kill,
khay ไข้ fever,
haa ห้า five;
thuay ถ้วย cup,
mɔɔ หม้อ pot,
naa หน้า face,
to wait
mat หมัด flea,
suk สุก cooked/ripe,
phak ผัก vegetable;
hok หก six,
sip สิบ ten
khaat ขาด broken/torn,
ŋɨak เหงือก gums,
haap หาบ to carry on a shoulder pole;
khuat ขวด bottle,
phuuk ผูก to tie,
sɔɔk ศอก elbow,
khɛɛk แขก guest,
fruit
2: Voiceless
(unaspirated)
pii ปี year,
taa ตา eye,
kin กิน to eat;
kaa กา teapot,
plaa ปลา fish
paa ป่า forest,
kay ไก่ chicken,
kɛɛ แก่ old;
taw เต่า turtle,
paw เป่า to blow,
pii ปี flute,
short (height)
paa ป้า aunt (elder),
klaa กล้า rice seedlings,
tom ต้ม to boil;
kaw เก้า nine,
klay ใกล้ near,
short (length)
kop กบ frog,
tap ตับ liver,
cep เจ็บ to hurt;
pet เป็ด duck,
tok ตก to fall/drop
pɔɔt ปอด lung,
piik ปีก wing,
tɔɔk ตอก to pound;
pɛɛt แปด eight,
paak ปาก mouth,
taak ตาก to dry in the sun,
to embrace
3: Voiceless
(glottalized)
bin บิน to fly,
dɛɛŋ แดง red,
daaw ดาว star;
bay ใบ leaf,
nose
baa บ่า shoulder,
baaw บ่าว young man,
daa ด่า to scold;
ʔim อิ่ม full,
(water) spring
baan บ้าน village,
baa บ้า crazy,
ʔaa อ้า to open (mouth);
ʔɔy อ้อย sugarcane,
daam ด้าม handle,
daay ด้าย string
bet เบ็ด fishhook,
dip ดิบ raw/unripe,
ʔok อก chest;
dɨk ดึก late,
to extinguish
dɛɛt แดด sunshine,
ʔaap อาบ to bathe,
dɔɔk ดอก flower;
ʔɔɔk ออก exit
4: Voicedmɨɨ มือ hand,
khwaay ควาย water buffalo,
naa นา ricefield;
ŋuu งู snake,
house
phii พี่ older sibling,
phɔɔ พ่อ father,
ray ไร่ dry field;
naŋ นั่ง to sit,
lɨay เลื่อย to saw,
ashes,
urine,
beard
nam น้ำ water,
nɔɔŋ น้อง younger sibling,
may ไม้ wood,
maa ม้า horse;
lin ลิ้น tongue,
thɔɔŋ ท้อง belly
nok นก bird,
mat มัด to tie up,
lak ลัก to steal;
sak ซัก to wash (clothes),
mot มด ant,
lep เล็บ nail
miit มีด knife,
luuk ลูก (one's) child,
lɨat เลือด blood,
nɔɔk นอก outside;
chɨak เชือก rope,
raak ราก root,
nasal mucus,
to pull

โครงสร้างพยางค์

แต่เดิมมีความเข้าใจว่าภาษาไทดั้งเดิมเป็นภาษาพยางค์เดียวเช่นเดียวกับภาษาตระกูลไทปัจจุบัน ตามการสืบสร้างของ หลี่ ฟางกุ้ย (1977) ต่อมาพิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) เสนอว่าภาษาไทดั้งเดิมเป็นภาษาพยางค์ครึ่ง ที่อนุญาตให้มีคำทั้งพยางค์เดียว และพยางค์ครึ่งอยู่ภายในภาษา ต่อมาคำพยางค์ครึ่งเหล่านั้นได้กร่อนเป็นคำพยางค์เดียวในภาษาตระกูลไทปัจจุบัน

โครงสร้างพยางค์
(พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ 2009)
พยางค์เปิดพยางค์ปิด
พยางค์เดียว*C(C)(C)V:T*C(C)(C)V(:)CT
พยางค์ครึ่ง*C(C).C(C)(C)V:T*C(C).C(C)(C)V(:)CT

สัญลักษณ์ย่อ:

  • C = พยัญชนะ
  • V = สระเสียงสั้น
  • V: = สระเสียงยาว
  • T = วรรณยุกต์
  • (...) = มีหรือไม่มีก็ได้

สระในพยางค์เปิดสามารถเป็นสระเสียงยาวได้อย่างเดียว ไม่สามารถเป็นสระเสียงสั้นได้

ภาษาในตระกูลไทปัจจุบันได้พัฒนาเป็นภาษาพยางค์เดียวโดยสมบูรณ์ โดยผ่านกระบวนการดังนี้

  1. การอ่อนเสียงลง (weakening)
  2. การแปรเป็นเสียงกักเส้นเสียงลมเข้า (implosivization)
  3. การสลับลำดับของเสียง (metathesis)
  4. การกลืนเสียง (assimilation)
  5. การกร่อนเสียง (simplification) - พยัญชนะควบกล้ำในพยางค์กร่อนลงเหลือพยัญชนะเดี่ยว

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาไทดั้งเดิม http://pacling.anu.edu.au/series/SEALS-PDFs/Somson... http://arrow.latrobe.edu.au:8080/vital/access/mana... http://sealang.net/crcl/proto/ http://sealang.net/sala/archives/pdf8/downer1963ch... http://sealang.net/sala/archives/pdf8/gedney1989ch... http://language.psy.auckland.ac.nz/austronesian/la... http://jseals.org/seals21/pittayaporn11prototaip.p... http://www.sil.org/silesr/abstract.asp?ref=2012-03... http://starling.rinet.ru/cgi-bin/query.cgi?basenam... http://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/Documents/JL...