สัณฐานวิทยา ของ ภาษาไทดั้งเดิม

หลี่ ฟางกุ้ย (1977) เสนอว่าภาษาไทดั้งเดิมอาจมีการแปรเสียงพยัญชนะต้นระหว่างเสียงก้องและไม่ก้อง (voicing alternation) เพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์บางอย่าง แต่ยังไม่ทราบหน้าที่ทางไวยากรณ์ชัดเจน โดยยกตัวอย่างคำว่า เขี้ยว /khiəwC1/ ซึ่งสืบสร้างพยัญชนะต้นได้เป็น *kh- ในภาษาไทดั้งเดิม และคำว่า เคี้ยว /khiəwC2/ ซึ่งสืบสร้างพยัญชนะต้นได้เป็น *g- โดยมองว่าทั้งสองคำนี้ แท้จริงมีรากเดียวกันแต่มีการแปรระหว่างเสียงก้องและไม่ก้อง (*kh- และ *g-) เพื่อเปลี่ยนจากคำนามเป็นคำกริยา พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (2009) ไม่สนับสนุนทฤษฎีนี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาไทดั้งเดิม http://pacling.anu.edu.au/series/SEALS-PDFs/Somson... http://arrow.latrobe.edu.au:8080/vital/access/mana... http://sealang.net/crcl/proto/ http://sealang.net/sala/archives/pdf8/downer1963ch... http://sealang.net/sala/archives/pdf8/gedney1989ch... http://language.psy.auckland.ac.nz/austronesian/la... http://jseals.org/seals21/pittayaporn11prototaip.p... http://www.sil.org/silesr/abstract.asp?ref=2012-03... http://starling.rinet.ru/cgi-bin/query.cgi?basenam... http://www.lc.mahidol.ac.th/lcjournal/Documents/JL...