ชีวิตนักศึกษา ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การเรียนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีการศึกษา แต่สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และโครงการบูรณาการของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ใช้เวลา 5 ปีการศึกษา ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ จะใช้เวลา 6 ปีการศึกษา

ตลอดระยะเวลาการเรียนนอกจากการเรียนวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยและวิชาบังคับเลือกของสาขาวิชาแล้ว ยังสามารถลงทะเบียนวิชาเลือกเสรีหรือวิชาโทข้ามคณะและสาขาวิชาได้อย่างเสรี ยกเว้นหลักสูตรที่ด้วยสภาพการณ์แล้วไม่สามารถทำได้ เช่น แพทยศาสตรบัณฑิต ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นต้น นอกจากการพบปะกันในคณะหรือสาขาวิชาแล้ว ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชุมนุมชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้ากลุ่มของคณะ การเล่นกีฬา และสำหรับคณะหรือสถาบันที่มีระบบโต๊ะกลุ่มหรือระบบบ้าน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ยังมีโอกาสที่จะได้พบปะหรือร่วมกิจกรรมกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่โต๊ะกลุ่มหรือบ้านได้อีกด้วย

ชุมนุม ชมรม กลุ่มกิจกรรม กลุ่มอิสระในมหาวิทยาลัย

เสลี่ยงเชิญตราธรรมจักรในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66 โดยองค์การนักศึกษาร่วมกับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านกิจกรรมนักศึกษา1.องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) กิจกรรมภายในของนักศึกษานั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การของนักศึกษา โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา2.สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย 3 วิทยาเขต คือ รังสิต ท่าพระจันทร์ และ ลำปาง ทำหน้าที่พิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง–ยุบชุมนุมชมรม รวมไปถึงการพิจารณากฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของแต่ละศูนย์ หากมีเรื่องเร่งด่วนจะมีการประชุมสภาทั้งหมด โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา3.คณะกรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กพน.) กำกับดูแลหอพักนักศึกษา โดยทำงานประสานกับกลุ่มงานผู้ช่วยอาจารย์หอพัก สำนักงานจัดการทรัพย์สิน4.คณะกรรมการนักศึกษา คณะกรรมการนักศึกษาของแต่ละคณะมีทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมและเป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ อยู่ในความดูแลของรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาของคณะนั้นๆ

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังประกอบด้วยชุมนุมชมรต่างๆ แบ่งได้เป็น 4 ฝ่าย[77] ดังต่อไปนี้

  • ฝ่ายศาสนาและจริยธรรม ได้แก่ ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน ชมรมมุสลิม ชมรมคาทอลิก และชมรมคริสเตียน
  • ฝ่ายกีฬา ได้แก่ ชุมนุมกรีฑา ชุมนุมกีฬาในร่ม ชุมนุมคาเต้-โด ชมรมเทควันโด ชุมนุมยูโด ชุมนุมแบดมินตัน ชุมนุมเทเบิลเทนนิส ชุมนุมลอนเทนนิส ชุมนุมฟุตบอล ชุมนุมรักบี้ฟุตบอล ชุมนุมบาสเกตบอล ชุมนุมวอลเลย์บอล ชุมนุมซอฟท์บอลและเบสบอล ชุมนุมตะกร้อ ชุมนุมเปตอง ชุมนุมกีฬาทางน้ำ ชุมนุมฟันดาบสากล ชุมนุมยิงปืน ชุมนุมยิงธนู ชุมนุมกีฬาลีลาศ ชุมนุมเพาะกาย ชมรมมวย ชุมนุมกอล์ฟ ชมรมมวยไทย ชมรมฟุตบอล ชมรมรักบี้ฟุตบอล ชมรมยิงปืน ชมรมตระกร้อ ชมรมยิงธนู ชมรมว่ายน้ำ ชมรมฟันดาบ ชมรมโปโลน้ำ ชมรมบาสเก็ตบอล ชมรมวอลเล่ย์บอล ชมรมเทควันโด และชมรมคาราเต้
  • กลุ่มอิสระ ได้แก่ กลุ่มอิสระล้อการเมือง กลุ่มอิสระลานสรรค์ กลุ่มอิสระไม้ขีดไฟ กลุ่มอิสระเพาะรัก กลุ่มอิสระสังคมนิยมประชาธิปไตย และกลุ่มลีดตลก ประจำงานฟุตบอลประเพณีฯ
  • พรรคการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพรรคการเมืองของนักศึกษาในปัจจุบัน คือ พรรคธรรมเพื่อโดม และ พรรคคนกันเอง ซึ่งเป็นผู้สมัครเลือกนายก อมธ. ส่วนสภานักศึกษา มี พรรคเพื่อนกัน พรรคเราธรรมได้ พรรคธรรมศาสตร์มั่นคง ส่วน พรรคที่เหลือจะถูกเปลี่ยนชื่อพรรคใหม่ หรือ อาจยุติบทบาทไม่ส่งผู้สมัครในบางปี เช่น พรรคปลุกโดม พรรครักธรรมศาสตร์ เป็นต้น แต่พรรคพรรคที่มีอายุยาวนานที่สุดของสภานักศึกษา คือ พรรคธรรมจักร (ยุบพรรค ปี 2558) ส่วน อมธ. คือ พรรคธรรมเพื่อโดม และในส่วนคณะกรรมการหอพักนักศึกษา มักมีผู้สมัครเพียงรายเดียวในการลงสมัคร
  • ชมรมชุมนุมในหอพัก ได้แก่ สโมสรนักศึกษาสภากาแฟ กลุ่มกิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ITTAG) กลุ่มพัฒนาศักยภาพ (R&DTC) และกลุ่มส่งเสริมคุณภาพชีวิต

องค์การนักศึกษา สภานักศึกษา ชมรมชุมนุม และกลุ่มอิสระต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ ณ อาคารกิจกรรมนักศึกษา ยกเว้นชุมนุมสายกีฬาที่มีที่ทำการอยู่ ณ ศูนย์บริการการกีฬา อาคารยิมเนเซียม 7 และคณะกรรมการหอพักนักศึกษา ชมรมชุมนุมในส่วนของหอพักอยู่ภายในศูนย์ต่าง ๆ ที่หมู่บ้านเอเชี่ยนเกมส์ ศูนย์เหล่านี้เรียกว่า "น็อก" (NOC) เพราะเดิมเป็นที่พักคณะกรรมการโอลิมปิกส์แห่งชาติ (National Olympic Committee)

กีฬาและนันทนาการ

บรรยากาศพิธีเปิดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 71
  • งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดชระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพฝ่ายละหนึ่งปี ปกติจัดขึ้น ณ สนามศุภชลาศัย
  • งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานรักบี้ประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นการแข่งขันรักบี้ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 แต่ได้ยุติไประยะหนึ่ง และได้มีการฟื้นฟูการแข่งขันอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
  • ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือกลุ่มตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯยังได้รับหน้าที่เป็น ผู้นำของขบวนพาเหรดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นผู้นำขบวนอัญเชิญธรรมจักร ผู้อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ถ้วยพระราชทาน และที่สำคัญยังเป็นดรัมเมเยอร์อีกด้วย
  • เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้าที่นำกองเชียร์ส่งเสียงเชียร์นักกีฬา โดยเฉพาะในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬา
  • ธิดาโดม คือนางงามที่ชนะเลิศในการประกวดของสมาคมธรรมศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ การประกวดธิดาโดมเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2516 โดยการเชิญสาวงามที่ไปเที่ยวงานในคืนนั้นขึ้นมาประกวด
  • สโมสรฟุตบอลโดม หรือ โดม เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 ตามแนวนโยบายของอธิการบดี โดยแข่งขันอยู่ลีกอาชีพดิวิชั่น 2 โซนภาคกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งมีนโยบายเน้นใช้นักฟุตบอลของมหาวิทยาลัยรวมถึงศิษย์เก่า และนักกีฬาอื่นๆ โดยมีสนามเหย้าอยู่ ณ สนามธรรมศาสตร์สเตเดียม ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • ชุมนุมเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นชุมนุมภายใต้การดูแลของสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งขึ้นตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยที่ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2522 เป็นองค์กรกิจกรรมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบงานเชียร์ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ หรืองานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ เป็นชุมนุมที่ใหญ่ที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีตัวแทนนักศึกษาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาทำงานตามวาระทำงานโดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ด้วยความรักและความภาคภูมิใจที่มีต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาพการแปรอักษรประจำงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68

ศิลปวัฒนธรรม

งานบำเพ็ญประโยชน์และอาสาสมัคร

  • ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Ambassador) เป็นผู้แทนนักศึกษาในการนำขบวนอัญเชิญธรรมจักรหรือถ้วยพระราชทาน และเป็นดรัมเมเยอร์ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่จัดกิจกรรมและร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม อาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยในโอกาสต่าง ๆ เป็นผู้นำเสนอสินค้า วิทยากร พิธีกร เดินแบบ ให้แก่สถาบันและหน่วยงานสาธารณกุศล ทั้งยังเป็นผู้แทนนักศึกษาในการ ต้อนรับบุคคลสำคัญในงานของมหาวิทยาลัย ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและกิจกรรมของนักศึกษาให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการเชิญชวนให้นักศึกษามาร่วมกันทำกิจกรรมกันมากขึ้น[ต้องการอ้างอิง]
  • ธรรมศาสตร์แชริงเฟสติวัล (Thammasat Sharing Festival) หรือทียูแชริง (TU Sharing) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันทำความดีในรูปแบบต่าง ๆ และสร้างกระแสให้นักศึกษาทุกคนรู้สึกว่า การทำความดีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ Share Idea with Idol, T-Shirt sharing, กิจกรรมปล่อยนก, บริจาคเงินเพื่อเด็กกำพร้า, คนพิการ, คนชรา, อ่านหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา, Best sharing award, ธรรมศาสตร์ตักบาตรเพื่อพ่อ และกิจกรรมนั่งสมาธิ โดยเริ่มจัดครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2552 โดยชมรมพัฒนาศักยภาพ R&DTC มีผู้ร่วมทำกิจกรรมทั้งหมดกว่า 3,000 คน
  • บัณฑิตอาสาสมัคร เป็นโครงการระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้บัณฑิตออกไปสู่ชุมชนและชนบท เพื่อเรียนรู้ เข้าใจ และทำงานประสานร่วมกับชาวบ้านและหน่วยงานพัฒนาต่าง ๆ [81] โครงการนี้ดูแลโดย สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
  • ศูนย์อาสาสมัคร เป็นหน่วยงานของกองกิจการนักศึกษา[82] มีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ส่งเสริมงานอาสาสมัคร และเป็นตัวกลางของงานอาสาสมัคร โดยจะเป็นตัวกลางระหว่างหน่วยงานที่ต้องการอาสาสมัครและนักศึกษาที่ต้องการทำงานอาสาสมัคร[83] และยังมีการสนับสนุนให้การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปของชั้นปีที่ 1 มีการปรับปรุงหลักสูตรจากการเรียนการสอนแบบฟังบรรยาย มาเป็นกระบวนการกลุ่มรวมทั้งการการเป็นอาสาสมัครก่อนจบการศึกษา[84]
  • ธรรมศาสตร์ทำนา เป็นโครงการในความรับผิดชอบของฝ่ายการนักศึกษา[85] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสกับปัญหาและความทุกข์ยากของผู้อื่น ตลอดจนกระตุ้นให้นักศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนา และที่มาของข้าว ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงบนแปลงนาพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ ภายในศูนย์รังสิต โครงการนี้มีต้นแบบมาจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมการทำนานี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมใน 3 ขั้นตอน คือ การถอนกล้า ดำนา และเกี่ยวข้าว[86] ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้นั้นจะนำไปหุงเป็นอาหารมื้อแรกให้นักศึกษาใหม่ได้รับประทานในกิจกรรมการแสดงแสง สี เสียง ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์ "ณ ดินแดนแห่งนี้มีตำนาน ขอเธอสืบสานจิตวิญญาณธรรม"[87] ซึ่งเป็นวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ด้วย และข้าวสารส่วนหนึ่งจะนำมาแบ่งบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายในศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[88]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://board.212cafe.com/view.php?user=economics&i... http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p... http://www.bangkokbiznews.com/2006/02/28/news_2003... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/... http://www.chemistrytu.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B... http://maps.google.com/maps?ll=13.755853,100.49087... http://www.inseepolicefc.com/sanam.php http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7558... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.ph... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst...