การต่อสู้ ของ ยุทธการที่บะดัร

ในแต่ละปีชาวเมืองมักกะฮ์จะส่งกองคาราวานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ (เพื่อค้าขาย) และผลกำไรนี้เป็นส่วนสำคัญของรายได้แก่มักกะฮ์ และพ่อค้าชาวมักกะฮ์เกือบทุกคนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกองคาราวานนี้ และถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวมักกะฮ์ทุกคน. ในขณะที่กองคาราวานผ่านเมืองมะดีนะฮ์เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองชาม(ซีเรีย) มุสลิมมะดีนะฮ์ได้ให้พลทหารคุ้มกันบุกโจมตี และไม่ให้ใครหนีรอดไปได้. ในเดือนญะมาดิ้ลเอาวัลหรือญะมาดิ้ลษานี ปีที่ 2 หลังจากอพยพ. อบูซุฟยานได้นำกองคาราวานค้าขายสู่เมืองชาม เมื่อมุฮัมหมัดทราบข่าว จึงนำมุสลิมจำนวน 150 ถึง 200 คนเพื่อดักซุ่มโจมตี แต่มาทราบในภายหลังว่ากองคาราวานนั้นได้ผ่านไปแล้วก่อนหน้านี้ จึงตัดสิ้นใจจะโจมตีต้อนขากลับอีกครั้ง[11]

เมื่อกองคาราวานได้กลับจากเมืองชามสู่มักกะฮ์ มุฮัมหมัดได้ส่งฏอลหะฮ์ บิน อุบัยดิลลาฮ์ และสะอีด บิน เซด เฝ้าดูที่เฮารอห์เพื่อแจ้งข่าวเมื่อกองคาราวานผ่านมา. เมื่อทั้งสองถึงยังเฮารอห์ มีหัวหน้าเผ่า “ญุฮัยนะฮ์” ให้การต้อนรับ และให้ทั้งสองหลบซ่อนในบ้านของตน จนกระทั่งว่ากองคาราวาน จำนวน 40 คน พร้อมกับทองคำเกือบ 5 หมื่นดีนารได้ผ่านมา และทั้งสองได้กลับมะดีนะฮ์เพื่อรายงานข่าว. แต่มุฮัมหมัดเกิดความกังวลว่าหากรอสองคนนั้นจะล่าช้าเกินไป จึงเคลื่อนทัพออกไปก่อน. ทำให้ทั้งสองไม่ได้เข้าร่วมทัพ และท่านอุษมานเองก็เช่นกันไม่ได้เข้าร่วมทัพดังกล่าว เพราะต้องเฝ้าไข้รุกอยยะฮ์(บุตรท่านนบี)ภรรยาของตน.[12]

กองทัพของมุสลิมมีไพร่พล 300 - 317 คน (82-86คนเป็นพวกลี้ภัย ,61คนจากเผ่าเอาส์ และ170คนจากเผ่าคอซร็อจ) และม้า2-3ตัว(เป็นของซุเบร บิน อาวาม และมิกดาด บิน อัสวัด) และอูฐ 70 ตัว ซึ่งแต่ละตัวจะมีคนขี่ 2-3 คนสลับกันไป และมุฮัมหมัดกับอะลีก็ใช้อูฐตัวเดียวกัน ซึ่งกองทัพมุสลิมมีธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์ 

เหตุการณ์ก่อนถึงเมืองบะดัร

เส้นทางการเคลื่อนทัพของ คาราวานอบูซุฟยาน , มุสลิม และกุเรช

กองทัพมุสลิมได้ออกจากเมืองมะดีนะฮ์ในวันที่ 12 หรือ 13 เดือนรอมฎอน และใช้เวลา 5 วันในการเดินทางถึงสถานที่หนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองบะดัรด้วยระยะทาง 90 ไมล์ ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองมะดีนะฮ์

เมื่อใกล้ถึงเมืองบะดัร มุฮัมหมัดได้ส่งทหาร 2 ท่านออกไปสืบข่าวของคาราวาน เมื่อทหารทั้งสองถึงยังบ่อน้ำหนึ่งในเมืองบะดัร และได้ยินชาวบ้านพูดกันว่า “กองคาราวานจะถึงมาภายในพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้” ทั้งสองจึงรีบกลับมารายงานข่าว. เมื่อทั้งสองได้กลับไป อบูซุฟยานได้มาถึงยังเมืองบะดัรด้วยตัวของเขาเอง เพื่อตรวจสอบเส้นทางให้เกิดความมั่นใจแก่กองคาราวานของตน และทราบข่าวถึงสายสืบทหารทั้งสอง(ของมุฮัมหมัด) จึงกลับไปยังกองคาราวาน และทำการเปลี่ยนเส้นทางไปยังทะเลแดง. เมื่ออบูซุฟยานนำกองคาราวานของเขาถึงยังตำบลหนึ่ง และเจอกับชาวมุสลิมโดยบังเอิญ จึงได้ขอความช่วยเหลือจากมักกะฮ์. กองทัพของมักกะฮ์จึงจัดกองกำลังด้วยไพร่พล 950 คน ซึ่งรวมถึงชาวกุเรชที่กระหายสงครามอยู่ด้วย และนำทัพมุ่งหน้าสู่เมืองบะดัรโดยอัมร์ บิน ฮิชาม.

Error: No text given for quotation (or equals sign used in the actual argument to an unnamed parameter)

ขณะที่มุสลิมได้ตั้งค่าย ณ ญุห์ฟะฮ์(ตอนใต้เมืองบะดัร) กองคาราวานของอบูซุฟยานก็ถึงยังสถานที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างกองทัพกุเรชและมุสลิม จึงสั่งให้กองทัพกุเรชออกจากเส้นทางก่อน เพื่อกองคาราวานจะได้รับความปลอดภัย. กองทัพกุเรชจึงทำตาม แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย และเป็นไปได้ว่ากลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยคือเผ่าบะนีซุฮ์เราะฮ์และบะนีอะดี จึงเดินทางกลับเมืองมักกะฮ์ แต่อัมร์ บิน ฮิชามและพวกที่เหลือได้มุ่งหน้าสู่เมืองบะดัรต่อไป และได้ตั้งค่ายที่ยะลัยล์(ระหว่างบะดัรและอะกอนก้อล).[13]

William Montgomery Watt กล่าวว่า “เขา(อัมร์ บิน ฮิชาม)และพรรคพวกของเขามโนว่าพวกเขานั้นแข็งแกร่ง และมุฮัมหมัดไม่อาจต่อกรกับเขาได้”.

มุสลิมได้จับกุมชาวกุเรชได้ 2 คนใกล้ๆ เมืองบะดัร จึงเข้าใจว่ากองทัพของชาวกุเรชใกล้เข้ามาแล้ว มุฮัมหมัดจึงทำการประชุมหารือ อบูบักร์และอุมัร ได้ออกความเห็นเป็นบุคคลแรกๆ ตามด้วยมิกดาด บิน อัมร์ ซึ่งชาวมุฮาญิรีน(ผู้อพยพ)มีความต้องการให้รีบเดินทัพทำ(สงคราม). แต่เนื่องด้วยการสนธิสัญญาอุกบะฮ์ ของชาวอันศอร คือการทำหน้าที่ปกป้องชาวมุสลิมในขณะอาศัยอยู่ในเมืองมะดีนะฮ์เท่านั้น และอีกข้อหนึ่งคือพวกเขาคิดว่าพวกเขากำลังจะโจมตีกองคาราวานค้าขายหนึ่งเพียงเท่านั้นจึงเข้าร่วมทัพมากับมุฮัมหมัด. ซึ่งมุฮัมหมัดรู้ถึงทัศนะของชาวอันศอร จึงทำการปรึกษาหารืออีกรอบหนึ่ง และสะอัด บิน มุอาษ จากชาวอันศอร ได้ประกาศความพร้อมที่จะทำสงครามของชาวอันศอร. มุฮัมหมัดจึงรีบสั่งการกรีธาทัพอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ถึงยังบ่อน้ำ ณ เมืองบะดัรก่อนหน้าศัตรู และเมื่อถึงยังบ่อน้ำจึงสั่งให้กองทัพหยุดเพื่อตั้งค่ายทหาร แต่ชาวอันศอรคนหนึ่งได้เสนอแก่มุฮัมหมัดว่า ให้หยุดทัพตรงบ่อน้ำที่ใกล้กับกองทัพของศัตรูจะดีกว่า และทำที่กักเก็บน้ำเอาไว้ และอย่าให้ศัตรูได้ใช้น้ำนั้น. มุฮัมหมัดจึงตอบรับในข้อเสนอดังกล่าว. มุฮัมหมัดได้ดื่มด่ำอยู่กับการวิวรตลอดทั้งคืน จนโองการหนึ่งได้ถูกประทานลงมา. และได้ทำอิบาดะฮ์(เคารพภักดี)พระเจ้าต่อไป จนกระทั่งโองการที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าสงครามครั้งนี้จะได้รับชัยชนะเป็นแน่ได้ประทานลงมา. เขากล่าวกับสหายของเขาว่า “ผู้ที่ถูกฆ่าในสงครามจะได้รับสถานภาพ ชะฮีด และมรรคผลของเขาคือสรวงสวรรค์

ณ เมืองบะดัร

ชาวมักกะฮ์ได้ตั้งค่ายทหายอยู่หลังเชิงเขาซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ รุ่งอรุณของวันที่ ๑๗ เดือนรอมฎอน ชาวกุเรชได้รุดหน้าถึงเทือกเขาอะกอนก้อล และได้ตั้งค่ายทหารบริเวณตีนเขาเพื่อสามารถมองเห็นฝั่งตรงข้าม ซึ่งพวกมุชรีกีน(ผู้ตังภาคี)หลายคนที่ออกศึกในเวลานั้นถูกสังหารจนหมดนอกจากฮะกีม บิน ฮิซาม. ขณะที่พวกเขาเห็นว่าชาวมุสลิมมีน้อยกว่าที่พวกเขาได้คาดคะเนไว้ อุมัยร์ บน วะฮับ จึงส่ง อัลญัมฮีย์ เพื่อสอดส่องถึงจำนวนที่แท้จริงของมุสลิม เขาได้ตรวจสอบและทราบถึงจำนวนจึงกลับมารายงานและกล่าวว่า “พวกเขาไม่ถูกสังหารเลยแม้แต่คนเดียว แต่กลับเป็นพวกของท่าน(โดนสังหาร)...” อัลญัมฮีย์เป็นที่รู้จักในเมืองมักกะฮ์ในฐานะผู้บอกกล่าวเรื่องลี้ลับ จากคำกล่าวของเขามีผลต่อสภาพจิตใจทหารเป็นอย่างมาก. ฮะกีม บิน ฮิซามจึงเข้าพบอุตบะฮ์(อุตบะฮ์ บิน ระบีอะฮ์ พ่อของภรรยาอะบูซุฟยาน) เพื่อขอให้เขาจ่ายหนี้เลือดให้กับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์สะรียะฮ์ นัคละฮ์(นั้นคืออัมร์บินอัฎระมีย์)แก่อามีรบินอัฎระมีย์ผู้เป็นน้องชาย เพื่อแก้ไขข้ออ้างหลักข้อหนึ่งที่เป็นสาเหตุความขัดแย้งนี้ และเพื่อไม่ให้เกิดสงครามขึ้น. อุตบะฮ์ยอมรับขอเสนอ และบอกให้เขาไปขอให้อัมร์บินฮิชามยอมรับต่อข้อเสนอนี้เช่นกัน และหยุดการทำสงคราม. อุตบะฮ์ไปหากองทัพและกล่าวว่า “โอ้ทหารแห่งกุเรช การทำสงครามกับมุฮัมหมัดและพวกของเขา จะไม่มีประโยชน์ใดๆ เลยแก่พวกเจ้า. หากพวกเจ้าสังหารพวกเขา พวกเขาก็จะสังหารญาติพี่น้องของพวกเจ้า(ที่อาศัยอยู่ในกลุ่มมุสลิม)และจะมองพวกเขาด้วยความเกลียดชัง. ดังนั้นจงกลับไปและทิ้งมูฮัมหมัดไว้กับชาวอาหรับคนอื่น ๆ”. แต่ก่อนที่กองทัพจะตัดสินใจยกเลิกสงคราม อัมร์บินฮิชามได้กล่าวหาว่า อุตบะฮ์นั้นกลัวว่าตัวเขาและลูกๆ ของเขา(ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนมุสลิม)จะถูกสังหาร. และได้ไปหาอามีรเพื่อยุยงไม่ให้ปล่อยโอกาสการแก้แค้นนี้ไป.[14][15]

มูฮัมหมัดและผู้ร่วมสงคราม ก่อนการเปิดฉากสู้รบ;ภาพจำลอง,จากหนังสือ جامعالتواریخ

มุฮัมหมัดส่งข้อความไปยังอัมร์บินฮิชาม โดย อุมัรบินค็อฏฏอบ ซึ่งมีใจความว่า “จงกลับไปเสียเถิด หากบุคคลอื่นนอกเหนือจากเจ้าทำสงครามกับฉันจะเป็นการดีกว่า และฉันก็ไม่ต้องการทำสงครามกับเจ้าเช่นกัน”. และอัมร์บินฮิชามกล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้า ข้าจะไม่กลับในขณะที่พระเจ้าได้ส่งพวกเขามาให้เรา และนี้คือโอกาสที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าและเราจะไม่ทิ้งมันไปแน่ และจากนี้ต่อไปจะไม่มีผู้ใดมาขัดขวางกองคาราวานของเราได้”.[16]แม่แบบ:اولیه

มุฮัมหมัดได้พูดกับกองทัพของเขาให้พิจารณา (อย่าสังหาร) พวกบะนีฮาชิม (และบุคคลอื่นๆ) ที่ไม่ได้เต็มใจจะทำสงคราม.[17]แม่แบบ:اولیه

ชาวมุสลิมมีฐานที่มั่นทางสงครามที่เหนือกว่า ถึงแม้กองทัพมักกะฮ์จะมีไพร่พลและอาวุธสงครามมากกว่า แต่สภาพด้านจิตใจของชาวกุเรชนั้นอ่อนแอ จึงทำให้ฝ่ายมุสลิมมีได้เปรียบมากกว่าในการทำศึก

สงครามบะดัร;ภาพจำลอง,จากหนังสือญามิอุ้ลตะวารีค

เริ่มโดยเมื่ออัสวัด บิน อับดุลอะสัด ได้เข้าไปยังพื้นที่บ่อน้ำของมุสลิม แต่ก็ถูกสังหารโดย อัมซะฮ์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ. หลังจากนั้น อุตบะฮ์ จึงเรียกร้องการสู้รบแบบตัวต่อตัวขึ้น โดยฝ่ายกุเรชมีอุตบะฮ์ และชัยบะฮ์ (น้องอุตบะฮ์) และวะลีด (ลูกชายของอุตบะฮ์) และทหารฝ่ายมุสลิมมีอุบัยดะฮ์ บินฮะรีษ และฮัมซะฮ์ บิน อับดุลมุฏฏอลิบ และอะลี ซึ่งเป็นการสู้รบแบบสามต่อสาม โดยชัยบะฮ์ถูกสังหารโดยฮัมซะฮ์ วะลีดถูกสังหารโดย อะลี และ อุบัยดะฮ์ ถูกฟันโดย อุตบะฮ์ จนได้รับบาดเจ็บหนัก ฮัมซะฮ์ ได้เข้าช่วยอุบัยดะฮ์และได้สังหารอุตบะฮ์ ทั้งสองนำอุบัยดะฮ์กลับสู่ค่ายและเขาก็เสียชีวิตในภายหลัง. จากนั้นดอกธนูถูกยิงกระหน่ำใส่กองทัพมุสลิม ทำให้มุสลิมเสียชีวิตสองนาย และสงครามแห่งบะดัรก็เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม. มุสลิมโจมตีด้วยพลกำลังที่แข็งแกร่งจนกองทัพของมักกะฮ์แตก กองทัพกุเรชแตกพ่ายโดยทันใดและส่วนใหญ่ได้หนีทัพระหว่างการสู้รบ เกือบ๗๐คนถูกสังหารและเกือบ๗๐คนถูกจับเป็นเชลย ซึ่งผู้อาวุโสชาวกุเรชหลายคน เช่นอะบูญะล์(โดยมุเอาวัษ บินอุฟรอ) และอุมัยยะฮ์บินคอลัฟ ยังยืนกรานต่อสู้จนถึงนาทีสุดท้ายแต่ก็ถูกสังหารเช่นกัน. ในส่วนของชาวมุสลิมมีเพียง 15 คน (6 ผู้ลี้ภัยและ 8 ชาวอันศอร) ถูกสังหารในระหว่างหรือหลังสงคราม.[18]

 อ้างอิงจากซัยยิดมุฮัมมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ ในตัฟซีรอัลมีซาน จากหนังสืออัลอีรชาด ของเชคมุฟีดว่า ชีอะฮ์และซุนนีมีทัศนะตรงกันว่า กองทัพมักกะฮ์๓๕ คน ถูกสังหารโดยอะลี. นอกจากนี้ยังมีคนอื่นๆ อีกที่มีความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการสังหารพวกเขาโดยอะลี[19]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู