จุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ ของ ยุทธการที่บะดัร

หลังจากที่มวลมุสลิมได้อพพยพไปยังมะดีนะฮ์ ชาวมักกะฮ์จึงเข้ายึดทรัพย์สินที่มุสลิมทิ้งไว้. ในเวลานั้นโองการอัลกุรอานบทอัลฮัจญ์ โองการที่ 39-40 ได้ถูกประทานลงมาโดยกล่าวถึงมุสลิมว่า 39)สำหรับบรรดาผู้ (ที่ถูกโจมตีนั้น) ได้รับอนุญาตให้ต่อสู้ได้ เพราะพวกเขาถูกข่มเหง และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงสามารถที่จะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างแน่นอน 40) บรรดาผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากบ้านเรือนของพวกเขา โดยปราศจากความยุติธรรม นอกจากพวกเขากล่าวว่า “อัลลอฮ์คือพระเจ้าของเราเท่านั้น” และหากว่าอัลลอฮ์ทรงขัดขวางมิให้มนุษย์ต่อสู้ซึ่งกันและกันแล้ว บรรดาหอสวด และโบสถ์ (ของพวกคริสต์) และสถานที่สวด (ของพวกยิว) และมัสญิดทั้งหลายที่พระนามของอัลลอฮ์ ถูกกล่าวรำลึกอย่างมากมาย ต้องถูกทำลายอย่างแน่นอน และแน่นอนอัลลอฮ์ จะทรงช่วยเหลือผู้ที่สนับสนุนศาสนาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริงถือเป็นการอนุญาตในการทำสงคราม. และมุสลิมถือว่านี้คือคำประกาศสงครามจากพระเจ้าแก่ชาวกุเรชที่กราบไหว้เจว็ด. [6]

ในช่วงปีแรกที่มุสลิมอาศัยอยู่ที่เมืองมะดีนะฮ์ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)อนุญาตให้โจมตีที่กองคาราวานของมักกะฮ์. โดยซุฮัยล์ ฮาชิมีย์ ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับข้อพิพาทนี้ เขากล่าวว่า “เกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ มีทัศนะที่แตกต่างกันระหว่างนักประวัติศาสตร์ยุคก่อน และนักบูรพาคดียุคหลัง ตามแบบฉบับของนักเขียน” นักประวัติศาสตร์มุสลิมส่วนใหญ่ในยุคก่อนเชื่อว่า มุฮัมหมัดได้มีนโยบายทางการเมืองใหม่เพื่อต่อต้านชาวมักกะฮ์. การทำสงครามกับชาวมักกะฮ์ก็เพื่อตอบโต้ และเพื่อให้ชดใช้กับสิ่งที่พวกเขาทำไว้กับมุสลิม และตามคำกล่าวของนักบูรพาคดีส่วนมาก กล่าวว่าการโจมตีเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชดเชยความยากจนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาการอพยพของมุสลิมจากมักกะฮ์สู่มะดีนะฮ์. บางท่านกล่าวว่า “การปะทะกันนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในนโยบายการพึ่งพาด้วยการต่อสู้ของท่านศาสดา ซึ่งตรงกับการกำหนดโองการแห่งสงคราม” แต่ Mohamed Hassanein Heikal กล่าวว่า “การปะทะกันนี้ไม่ใช่จุดประสงค์หลักทางทหาร แต่เป็นแค่การโจมตีเล็กๆ ที่มุ่งเป้าเพื่อให้ชาวมักกะฮ์เกิดความอ่อนแอลง และเพื่อแสดงอำนาจใหม่ของมุสลิม และพิสูจน์ถึงความจำเป็นในการสร้างสันติภาพและการประนีประนอมกับชาวมุสลิม”. ในความเห็นของฮาชิมีย์ เขาคิดว่าทั้งสองมุมมองนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานการคาดเดาเท่านั้นเอง. [7][8]และการปฏิบัติการทางทหารก็เพื่อให้มีการยุติการสังหารและทำร้ายมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ในมักกะฮ์ และปิดเส้นทางกองคาราวานของชาวมักกะฮ์ไปยังเมืองชาม(หรืออีกนัยหนึ่งคือ ภัยคุกคามทางเศรษฐกิจต่อมักกะฮ์) เรียกได้ว่าเป็นเป้าหมายหลักของมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ในการปฏิบัติต่อชาวมักกะฮ์.

William Montgomery Watt กล่าวว่า “เนื่องจากผู้อพยพชาวมะดีนะฮ์อยู่ภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจ และไม่มีตำแหน่งงานว่างสำหรับพวกเขา จึงเริ่มการโจมตีกองคาราวานของชาวมักกะฮ์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างทั้งสองขึ้น”. ซึ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดของ Chase F. Robinson เขามีแนวคิดว่า “สาเหตุหลักของความขัดแย้งนั้นเป็นความปรารถนาของมุฮัมหมัด เพื่อสร้างเงื่อนไขในการปฏิบัติศาสนพิธี ณ สถาน “กะอ์บะฮ์” และบนภูเขาต่างๆ ของเมืองมักกะฮ์อีกทั้งนำเสนอความเชื่อของตน”.[9]

ระหว่างการปะทะกันของสงคราม ในเดือนรอญับ(หนึ่งจากเดือนต้องห้าม)ของปี ได้เกิดการสู้รบ(ย่อย)ขึ้นระหว่างชาวมุสลิมกับชาวกุเรช ณ ตำบลนัคละฮ์(ระหว่างเมืองมักกะฮ์ กับเมืองฏออีฟ) ซึ่งทำให้อัมร์ บิน ฮัฏระมีย์(ชาวมักกะฮ์)ถูกฆ่าตาย ชาวกุเรชเลยใช้โอกาสนี้เป็นหนทางในการประกาศสงครามกับมุสลิม. สงครามเลยอุบัติขึ้นในเดือนต้องห้าม ซึ่งตามความเชื่อของชาวอาหรับแล้ว สงครามในเดือนต้องห้ามถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจยิ่ง และเป้าหมายการสงครามในเดือนต้องห้ามของชาวมักกะฮ์ก็เพื่อสร้างความเป็นปรปักษ์ระหว่างชาวมุสลิมและประชากรทั้งหมดของคาบสมุทรอาหรับ[10]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู