หลังจากสงคราม ของ ยุทธการที่บะดัร

ชาวมุสลิมที่เข้าร่วมในสงครามได้รับการขนานนามว่า “บัดรียูน” และถูกมองเป็นผู้ที่เหมาะสมและมีเกียรติยิ่ง.

ทรัพย์สงครามและเชลย

การสังหาร นัฎร์ บินฮาริษ(เชลยศึก)
[20]

สุฮัยล์ , อับบาส (ลุงของมุฮัมหมัด) , อะกีล และนูฟิล (ลูกพี่ลูกน้องมุฮัมหมัด) คือเชลยคนสำคัญ. มุฮัมหมัดมีกิริยาที่นุ่มนวลต่อเชลยทั้งหลาย ซึ่งทั้งหมดจ่ายเงินไถ่ตัวหรือด้วยเหตุผลอื่นๆเพื่อได้รับอิสระ. มูฮัมหมัดได้ห้ามพฤติกรรมรุนแรง (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของชาวอาหรับ) กับเชลย และโดยทั่วไปแล้วนโยบายของเขาคือการปลดปล่อยเชลยด้วยการจ่ายเงิน. แต่ก็ได้สังหารบุคคลที่เป็นอันตรายต่อเมืองมะดีนะฮ์และอิสลาม และเมตตาแก่บุคคลที่เหลือ.[21]

หลังจากสงคราม ชาวมุสลิมเกิดความขัดแย้งในสินสงครามจนโองการหนึ่งจากอัลกุรอานได้ประทานลงมา และมุฮัมหมัดได้กล่าวว่า สินสงครามและเชลยต้องแบ่งให้กับผู้ที่สู้รบในสงครามอย่างเท่าเทียมกัน. บางส่วนจากสินสงครามถูกแบ่งให้กับคนยากจน โดยเฉพาะหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าภายหลังสงคราม.[22]

ในมักกะฮ์

William Montgomery Watt ได้กล่าวว่า “ความพ่ายแพ้ได้สร้างความเสียหายแก่มักกะฮ์อย่างใหญ่หลวง แต่ก็ไม่ถึงกับแร้นแค้น. การสูญเสียบรรดาผู้อาวุโสถือเป็นความเสียหายที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวมักกะฮ์ แต่เป็นไปได้ว่าความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการสูญเสียความน่าเชื่อถือ อำนาจและศักดิ์ศรี”.

บรรดาหัวหน้าเผ่าของมักกะฮ์จำนวน15คนโดยสังหารในสงคราม เช่น อัมร์ บิน ฮิชาม , อัตบะ บิน ระบีอะฮ์ และอุมัยยะ บิน คาลฟ์ ทำให้อะบูซุฟยานกลายเป็นหัวหน้าชาวเมกกะไปโดยปริยาย[23]

ในมะดีนะฮ์

หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้มุฮัมหมัดมีสถานภาพตำแหน่งในมะดีนะฮ์แข็งแกร่งขึ้น โดยอ้างจากคำกล่าวของ William Montgomery Watt ว่า “ความเชื่อมั่นในตนเอง และความน่าเชื่อถือที่ชาวมุสลิมได้รับจากชัยชนะนี้ ปัจจัยหนึ่งคือซึ่งหากขาดพวกเขาแล้วอิสลามจะพบกับความยากลำบากในการมีสถานภาพอย่างปัจจุบัน”.

ในทัศนะของชาวมุสลิม ชัยชนะครั้งนี้เป็นผลมาจากความช่วยเหลือของพระเจ้า. พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าส่งทูตสวรรค์ของพระองค์เพื่อพวกเขา.

จากคำกล่าวของ William Montgomery Watt “โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นแก่ชาวมักกะฮ์ คือการลงโทษที่ถูกทำนายไว้ก่อนหน้าในโองการมักกีย์ และเป็นการทำให้วิวรณ์ของศาสดามูฮัมหมัดเป็นจริง”.[24]

ชัยชนะในสงครามครั้งนี้ทำให้ชาวมะดีนะฮ์มีความพร้อมมากยิ่งขึ้นที่จะเข้าร่วมกองทัพมุสลิม. เป็นไปได้ว่าชนเผ่าต่างๆของมะดีนะฮ์และแถบทะเลแดงพร้อมที่จะรวมตัวกับมุฮัมหมัด เพราะกุเรชไม่กล้าส่งกองคาราวานไปยังซีเรียในหน้าร้อนของปีนั้น.[25]

ความขัดแย้งต่างๆที่ตามมา

หลังจากสิ้นสงครามบะดัร ก็ได้เกิดสงครามอุฮุดขึ้น และมุสลิมได้ปราชัยให้แก่มักกะฮ์. อะบูซุฟยานได้พิจารณาสงครามนี้มากกว่าสงครามบะดัร โดยได้ให้สัญญากับมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ถึงการทำสงครามในปีถัดมา ณ ตลาดบะดัรศุฟรอฮ์. มุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) และสาวกได้มาตามที่ประกาศสงครามไว้ แต่อะบูซุฟยานได้เกิดความสับสนขณะเดินทางและได้กลับไป.

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่วอเตอร์ลู