ระบบรถไฟฟ้า ของ รถไฟฟ้าบีทีเอส

กล่องระบบอาณัติสัญญาณบอมบาร์ดิเอร์ ที่สถานีสยามชั้นชานชาลาบน

ระบบอาณัติสัญญาณ

ในปัจจุบัน รถไฟฟ้าบีทีเอสใช้ระบบอาณัติสัญญาณ รูปแบบบล็อกรถไฟแบบเคลื่อนไหวตามเวลาจริง Moving Block Communication based train control (CBTC) [60] โดยที่ระบบนี้ จะเป็นการแสดงผลรถไฟฟ้าแบบสถานะปัจจุบัน ซึ่งระบบจะทำการเว้นระยะห่างระหว่างขบวนรถของ ตามความเร็วของขบวนรถทั้งสองในขณะนั้น โดยจะใช้สัญญาณไวไฟ เพื่อที่จะควบคุมขบวนรถจากห้องควบคุม (Line Controller) ใช้คอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกับแบลิส โดยระบบนี้ จะใช้ของยี่ห้อบอมบาร์ดิเอร์ รุ่น Cityflo 450[61] จากเดิม ก่อนการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณในสายสุขุมวิทหลัก (Main Line) พ.ศ. 2552 และสายสีลมทั้งระบบในพ.ศ. 2553 จะใช้งานระบบอาณัติสัญญาณยี่ห้อซีเมนส์ รุ่น LZB 700M [62]

ปัจจุบัน ระบบอาณัติสัญญาณ Siemens LZB-700M ยังคงถูกใช้บริเวณทางเข้าออก และภายในศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต การที่รถไฟฟ้าบีทีเอสเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ ทำให้พนักงานควบคุมขบวนรถ (TC) มีหน้าที่ควบคุมการเดินรถ โดยหากพนักงานควบคุมขบวนรถ (TC) ได้ทำการปิดประตูและตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว เจ้าหน้าที่ควบคุมขบวนรถ จะสั่งให้ขบวนรถออกเดินรถไปยังสถานีถัดไป โดยใช้ปุ่ม Automatic Train Operator (ATO) [63]เพื่อที่รถไฟฟ้าจะทำการเดินรถ และจะหยุดเมื่อถึงสถานีถัดไป [64]

จอแสดงผล LED-DRM (รุ่นที่2) บนขบวนรถ EMU-B1 หมายเลข 36
จอแสดงผล LCD-DRM บนขบวนรถ EMU-A2 หมายเลข 59
จอแสดงผล LCD-DRM บนขบวนรถ EMU-B3 หมายเลข 79

ภายในขบวนรถ

ภายในขบวนรถทุกขบวน จะมีการติดตั้งระบบประกาศภายในขบวนรถ In-Train Passengers Announcement เพื่อที่จะแจ้งสถานะขบวนรถ และแจ้งเตือนความปลอดภัย หรือข้อควรปฏิบัติกับผู้โดยสาร ในขบวนรถไฟฟ้าทุกรุ่น ยกเว้น ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-A1) Dynamic Route Map ติดตั้งอยู่บริเวณทุกประตู โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

จอแสดงผลแบบ LED-DRM ภายในขบวนรถ (LED รุ่นที่ 2) จะติดตั้งอยู่ในขบวนรถรุ่น [65]
  • ซีเอ็นอาร์ฉางชุน ซีรีส์ 1
  • ซีเอ็นอาร์ฉางชุน ซีรีส์ 2
จอแสดงผลแบบ LCD-DRM ภายในขบวนรถ จะติดตั้งอยู่ในขบวนรถรุ่น [66]
  • ซีเมนส์ ซีรีส์ 2
  • ซีอาร์อาร์ซีฉางชุน ซีรีส์ 3

ระบบบัตรโดยสาร

เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารเที่ยวเดียวรุ่นใหม่ (Ticket Issuing Machine รุ่นที่ 2 หรือ BTS-TIM2) ที่สถานีสยาม

บัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นบัตรที่ใช้เทคโนโลยีของบัตรสมาร์ตการ์ดแบบไม่มีการสัมผัสที่ติดตั้งไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID)

ในการออกบัตรโดยสารเที่ยวเดียว ผู้โดยสารสามารถออกบัตรโดยสาร ได้ผ่านเครื่องออกบัตรโดยสารอัตโนมัติ (Ticket Issuing Machine หรือ Ticket Vending Machine) หรือสามารถออกได้ผ่านเคาน์เตอรืออกบัตรโดยสาร บริเวณทางเข้าทุกสถานี โดยพนักงานออกบัตรโดยสาร จะนำบัตรโดยสารเที่ยวเดียว มาเข้าเครื่องวิเคราะห์/ออกตั๋ว (Analyzer/Dispenser) [67]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้าบีทีเอส http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/805724 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/810348 http://www.bangkokmasstransit.com/ http://bmta.bloggoo.com http://www.bmamasstransit.com/ http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=50... http://www.hitachi-rail.com/products/signalling/at... http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html http://www.ladynaka.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B...