ส่วนต่อขยาย ของ รถไฟฟ้าบีทีเอส

สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชานชาลาที่ 1 ไปคูคต

สายสุขุมวิท

ส่วนต่อขยายฝั่งเหนือ

ในเส้นทางช่วงหมอชิตสะพานใหม่คูคต มีระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร โดยมี 16 สถานี เริ่มก่อสร้างในเดือน มิถุนายน 2558 หลังจากที่ครม. อนุมัติให้ก่อสร้างเส้นทางเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556[16] สถานีห้าแยกลาดพร้าวเป็นสถานีแรก ที่เปิดให้บริการในช่วงเขียวเหนือ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562[17] ตามด้วยสถานีสถานีพหลโยธิน 24ถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 [18]โดยตั้งแต่สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นต้นไป จะประกอบไปด้วยสถานีกรมป่าไม้ ถึงสถานีคูคต ก็จะแบ่งการเปิดให้บริการออกเป็นสองช่วง ได้แก่ ช่วงกรมป่าไม้กรมทหารราบที่ 11 [19] มีกำหนดเปิดให้บริการก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 และช่วงวัดพระศรีมหาธาตุคูคต ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการก่อนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 [20]

ส่วนต่อขยายฝั่งตะวันออก

ในเส้นทางส่วนต่อขยายฝั่งตะวันออก จะอยู่ระหว่างช่วงอ่อนนุช ไปจนถึง สถานีบางปู โดยตั้งแต่สถานี สถานีอ่อนนุชสถานีแบริ่ง ได้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และในช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะแบ่งการเปิดให้ให้บริการออกเป็น2 ช่วง ได้แก่ ช่วงสถานีแบริ่งสำโรง ซึ่งเปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560 และ ช่วงสถานีปู่เจ้าเคหะฯซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ส่วนในช่วงเคหะฯบางปู ปัจจุบัน ยังคงเป็นเพียงแค่โครงการ ยังไม่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้

สายสีลม

ส่วนต่อขยายฝั่งตะวันตก

ส่วนต่อขยายตะวันตกช่วงสนามกีฬาแห่งชาติยศเส ปัจจุบันยังเป็นเพียงโครงการรถไฟฟ้า [21]

ส่วนต่อขยายฝั่งใต้

สถานีส่วนต่อขยายฝั่งใต้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของประเทศไทย ประกอบด้วย 2 สถานี คือ สถานีกรุงธนบุรี และ สถานีวงเวียนใหญ่ [22] และช่วง ตากสิน-บางหว้าซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่วงเวียนใหญ่-โพธิ์นิมิตร ที่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 [23] ระยะโพธิ์นิมิตร-ตลาดพลู ที่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 [24] และระยะวุฒากาศ-บางหว้า เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556 [25] ในส่วนต่อขยายช่วงสถานีบางหว้าสถานีตลิ่งชัน ปัจจุบันยังเป็นเพียงแค่โครงการ [26]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้าบีทีเอส http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/805724 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/810348 http://www.bangkokmasstransit.com/ http://bmta.bloggoo.com http://www.bmamasstransit.com/ http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=50... http://www.hitachi-rail.com/products/signalling/at... http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html http://www.ladynaka.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B...