ข้อมูลทางเทคนิค ของ รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ระบบปฏิบัติการเดินรถ

ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทุกสาย ใช้ระบบการเดินรถแบบอัตโนมัติซึ่งถูกควบคุมจากศูนย์ควบคุมกลางที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับศูนย์ซ่อมบำรุงของแต่ละโครงการ ระบบการเดินรถของแต่ละสายจะถูกดำเนินการแยกจากกันโดยไม่มีการรบกวนกันระหว่างสาย ยกเว้น รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่ใช้ระบบควบคุมทั้งสองสายจากศูนย์ควบคุมกลางแห่งเดียวกัน เนื่องจากทั้งสองสายใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกัน และมีการติดตั้งรางหลีกในบางช่วงของเส้นทาง ทำให้สามารถป้อนหรือถอนขบวนรถระหว่างสายออกจากระบบได้

ระบบปฏิบัติการเดินรถในปัจจุบันถูกแยกออกเป็นสามประเภทหลักตามจุดประสงค์ในการใช้งาน โดยระบบที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ระบบควบคุมรถไฟมาตรฐานยุโรป (European Train Control System หรือ ETCS) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานกลางที่ใช้กันภายในสหภาพยุโรป และในหลาย ๆ ประเทศ ด้วยความสามารถในการรองรับระบบรถไฟจากทุกผู้ผลิตในโลก และระบบควบคุมคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพและพร้อมรองรับการขยายโครงข่ายได้อย่างสมบูรณ์

ปัจจุบันระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้มีการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้าดังต่อไปนี้

เส้นทางผู้พัฒนาโซลูชันรูปแบบ [atpnote 1]ปีที่ติดตั้งระดับการควบคุม[atpnote 2]หมายเหตุ
 สายสุขุมวิท บอมบาร์ดิเอร์
เดิม ซีเมนส์
Cityflo 450Moving Block CBTCพ.ศ. 2554STOเปลี่ยนทั้งระบบจากระบบเดิมเมื่อ พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2554 เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยาย และขบวนรถรุ่นใหม่ [atpnote 3]
 สายสีลม พ.ศ. 2552
 สายเฉลิมรัชมงคล ซีเมนส์Trainguard LZB 700MFixed Blockพ.ศ. 2562STOติดตั้งเพิ่มในเส้นทางส่วนต่อขยาย และรื้อติดตั้งใหม่ทั้งหมดในเส้นทางเดิม
 สายเชื่อมท่าอากาศยาน ซีเมนส์Trainguard LZB700MFixed Block-Speed Coded

ETCS Level 2

พ.ศ. 2552STO
 สายฉลองรัชธรรม บอมบาร์ดิเอร์Cityflo 650Moving Block CBTCพ.ศ. 2559STO
 สายสีแดงอ่อน ทาเลสAlTrac for ERTMSFixed ETCS Level 1พ.ศ. 2562STO
 สายสีแดงเข้ม 
 สายสีเหลือง บอมบาร์ดิเอร์Cityflo 650Moving Block CBTCพ.ศ. 2563DTO
 สายสีชมพู บอมบาร์ดิเอร์Cityflo 650Moving Block CBTCพ.ศ. 2563DTO
 สายสีทอง บอมบาร์ดิเอร์Cityflo 650Moving Block CBTCพ.ศ. 2563DTO
หมายเหตุ
  1. Fixed Block = Conventional Fixed Block using Line of Sight. Fixed Block-Speed Coded = Fixed Block using Coded Track Circuits. DTG-TC = Fixed Block-Distance to Go using Track Circuits. DTG-R = Fixed-Block-Distance-to-Go using Radio. Moving Block TBTC = Moving Block using Induction Loops. Moving Block CBTC = Moving Block using Radio. ETCS = European Train Control System.
  2. UTO = ระบบควบคุมแบบใช้คนควบคุม. DTO = ระบบควบคุมอัตโนมัติ. STO = ระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ
  3. บีทีเอสซี ได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบเพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ จำนวนสองสถานี และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง จำนวนสี่สถานี รองรับขบวนรถรุ่นซีเอ็นอาร์ บอมบาร์ดิเอร์ ที่จะเข้ามาให้บริการ ใน พ.ศ. 2553-2554 และลดระยะความถี่ลงเหลือ 1-2 นาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยเริ่มเปลี่ยนในเส้นทางสายสีลมและสายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-สยาม เมื่อ พ.ศ. 2552 และ สายสุขุมวิท ช่วงสยาม-อ่อนนุช เมื่อ พ.ศ. 2554 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยาย กรุงเทพธนาคม เป็นผู้ดำเนินการติดตั้งระบบเอง

ระบบรถไฟฟ้า

เส้นทางรุ่นผู้ผลิตผลิตในปีที่นำเข้าครั้งแรกปีที่นำเข้าครั้งล่าสุดจำนวน (ขบวน / ตู้ต่อขบวน)ภาพ
 สายสุขุมวิท  และ  สายสีลม ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทรซีเมนส์ ออสเตรีย
 เยอรมนี
พ.ศ. 2542พ.ศ. 255535 / 4
ซีเมนส์ อินสไปโร ตุรกี
 ออสเตรีย
พ.ศ. 2561พ.ศ. 256222 / 4
ซีเอ็นอาร์ ฉางชุน อีเอ็มยูไทป์บีซีอาร์อาร์ซี จีนพ.ศ. 2553พ.ศ. 255617 / 4
ซีอาร์อาร์ซี ฉางฉุน อีเอ็มยูไทป์บีพ.ศ. 2562[22]-24 / 4
 สายเฉลิมรัชมงคล ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทรซีเมนส์ เยอรมนีพ.ศ. 254719 / 3
ซีเมนส์ อินสไปโร ตุรกี
 ออสเตรีย
พ.ศ. 2562[23]-35 / 3
 สายเชื่อมท่าอากาศยาน ซีเมนส์ เดซิโร คลาส 360/2ซีเมนส์ เยอรมนีพ.ศ. 2550-5 / 3
4 / 4
 สายฉลองรัชธรรม เจเทรค ซัสติน่า เอส24อีเอ็มยูมารูเบนิ/โตชิบา ญี่ปุ่นพ.ศ. 2558[24]21 / 3
 สายสีแดงเข้ม  และ  สายสีแดงอ่อน ฮิตาชิ เอที 100 เมโทรฮิตาชิ ญี่ปุ่นพ.ศ. 2562[25]15 / 6 (Series 1000)
10 / 4 (Series 2000)
 สายสีชมพู บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300บอมบาร์ดิเอร์ จีนพ.ศ. 2563-พ.ศ. 2564-42 / 4
 สายสีเหลือง 30 / 4
 สายสีทอง บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300พ.ศ. 2563-3 / 2
 สายสีส้ม ยังไม่เปิดเผยยังไม่เปิดเผยยังไม่เปิดเผยพ.ศ. 2566

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล http://www.posttoday.com/biz/gov/505199 http://www.ryt9.com/s/iq05/2689993 http://www.thansettakij.com/2016/05/17/52501 http://www.thansettakij.com/content/207876?ts http://www.bangkokmetro.co.th/ http://www.bts.co.th/customer/th/main.aspx http://www.moneychannel.co.th/news_detail/22927/%E... http://www.srtet.co.th/index.php/th/news-activity/... http://www.srtet.co.th/th/ http://www.thairath.co.th/content/534260