การก่อตั้งราชวงศ์ ของ ราชวงศ์ปาห์ลาวี

ประวัติศาสตร์อิหร่านแผ่นดินใหญ่
กษัตริย์แห่งเปอร์เชีย
ก่อนยุคใหม่
ก่อน อิสลาม
ก่อนคริสต์ศักราช
ก่อนประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมก่อนเอลาไมท์3200–2800
จักรวรรดิเอลาไมท์2800–550
แหล่งโบราณคดีบัคเตรีย-มาร์เกียนา2200–1700
ราชอาณาจักรมานไนศตวรรษที่ 10-7
จักรวรรดิมีเดีย728–550
จักรวรรดิอคีเมนียะห์550–330
จักรวรรดิซิลูซิด330–150
ราชอาณาจักรกรีก-บัคเตรีย250-125
จักรวรรดิพาร์เธีย248–ค.ศ.  224
หลังคริสต์ศักราช
จักรวรรดิกุษาณะ30–275
จักรวรรดิซาสซานิยะห์224–651
จักรวรรดิเฮพธาไลท์425–557
เฮพธาไลท์-กุษาณะ565–670
หลัง อิสลาม
อาณาจักรกาหลิป637–651
จักรวรรดิอุมัยยะฮ์661–750
จักรวรรดิอับบาซียะฮ์750–1258
จักรวรรดิทาฮิริยะห์821–873
ราชวงศ์อาลาวิยะห์864–928
จักรวรรดิซาฟาริยะห์861–1003
จักรวรรดิซามานิยะห์819–999
จักรวรรดิไซยาริยะห์928–1043
จักรวรรดิไบอิยะห์934–1055
จักรวรรดิกาสนาวิยะห์975–1187
จักรวรรดิกอร์1149–1212
จักรวรรดิเซลจุค1037–1194
จักรวรรดิควาเรซเมีย1077–1231
ราชวงศ์คาร์ติยะห์1231-1389
จักรวรรดิอิลค์1256–1353
ราชวงศ์มุซาฟฟาริยะห์1314–1393
ราชวงศ์จุพานิยะห์1337–1357
ราชวงศ์จาไลยิริยะห์1339–1432
จักรวรรดิติมูริยะห์1370–1506
คารา โคยันลู เตอร์โคมันส์1407–1468
อัค โคยันลู เตอร์โคมันส์1378–1508
จักรวรรดิซาฟาวิยะห์1501–1722*
จักรวรรดิโมกุล1526–1857
ราชวงศ์โฮทาคิ1722–1729
จักรวรรดิอาฟชาริยะห์1736–1750
* หรือ 1736
ยุคใหม่

ในปี ค.ศ. 1921 พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นนายทหารในกองทัพเปอร์เซีย ได้ใช้กองทหารของเขาในการสนับสนุนการรัฐประหารราชวงศ์กอญัร ภายในช่วงระยะเวลาสี่ปี เขาได้กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจที่สุดในประเทศด้วยการปราบปรามการก่อจลาจลและจัดระเบียบเสียใหม่ ในปี ค.ศ. 1925 ในที่ประชุมสามัญได้มีมติให้ถอดถอนพระเจ้าชาห์ อะหมัด กอญัร และตั้งเรซ่า ข่าน (พระนามเดิม) ขึ้นเป็นพระเจ้าชาห์องค์ใหม่ โดยใช้พระนามสำหรับราชวงศ์ว่า ปาห์ลาวี

พระเข้าชาห์ทรงมีความตั้งใจที่จะพัฒนาอิหร่านให้เป็นประเทศที่ทันสมัยแบบประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยทรงวางแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ สร้างระบบทางรถไฟ ริเริ่มระบบการศึกษา ปฏิรูประบบศาล และปรับปรุงระบบการแพทย์ ทรงเชื่อว่า ถ้าหากรวมอำนาจในการปกครองประเทศเข้าสู่ศูนย์กลาง และดำเนินการโดยบุคคลที่มีการศึกษา จะทำให้แผนการที่วางไว้สำเร็จได้

พระเจ้าชาห์ได้ส่งชาวปอร์เซียนหลายร้อยคนรวมถึงพระราชโอรสไปรับการศึกษาและการฝึกฝนในยุโรป ในช่วงปีค.ศ. 1925 - 1941โครงการในพระราชดำริได้ทำให้อิหร่านพัฒนาขึ้นเป็นอันมาก ระบบการศึกษาดำเนินการอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นในสังคม คือชนชั้นกลางและชนชั้นกรรมาชีพ

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 การปกครองแบบเผด็จการของพระเจ้าชาห์ได้ทำให้คนบางกลุ่มไม่พอใจ (โดยเฉพาะพวกอิมาม) ในปีค.ศ. 1935 ได้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกร้องให้ชาวต่างชาติเรียกประเทศของพระองค์ว่า "อิหร่าน" (ในขณะนั้น ชาวต่างชาตินิยมใช้คำว่า "เปอร์เซีย" มากกว่า) แต่ก็มีนักวิชาการออกมาต่อต้าน มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา (พระอิสริยยศในขณะนั้น) จึงได้ออกมาประกาศว่า ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้

พระเจ้าชาห์ เรซ่าทรงพยายามที่จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งอังกฤษและโซเวียต แม้ว่าโครงการพัฒนาประเทศหลายโครงการจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติก็ตาม ทรงหลีกเลี่ยงที่จะทำสัญญากับบริษัทจากทั้งสองประเทศ แม้ว่าบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ควบคุมแหล่งน้ำมันของประเทศทั้งหมด จะเป็นบริษัทของอังกฤษก็ตาม แต่ก็ทรงเลือกที่จะขอความช่วยเหลือทางเทคนิคจากเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปแทน การตัดสินใจของพระองค์เช่นนี้สร้างปัญหาในเวลาต่อมา เมื่อเยอรมนีและอังกฤษประกาศสงครามกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าจะทรงประกาศว่าอิหร่านเป็นประเทศที่เป็นกลาง แต่อังกฤษก็อ้างว่าวิศวกรและช่างเทคนิคชาวเยอรมันเป็นสายลับ และพยายามจะบ่อนทำลายเครื่องไม้เครื่องมือของอังกฤษในบ่อน้ำมันทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน อังกฤษได้เรียกร้องให้อิหร่านเนรเทศพลเมืองชาวเยอรมันทั้งหมดออกนอกประเทศ แต่พระเจ้าชาห์ เรซาทรงปฏิเสธ โดยทรงอ้างว่าการเนรเทศชาวเยอรมันเหล่านั้นออกนอกประเทศจะทำให้โครงการน้ำมันของอิหร่านต้องหยุดชะงัก