นักปรัชญาขงจื๊อสมัยใหม่รุ่นแรก ของ ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่

สยฺงฉือลี่

สยฺงฉือลี่ (1885–1968) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคิดแห่งยุคศตวรรษที่ 20 ที่วางรากฐานสำหรับการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อให้เป็นลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่[1] พื้นฐานของลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ส่วนใหญ่มาจากหลักคำสอนใหม่ของสยฺงฉือลี่ ความเชี่ยวชาญด้านผลงานคลาสสิกของพุทธศาสนา สยฺงฉือลี่แย้งว่าผลงานคลาสสิกของปรัชญาตะวันออกจะต้องบูรณาการกับปรัชญาจีนร่วมสมัยเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ส ยฺงฉือลี่ยอมรับมุมมองของพุทธศาสนาในด้านมืดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ แต่ก็ยอมรับว่ามีด้านที่สว่างกว่าต่อธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงปฏิเสธการเรียนรู้ของชาวพุทธเกี่ยวกับ "การลดลงทุกวัน" ซึ่งบอกว่าการฝึกฝนเพื่อระงับธรรมชาติที่มืดมนของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เขามาได้ข้อสรุปหลังจากที่ได้ตรวจสอบงานคลาสสิกของขงจื๊อ ในขณะที่ลัทธิขงจื๊อยังตรวจสอบแง่มุมด้านลบของธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้นความจำเป็นที่จะทำให้ตัวเองมีความเคยชินกับพิธีกรรม จุดประสงค์ของการฝึกฝนพิธีกรรมและการบรรลุเป้าหมายของ เหริน (仁) ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การจำกัดแง่มุมด้านที่มืดกว่าของธรรมชาติมนุษย์ แต่เป็นการพัฒนา "ความดีดั้งเดิม" ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่เมิ่งจื่อได้บันทึกเอาไว้ [5]

เพื่อที่จะรวมพุทธศาสนาเข้ากับลัทธิขงจื๊อในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาจีนร่วมสมัยของเขาซึ่งครอบคลุมถึงปรัชญาตะวันออกหลายประการ สยฺงฉือลี่ ได้เสนอการแก้ไขการเรียนรู้พุทธศาสนาของการลดลงทุกวัน สยฺง เข้าใจพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลัง "การลดลงทุกวัน" เพื่อเป็นความเชื่อทางอภิปรัชญาแบบพุทธศาสนาในเรื่อง "การแยกเชื่อมโยงระหว่างความเป็นจริงสัมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (Dharma-nature หรือ ธรรมชาติของธรรมะ) กับโลกแห่งปรากฏการณ์ที่มีเงื่อนไขและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Dharma-characters หรือ ลักษณะของธรรมะ) (Xiong, 1994, pp. 69-77, 84-5, 111-12) อวี๋จี้หยวน ได้ตรวจสอบแนวคิดของสยฺงฉือลี่แล้วอธิบายว่าเป็น "ทฤษฎีการแยก" (Separation theory) ในขณะเดียวกันทฤษฎีของสยฺงฉือลี่ ที่อยู่เบื้องหลังการแก้ไข "การลดลงรายวัน" ได้อาศัยสิ่งที่อวี๋ อธิบายว่าเป็น "วิทยานิพนธ์เรื่องความเหมือนกัน" (Sameness Thesis) ในหลักคำสอนใหม่ของสยฺงนี้เรียก ว่า ธรรมชาติของธรรมะ (Dharma-nature) และ รูปลักษณ์ของธรรมะ (Dharma-characters) สยฺงโต้แย้งว่าไม่เหมือนกับศาสนาพุทธที่รับรู้ว่าโลกทั้งสองโลกมีความเป็นเอกภาพ เหตุผลของสยฺงได้แสดงในคำสอนใหม่ ฉบับปี 1985 ว่า:


หากความเป็นจริงดั้งเดิมและหน้าที่แยกออกจากกัน หน้าที่จะแตกต่างจากความเป็นจริงดั้งเดิมและดำรงอยู่อย่างอิสระ หน้าที่จะมีความเป็นจริงดั้งเดิมในตัวมันเอง เราไม่ควรแสวงหาเอกลักษณ์ที่นอกเหนือจากชื่อและหน้าที่ซึ่งเป็นความจริงดั้งเดิม นอกจากนี้ ถ้าความเป็นจริงดั้งเดิมดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากหน้าที่ ก็จะกลายเป็นความจริงที่ไร้ประโยชน์ ในกรณีนี้ ถ้าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คงที่ ก็ต้องกลายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ความคิดที่หลั่งไหลออกมา ข้าพเจ้าเชื่อว่าความจริงดั้งเดิมและหน้าที่ดำรงอยู่อย่างไม่แยกออกจากกัน (Xiong, 1985, p. 434)

มุมมองของเขาเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพนี้สามารถเห็นได้จากผลงานของเขาก่อนหน้านี้ เช่น ตำราใหม่เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของจิตสำนึก ในบทความใหม่เขาโต้แย้งว่าความจริงมีความหมายเท่ากับจิต จิตนี้ไม่ได้หมายถึงจิตของปัจเจกบุคคล แต่หมายถึงจิตสากลซึ่งแสดงความเป็นสากลในสรรพสิ่งทั้งหมดซึ่งเป็นการดำรงอยู๋อย่างแท้จริง สยฺงฉือลี่ ได้นำแนวคิดของขงจื๊อและพุทธมาอธิบายเรื่องการควบคุมความปรารถนาของตนเอง โดยโต้แย้งว่ามีความล้มเหลวในการควบคุมความปรารถนาและจิตของปัจเจกบุคคล ซึ่งถือว่าเป็น "การทับถมของวัตถุที่ตายไปแล้ว" สยฺงฉือลี่มองว่าเราควรรับรู้วัตถุของโลกทางกายภาพ เนื่องจากสิ่งภายนอกเป็นทางผ่านให้เรารับรู้ถึงโลกภายใน ซึ่งเป็นที่ที่จิตและความเป็นจริงเป็นหนึ่งเดียวกัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลัทธิขงจื๊อสมัยใหม่ http://www.atimes.com/atimes/China/HJ11Ad01.html //www.worldcat.org/issn/1996-4617 https://books.google.com/books?id=GXb7xA1VoMMC https://books.google.com/books?id=bcRqAAAAQBAJ https://www.nytimes.com/2006/09/14/opinion/14iht-e... https://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/arti... https://www.academia.edu/5282393/Modern_Confuciani... https://www.koreatimes.co.kr/www/news/opinon/2014/... https://books.google.co.uk/books?id=TflW14YLLxUC