อาณาเขตที่ตั้งวัด ของ วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภาได้รับอนุญาตให้สร้างวัดในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2313[40] ไม่มีหลักฐานระบุว่ามีพื้นที่วัดเท่าใด สันนิษฐานว่าพื้นที่ตั้งวัดเก่าอยู่ติดริมแม่น้ำน่าเก่า ปัจจุบันตัววัดที่จำพรรษาของพระสงฆ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ดอน ห่างจากริมแม่น้ำน่านเก่าประมาณ 20 เมตร

เขตติจีวราวิปวาส

ภาพถ่ายดาวเทียมวัดคุ้งตะเภา แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ตั้งของวัดคุ้งตะเภาดังนี้
เขตวิสุงคามสีมา: แสดงในกรอบสี่เหลี่ยมระบายสีเทา (กลางเขตติจีวราวิปวาส)
เขตติจีวราวิปวาส: แสดงในกรอบเส้นสีเหลือง
เขตที่ตั้งวัดนอกเขตติจีวราวิปวาส: แสดงในกรอบสีขาว
เขตฌาปนสถาน: แสดงในกรอบเส้นสีน้ำเงิน
เขตที่ธรณีสงฆ์: แสดงในกรอบเส้นสีแดง
เขตที่ดินที่ได้รับถวายที่ไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์: แสดงในกรอบภายในเส้นสีแดงนอกเขตกรอบเส้นสีน้ำเงิน

ปัจจุบันตัววัดตั้งอยู่บนพื้นที่ดอน ห่างจากริมแม่น้ำน่านเก่าประมาณ 20 เมตร มีอาณาเขตสมมุติติจีวราวิปวาส หรือเขตที่ตั้งภายในกำแพงวัด เนื้อที่ 10 ไร่เศษ เมื่อรวมกับพื้นที่อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตั้งวัดด้านศาลาหลังเก่านอกกำแพงทางทิศเหนือลงไปพื้นที่ท้องแม่น้ำน่านโบราณ จะมีพื้นที่กรรมสิทธิ์รวม 14 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา เป็นพื้นที่หลักของวัด สำหรับพระสงฆ์สามเณรจำพรรษาและเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมและกิจกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์และชาวบ้าน

เขตติจีวราวิปวาสวัดคุ้งตะเภา มีอุโบสถเป็นจุดศูนย์กลาง มีพื้นที่ติดต่อกับที่ดินข้างเคียง ดังต่อไปนี้

  1. ทิศเหนือ จดกับที่ดินมีกรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน (เดิมติดแม่น้ำน่านเก่า) มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต
  2. ทิศใต้ จดกับที่ดินมีกรรมสิทธิ์ของชาวบ้าน มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต
  3. ทิศตะวันออก จดกับทางสาธารณประโยชน์ มีกำแพงวัดกั้นเป็นเขต
  4. ทิศตะวันตก จดแม่น้ำน่าน ตรงข้ามค่ายพิชัยดาบหัก มทบ.๓๕

เขตวิสุงคามสีมา

วัดคุ้งตะเภาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา หรือพื้นที่ตั้งสำหรับทำอุโบสถสังฆกรรม เมื่อวันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2490[41] เนื้อที่กว้าง 10 เมตร ยาว 29 เมตร มีเนื้อที่กว้าง 10 เมตร ยาว 29 เมตร ตั้งอยู่ภายในเขตติจีวราวิปวาสของวัด

อาคารส่วนฌาปนสถานบนพื้นที่ตั้งธรณีสงฆ์วัดคุ้งตะเภา

ตัวอาคารที่ตั้งบนวิสุงคามสีมาหรืออุโบสถนั้น เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2492 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2498 โดยอาคารอุโบสถนี้เป็นอาคารปูนหลังแรกของหมู่บ้านคุ้งตะเภา ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปประธานมีนามว่า "พระพุทธสุวรรณเภตรา" ผู้ดำริให้จัดสร้างคือ พระครูธรรมกิจจาภิบาล (กลม สุวณฺโณ) อธิบดีสงฆ์วัดดอยท่าเสา และเกจิอาจารย์รูปสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น

อุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะใหญ่ใน ปี พ.ศ. 2537 โดยดำริของพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน) โดยทำการบูรณะเสร็จในปี 2539 ใช้เงินบูรณะจำนวน 1.6 ล้านบาท

ที่ธรณีสงฆ์

วัดคุ้งตะเภามีที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิ์จำนวน 2 แปลง ธรณีสงฆ์แปลงที่หนึ่ง มีเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 58 ตารางวา (โฉนดที่ดิน เลขที่ 5014 เล่ม 51 หน้า 14) และที่ธรณีสงฆ์แปลงที่สอง มีเนื้อที่ - ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา (โฉนดที่ดิน เลขที่ 76233 เล่ม 763 หน้า 33) ที่ธรณีสงฆ์ทั้งสองแปลง ตั้งอยู่ห่างจากตัววัดคุ้งตะเภาประมาณ 100 เมตรไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ธรณีสงฆ์นี้ เดิมเป็นพื้นที่สุสานของหมู่คุ้งตะเภาที่มีการกันเขตแน่นอน ต่อมาในประมาณปี พ.ศ. 2510 ชาวบ้านจึงได้ยกที่ธรณีสงฆ์นี้เป็นพื้นที่ฌาปนสถานวัดคุ้งตะเภา สำหรับใช้ประโยชน์หลักในการตั้งเมรุและศาลาธรรมสังเวช ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2539 มีการแบ่งพื้นที่ด้านติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สำหรับตั้งร้านค้าชุมชน ธนาคารหมู่บ้าน ที่ธรณีสงฆ์วัดคุ้งตะเภา ปัจจุบันตั้งอยู่ติด ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ขาขึ้น มีซุ้มประตูวัดคุ้งตะเภาเป็นจุดสังเกต

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัดคุ้งตะเภา http://maps.google.com/maps?ll=17.653441,100.14012... http://www.lokwannee.com/web2013/?p=179247 http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=17.6534... http://www.scribd.com/doc/36406495/ http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=17.653441&long=100.... http://www.mahathera.org/detail.php?module=news&id... http://www.wikimapia.org/maps?ll=17.653441,100.140... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.dailynews.co.th/education/351637