จิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์จากศาสนาพุทธ ของ ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา

ศาสนาพุทธเกิดขึ้นกว่า 2,000 ปีก่อนสาขาจิตวิทยา ดังนั้น การตรวจสอบศาสนาพุทธจากมุมมองทางจิตวิทยาจึงเป็นเรื่องสร้างขึ้นในปัจจุบัน[lower-alpha 1]ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษเริ่มแปลคัมภีร์พระอภิธรรมของพุทธเถรวาทจากคัมภีร์บาลีและคัมภีร์สันสกฤตส่วนผู้นำพุทธวัชรยาน เช่น Chogyam Trungpa และองค์ทะไลลามะที่ 14 ได้ทำงานระยะยาวเพื่อเปรียบเทียบเรื่องทางจิตจากคัมภีร์อภิธรรมกับวิทยาศาสตร์อิงหลักฐานของชาวตะวันตก

ภาพรวมของพระอภิธรรม

คำสอนของพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในคัมภีร์ที่แบ่งออกเป็น 3 ภาคคือพระไตรปิฎก โดยปิฎกที่สามเป็นพระอภิธรรม พระภิกษุโพธิ (Jeffrey Block) ภิกษุเถรวาทสายศรีลังกาชาวอเมริกันผู้เป็นประธานของ Buddhist Publication Society (สมาคมสิ่งตีพิมพ์พุทธ) ให้ภาพรวมของพระอภิธรรมดังต่อไปนี้ คือ

ส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎกที่บันทึกเป็นอักษรไทยบนแผ่นใบลาน

ระบบที่คัมภีร์พระอภิธรรมแสดงอย่างชัดเจนเป็นทั้งปรัชญา จิตวิทยา และจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน ทั้งหมดประสานเป็นโครงสร้างทางดำเนินเพื่อความหลุดพ้น(แต่)ความพยายามเข้าใจธรรมชาติของความจริงที่คัมภีร์แสดง โดยตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิกของโลกตะวันตก ไม่ได้เริ่มจากมุมมองของผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง ๆ ผู้กำลังมองโลกภายนอกจุดประสงค์หลักของพระอภิธรรมก็เพื่อจะเข้าใจธรรมชาติของประสบการณ์ และดังนั้นความจริงที่สนใจก็คือความจริงที่รับรู้เพราะเหตุนี้ ส่วนที่เป็นปรัชญาของพระอภิธรรมจึงน้อมไปทางจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ (phenomenological psychology)เพื่ออำนวยความเข้าใจของความจริงที่ประสบคัมภีร์จึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์จิตอย่างละเอียดพิสดาร เป็นจิตดังที่ปรากฏเมื่อพินิจพิจารณาภายในคัมภีร์จัดจิตออกเป็นหลายชนิด กำหนดองค์ประกอบและหน้าที่ของแต่ละอย่าง สัมพันธ์ทั้งหมดนั้นกับอารมณ์ของจิต (สิ่งที่จิตรู้) และรูปที่เป็นฐานของจิต และแสดงการเชื่อมต่อกันของจิตประเภทต่าง ๆ กับทั้งจิตด้วยกันเองและกับรูป ที่เป็นกระบวนการก่อประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง[2]:3-4

การยอมรับคัมภีร์อภิธรรมทางด้านจิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์ของชาวตะวันตก จึงเริ่มต้นเกินกว่าศตวรรษก่อนเพราะงานของนักอินเดียวิทยาชาวอังกฤษ

งานวิชาการของนางไรส์ เดวิดส์ (พ.ศ. 2443)

นางแคโรไลน ออกัสตา โฟลีย์ ไรส์ เดวิดส์ เป็นบุคคลแรก ๆ ที่มองคัมภีร์พุทธจากมุมมองทางจิตวิทยา

ในปี พ.ศ. 2443 นักอินเดียวิทยานางแคโรไลน ออกัสตา โฟลีย์ ไรส์ เดวิดส์ พิมพ์ผ่านสำนักพิมพ์สมาคมคัมภีร์บาลี (Pali Text Society) การแปลคัมภีร์แรกของพระอภิธรรมคือคัมภีร์ธัมมสังคณี โดยตั้งชื่อว่า Buddhist Manual of Psychological Ethics (คู่มือพุทธเรื่องจริยธรรมทางจิต)[3]ในอารัมภบทของงานทรงอิทธิพลนี้ ผู้เขียนได้กล่าวว่า

...ปรัชญาชาวพุทธเป็นเรื่องจริยธรรมจากต้นจนจบซึ่งเป็นเรื่องที่เถียงไม่ได้แต่จริยธรรมแบบต่าง ๆ ก็ต่างกันราวกับฟ้าดินในความสำคัญที่ให้ต่อเรื่องของจิตที่นำไปสู่จริยธรรมชาวพุทธมีความก้าวหน้าบางอย่างในเรื่องจิตที่เกี่ยวกับจริยธรรมยิ่งกว่าอาริสโตเติลเสียอีก เป็นความก้าวหน้าที่ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์โดยปฏิเสธสมมติฐานเรื่องวิญญาณ (psyche) และอะไรที่ยิ่งกว่านั้น ชาวพุทธพอใจที่จะแยกแยะจิตของบุคคลที่มีจริยธรรม "ตามที่เห็น" ออกเป็นปรากฏการณ์ทางอัตวิสัยที่เชื่อมต่อกันอย่างซับซ้อนกลุ่มของธรรมะที่แยกแยะได้ซึ่งก็คือสภาวะหรือสภาพจิต "เกิดขึ้น" ทุกครั้งกับจิต ตามกฎปัจจยาการที่แน่นอน ทั้งโดยรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งโดยที่สุดแล้วเป็นการเกิดโดยเป็นผลของสภาวะที่เกิดขึ้นก่อน ๆ ของจิต...ดังนั้น ศาสนาพุทธ โดยเริ่มตั้งแต่พัฒนาการยุคต้น ๆ ได้ตั้งตนเพื่อวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ของกระบวนการทางจิตด้วยปัญญาและความหลักแหลมอันยอดเยี่ยม[3]:xvi-xvii[lower-alpha 2]

การแสดงศาสนาพุทธในแนวจิตวิทยาเป็นสิ่งที่นางไรส์ เดวิดส์ทำต่อเนื่องเป็นทศวรรษ ๆ ดังที่พบได้ในงานปี 2457[4]และ 2479[5]

Trungpa Rinpoche และสถาบันนาโรปา (2517)

- Chogyam Trungpa Rinpoche, 2517[lower-alpha 3]

ในอารัมภบทของหนังสือปี 2518 Glimpses of the Abhidharma (ประกายแห่งพระอภิธรรม) รินโปเช Chogyam Trungpa เขียนว่า

นักจิตวิทยาปัจจุบันจำนวนมากได้พบว่า สิ่งที่พบในคัมภีร์อภิธรรมตรงกับสิ่งที่ตนค้นพบและไอเดียที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เหมือนอย่างว่า พระอภิธรรมที่สอนเมื่อ 2,500 ปีก่อน ได้พัฒนาขึ้นใหม่โดยใช้สำนวนปัจจุบัน"[7]:2

หนังสือของ Trungpa ยังกล่าวถึงลำดับปรากฏการณ์ในระดับนาโนวินาทีที่เกิดการรู้สัมผัสทางกาย โดยใช้แนวคิดในเรื่องขันธ์ 5

ในปี 2517 Trungpa ได้ตั้งสถาบันนาโรปา ปัจจุบันเรียกว่ามหาวิทยาลัยนาโรปา และเริ่มตั้งแต่ปี 2518 มหาวิทยาลัยที่มีการรับรองนี้ได้ให้ปริญญาในสาขา "จิตวิทยาแบบพิจารณา (contemplative psychology)"[8][lower-alpha 4]

ทะไลลามะและการสนทนาเรื่องจิตและชีวิต (2530)

ทุก ๆ สองปีตั้งแต่ปี 2530 องค์ทะไลลามะที่ 14 เทนซิน เกียตโซ ได้ทรงจัดตั้งงานประชุม "จิตและชีวิต (Mind and Life)" สำหรับทั้งพุทธศาสนิกชนและนักวิทยาศาสตร์[lower-alpha 5]เมื่อพิจารณาย้อนหลังถึงการประชุมหนึ่งเช่นนี้ในเดือนมีนาคม 2543 นักจิตวิทยาแดเนียล โกลแมน ให้ข้อสังเกตว่า

ตั้งแต่พุทธกาลในช่วง 5 ทศวรรษก่อนคริสต์ศักราช การวิเคราะห์จิตและการทำงานของจิตเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติของสาวกพระพุทธเจ้าวิธีการวิเคราะห์เช่นนี้ได้จัดเป็นระบบในช่วง 1,000 ปีแรกหลังจากทรงปรินิพพาน เป็นระบบเรียกเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลว่า พระอภิธรรม ซึ่งหมายความว่า "หลักสอนสุดยอด"พุทธศาสนาทุกนิกายทุกวันนี้จะมีรูปแบบหนึ่งของคำสอนทางจิตวิทยานี้ โดยประกอบกับการขัดเกลาคำสอนของแต่ละนิกาย[6]:72-73

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธกับจิตวิทยา http://www.newcollege.utoronto.ca/academics/new-co... http://www.ahalmaas.com/PDF/culture_narcissism.pdf http://www.bhantekovida.com/inquiring/bhante-kovid... http://danbhai.com/rnpsa/winnicott_ego_distortion.... http://www.emotionalcompetency.com/papers/empathyd... http://gradworks.umi.com/31/87/3187903.html http://www.academia.edu/663726/Oliver_Kress_-_A_ne... http://www.naropa.edu/academics/gsp/grad/contempla... http://www.buddhanet.net/compassion.htm http://www.buddhanet.net/depth.htm