ศาสนาพุทธแบบกรีก
ศาสนาพุทธแบบกรีก

ศาสนาพุทธแบบกรีก

ศาสนาพุทธแบบกรีก (อังกฤษ: Greco-Buddhism) เป็นการผสานวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมเฮเลนิสต์กับศาสนาพุทธ ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงคริสต์ศักราชที่ 5 ในแคว้นแบกเตรียและอนุทวีปอินเดีย โดยพระพุทธศาสนาเเบบกรีกนับถือนิกายมหายานเเละนิกายสรวาสติวาทเป็นหลัก เหตุผลเนื่องจากรุกรานอินเดียโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นต้นมา[1] หลังการสวรรคตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ก็มีการตั้งนิคมชาวกรีกในแบกเตรียและคันธาระ โดยมีแม่ทัพกรีกหรือมาซีโดเนียปกครองสืบต่อมา[2] ครั้นพระเจ้าจันทรคุปตะแห่งจักรวรรดิเมารยะมีอำนาจในบริเวณนี้ หลังทรงปราบปรามเจ้าผู้ครองชาวมาซีโดเนียได้สำเร็จ เวลาต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิของเมารยะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ[3] พร้อมกับเผยแผ่ปรัชญาศาสนาพุทธไปอย่างแพร่หลายแถบซีเรีย อียิปต์ และกรีซ[4] เช่นเมืองไซรีนี (Κυρήνη, ปัจจุบันอยู่ในประเทศลิเบีย) ในขณะนั้นเป็นเมืองของกรีก ก็ได้รับอิทธิพลพุทธปรัชญาจากคณะพระสงฆ์ของพระเจ้าอโศกที่เข้าไปเผยแผ่[5] หลังการล่มสลายของจักรวรรดิเมารยะ ศาสนาพุทธแบบกรีกยังรุ่งเรืองในแถบแบกเตรียและกุษาณะ แพร่หลายไปถึงเอเชียกลาง ประเทศจีน ไซบีเรีย เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนามเอกสารของทอเลมีระบุว่าเมืองสาคละ (Σάγγαλα, ปัจจุบันคือเมืองซิอัลโกต ประเทศปากีสถาน) ก่อตั้งโดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 กษัตริย์ชาวกรีก เป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธในบริเวณนั้น[6][7] ปรากฏเอกสารทางศาสนาคือ มิลินทปัญหา อ้างถึงบทบันทึกการสนทนาระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้าเมนันเดอร์[8][9] ในคัมภีร์ มหาวงศ์ ระบุว่าในรัชกาลพระเจ้าเมนันเดอร์มีพระสงฆ์ชาวกรีกนามพระมหาธรรมรักษิตะ นำพระสงฆ์ 30,000 รูปจากเมืองอลสันทะหรืออะเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส (Αλεξάνδρεια στον Καύκασο, 150 กิโลเมตรทางเหนือของกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน) ไปสร้างสถูปที่ศรีลังกา แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธแบบกรีกในช่วงเวลานั้น[10] มีผู้ว่าราชการจังหวัดชาวกรีกคนหนึ่งนามเทออดอรุส (Θεόδωρος) สร้างสถูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ[11]ตามคติศาสนาพุทธแบบกรีกจะมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามอย่างการสร้างเทวรูปกรีก คือเป็นรูปธรรมอย่างมนุษย์ เน้นกล้ามเนื้อ สัดส่วนเหมาะสมตามหลักกายวิภาค มีริ้วจีวรปลิวไสวสวยงาม[12] และนำเทพเจ้ากรีกเข้ามาในพุทธศิลป์ ยกตัวอย่างเช่นเฮราคลีสทรงอาภรณ์หนังราชสีห์ เทพประจำพระองค์ของพระเจ้าเดเมทริอุสที่ 1 แห่งแบกเตรีย "ทำหน้าที่เป็นวัชรปาณีผู้พิทักษ์พุทธองค์"[13][14] ศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่นซึ่งได้รับอิทธิพลไปอีกทอดหนึ่งก็รับเอาเทพเจ้ากรีกไปด้วย เช่น ฟูจิง รับจากเทพบอเรียส (Βορέας) และหารีตี รับจากเทพีไทคี (Τύχη)[15]แม้ศาสนาพุทธและคริสต์จะมีปรัชญาที่ต่างกัน แต่ระบบศีลธรรมนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันบางประการ เช่น ให้ความเคารพต่อชีวิต อาทรผู้อ่อนแอ ปฏิเสธความรุนแรง ให้อภัยแก่คนบาป และความอดทน[16] นักวิชาการบางส่วนระบุว่าชาวกรีกเป็นตัวกลางในการนำคำสอนของศาสนาพุทธเข้าสู่โลกตะวันตก[17] การประสูติของพระพุทธเจ้าเป็นที่รู้จักดีในโลกตะวันตกและส่งอิทธิพลต่อเรื่องราวเบื้องประสูติของพระเยซู นักบุญเจอโรมระบุถึงการประสูติของพระพุทธเจ้าว่า "ประสูติด้วยความบริสุทธิ์" ส่วนนักบุญคลีเมนต์แห่งอะเล็กซานเดรียบันทึกคำว่า "พุทธะ" (Βούττα) ลงในเอกสารทางศาสนา[18] และเรื่องราวของนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัต นักบุญในตำนานของศาสนาคริสต์ ก็เป็นเรื่องราวมาจากพุทธประวัติ[19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศาสนาพุทธแบบกรีก http://www.exoticindiaart.com/artimages/BuddhaImag... http://faculty.maxwell.syr.edu/gaddis/HST210/Oct21... http://www.dhammathai.org/milin/milin01.php //doi.org/10.1017%2FS0020860400090604 //www.worldcat.org/issn/1141-7137 //www.worldcat.org/oclc/937316326 https://themomentum.co/momentum-feature-crematory-... https://www.dossiers-archeologie.com/numero-254/be... https://books.google.com/books?id=-HeJS3nE9cAC https://books.google.com/books?id=dfAJAQAAIAAJ&q=s...