รูปแบบและการจำแนกไทป์เฟซ ของ ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ไทย

รูปแบบการเขียนด้วยลายมือตามธรรมเนียลของอักษรไทยแบ่งออกเป็นสองประเภทกว้างๆ คือ แบบเชิงมุมและแบบกลม (คนส่วนใหญ่เขียนแบบเชิงมุม) แบบเชิงมุมซึ่งเขียนกันโดยทั่วไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นอย่างน้อย อาจได้มาจากประเพณีการเขียนด้วยลายมือในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (แม้ว่าจะสูญเสียความลาดเอียงที่เห็นในต้นฉบับทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไปแล้วก็ตาม) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบอักษรวิจิตรอาลักยังคงเกี่ยวข้องกับประเพณีทางศิลปะของราชอาลักษณ์ และใช้สำหรับฉบับต้นฉบับอย่างเป็นทางการของรัฐธรรมนูญ[1][25]

ไทป์เฟซอักษรไทยสามารถจำแนกได้เป็นแบบมุมหรือแบบกลม กระนั้นไทป์เฟซอักษรไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเป็นแบบโค้งมน ดังนั้นความแตกต่างจึงไม่สะท้อนถึงศิลปะการใช้ตัวพิมพ์อีกต่อไป ไทป์เฟซอักษรไทยส่วนใหญ่ยังมีตัวอักษละตินพื้นฐานด้วย และบางแอปพลิเคชันจัดประเภทไทป์เฟซอักษรไทยเป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงหรือไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงตามอักษรละตินเหล่านั้น กระนั้นการจัดประเภทเหล่านี้มักจะไม่ค่อยมีผลกับตัวอักษรไทยในไทป์เฟซเหล่านั้นก็ตาม นอกจากนี้ไทป์เฟซอักษรไทยมักจะถูกจัดหมวดหมู่ตามรูปร่างของส่วนหัวของตัวอักษรไทยเป็นหลัก กล่าวคือ อักษรไทยมีหัวหรือไม่ แม้ว่าไทป์เฟซก่อนหน้านี้ที่ตัดทอนหรือละเว้นหัวได้นำมาใช้ในการทำป้ายและเป็นข้อความตกแต่งตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่รูปแบบไร้หัว "คล้ายโรมัน" ที่นำมาใช้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นเป็นแบบไร้หัวที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในยุคของการออกแบบไทป์เฟซดิจิทัล[1]

การจำแนกไทป์เฟซอักษรไทยยังอยู่ระหว่างการพัฒนา โดยได้รับข้อมูลจากองค์กรและนักวิชาการหลายแห่ง แม้ว่าสำนักงานราชบัณฑิตยสภาและ NECTEC ได้รวมระบบการจำแนกประเภทไว้ในแนวทางการออกแบบไทป์เฟซที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2540 และ 2544 แต่ก็ไม่ได้รับการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และระบบมาตรฐานยังไม่ได้รับการยอมรับ[25][34] เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทออกแบบไทป์เฟซชื่อคัดสรร ดีมาก ได้มีส่วนร่วมในรูปแบบการจำแนกไทป์เฟซที่กำหนดไทป์เฟซให้กับสามหมวดหมู่หลัก ได้แก่ ดั้งเดิม (มีหัว) แสดงผล (ร่วมสมัย) และทันสมัย (ไม่มีหัว) โดยหมวดหมู่หลักทั้งสามหมวดหมู่นี้มีประเภทย่อยหลายประเภท[1]

ดั้งเดิม

ไทป์เฟซอักษรไทยดั้งเดิมหรือแบบมีหัวเป็นเหมือนภาพสะท้อนของการเขียนด้วยลายมือแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นต้นแบบของไทป์เฟซอักษรไทยตัวแรกๆ แบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้ดังนี้:

  • ลายมือ (Handwriting)
  • เชิงเก่า (Old style)
  • ไทป์เฟซไม้ (Wood type)
  • มนุษยนิยม (Humanist)
  • เรขาคณิต (Geometric)
  • มนุษยนิยมเรขาคณิต (Geometric humanist)
  • เรขาคณิตใหม่ (Neo-geometric)
ลายมือลายมือ (Handwriting) เป็นประเภทย่อยของไทป์เฟซอักษรไทย ไทป์เฟซอักษรไทยในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่จัดเป็นประเภทย่อยลายมือ เช่นเดียวกับไทป์เฟซที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากสไตล์การเขียนด้วยลายมืออักษรวิจิตร ไทป์เฟซจำนวนมากในประเภทย่อยนี้มีรูปร่างตัวอักษรเชิงมุม ปัจจุบันใช้ไทป์เฟซในประเภทย่อยนี้เพื่อสื่อถึงความเคารพนับถือเป็นหลัก (ตัวอย่าง: Bradley Square, Bradley Curved, ทองสยาม (Thong Siam))เชิงเก่าเชิงเก่า (Old style) ได้รับอิทธิพลจากไทป์เฟซละตินแบบมีเชิงเก่า ประเภทย่อยนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2456 รูปแบบนี้ใช้ลายเส้นหนาสลับกับบาง และใช้สำหรับเอกสารราชการในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2000 (ตัวอย่าง: อังสนายูพีซี (Angsana UPC), กินรี (Kinnari))ไทป์เฟซไม้ไทป์เฟซไม้ (Wood type) ได้รับการพัฒนาให้เป็นไทป์เฟซดิสเพลย์สำหรับพาดหัวข่าวขนาดใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยผู้อพยพชาวจีนเป็นผู้ริเริ่มประเภทย่อยนี้ และบางไทป์เฟซอาจอยู่ในรูปไทป์เฟซไม้ ก่อนที่จะหล่อด้วยโลหะ (ตัวอย่าง: DB Zair, DB PongMai, DB PongRong)มนุษยนิยมประเภทย่อยมนุษยนิยม (Humanist) นั้นสร้างสรรค์ครั้งแรกโดยโมโนไทป์ สำหรับหนังสือเรียนของไทยวัฒนาพานิช สไตล์นี้ได้รับอิทธิพลจากแบบอักษรไม่มีเชิงมนุษยนิยม แบบตะวันตก และใช้ลายเส้นแบบโมโนไลน์ที่มีรูปลักษณ์ที่คมชัด (ตัวอย่าง: Monotype Thai Medium 621, ทีเอฟ พิมาย (TF Pimai), บราวเลีย ยูพีซี (Browallia UPC), ครุฑ Garuda())เรขาคณิตประเภทย่อยเรขาคณิต (Geometric) นี้ใช้การออกแบบทางเรขาคณิตเพื่อสร้างรูปลักษณ์ล้ำอนาคต โดยได้รับอิทธิพลจากไทป์เฟซละตินแบบไม่มีเชิงเรขาคณิต รูปแบบดั้งเดิมของประเภทย่อยนี้คือ Tom Light ได้รับการออกแบบเป็นครั้งแรกเป็นฟอนต์เนื้อความสำหรับหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ตัวอย่าง: Tom Light (C-1), EAC Tomlight, Cordia UPC)มนุษยนิยมเรขาคณิตประเภทย่อยมนุษยนิยมเรขาคณิต (Geometric humanist) นั้นถือกำเนิดจากไทป์เฟซชวนพิมพ์ (ChuanPim) ซึ่งเป็นไทป์เฟซตัวแรกที่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงการผสมผสานเข้ากับอักษรละตินได้เป็นพิเศษ (ตัวอย่าง: EAC ชวนพิมพ์)เรขาคณิตใหม่ประเภทย่อยเรขาคณิตใหม่ (Neo-geometric) นั้นเปฬนต้นแบบของไทป์เฟซทองหล่อซึ่งสร้างสรรค์โดยคัดสรร ดีมาก มีช่องว่างมากขึ้นเพื่อเพิ่มน้ำหนักแบบอักษร สไตล์นี้มีการออกแบบแบบโมดูลาร์ โดยมีเส้นขีดในส่วนที่แยกจากกัน (ตัวอย่าง: ทองหล่อ (ThongLor))

แสดงผล

หมวดหมู่แสดงผลประกอบด้วยไทป์เฟซที่มีที่มาจากสไตล์ของการสร้างตัวอักษรสำหรับแสดงผลด้วยมือ ซึ่งออกแบบมาเพื่อการใช้งานต่างๆ เช่น ป้าย ปกหนังสือ และฉลาก หมวดหมู่นี้แบ่งออกเป็นสองประเภทย่อย: สคริปต์ และ การตกแต่ง ประเภทย่อยสคริปต์ประกอบด้วยตัวอักษรที่มีรูปทรงโดดเด่นตามอุปกรณ์การเขียน ในขณะที่ประเภทการตกแต่งครอบคลุมการออกแบบที่หลากหลาย รวมถึงรูปแบบที่ผสมผสานรูปแบบดั้งเดิมหรือลวดลายเก๋ๆ สไตล์ที่โดดเด่นในประเภทสคริปต์คืออักษรนิล ในขณะที่คอนสตรัคติวิสต์เป็นหนึ่งในสไตล์การตกแต่งที่สำคัญ[1]

  • อักษรนิล (Blackletter)
  • คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism)
อักษรนิลอักษรนิล (Blackletter) มีอีกชื่อหนึ่งว่ารูปแบบ ริบบิ้น (ribbon) ตามลักษณะของเส้นหนาและบางที่เกิดจากปากกาปลายแหลม มีการใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับป้ายแสดงสินค้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ที่รู้จักกันดีที่สุดคือสไตล์นริศ ซึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่เป็นแบบอักษรดิจิทัล (ตัวอย่าง: ไทยนริศ (Thai Naris), ABC Burgbarn)คอนสตรัคติวิสต์คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) เป็นรูปแบบบล็อกเชิงมุมซึ่งมีผลกระทบต่อการมองเห็นสูง เคยถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับปกนิตยสารเยื่อกระดาษ และยังเป็นที่นิยมของคณะราษฎร (ผู้ครองอำนาจหลังการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) แม้ว่าการใช้งานอย่างเป็นทางการหมดความนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่สองก็ตาม สไตล์นี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับไทป์เฟซดิจิทัลบางตัว (ตัวอย่าง: Tualiam, 9 LP)

ทันสมัย

ไทป์เฟซทันสมัย (หรืออาจเรียกว่า "ไม่มีหัว" หรือ "แบบโรมัน") ซึ่งสะท้อนถึงแรงบันดาลใจเดิมในการเลียนแบบรูปลักษณ์ของไทป์เฟซละตินแบบไม่มีเชิง ส่วนใหญ่มักจะไม่มีหัว กระนั้น บางไทป์เฟซอาจยังคงเศษเสี้ยวของหัวไว้เล็กน้อย มีสามประเภทย่อย:[1]

  • โมเดิร์น (Modern)
  • ครอสโอเวอร์ (Crossover)
โมเดิร์นไทป์เฟซโมเดิร์น (Modern) เป็นรูปแบบสมัยใหม่ที่ริเริ่มด้วยตัวอักษรแบบถ่ายโอนแห้ง โดยมานพติก้าถือเป็นไทป์เฟซแรกในประเภทย่อยนี้ การออกแบบที่เรียบง่ายและไร้หัวเป็นการเลียนแบบภาพลักษณ์ของไทป์เฟซอักษรละตินแบบไม่มีเชิง และได้รับการออกแบบมาเป็นไทป์เฟซแสดงผลเป็นหลัก (ตัวอย่าง: มานพติก้า (Manoptica), มานพใหม่ (Manop Mai))หัวซ่อนเร้นไทป์เฟซหัวซ่อนเร้น (Obscure loop) นั้นลดทอนส่วนหัวของอักขระลงอย่างมาก เหลือแค่เป็นเส้นหรือจุดขนาดเล็ก ซึ่งยังคงช่วยเพิ่มความชัดเจน ประเภทย่อยนี้รวมไปถึงไทป์เฟซอักษรไทยตัวแรกๆ ที่ใช้กับข้อความเนื้อหา (ตัวอย่าง: LC Manop, PSL Display)ครอสโอเวอร์ไทป์เฟซครอสโอเวอร์ (Crossover) นั้นถูกสร้างขึ้นในยุคดิจิทัล และหลายไทป์เฟซรองรับการไล่ระดับน้ำหนักที่มากขึ้น ช่วยให้สามารถพัฒนาตระกูลฟอนต์ที่ขยายเพิ่มเติมได้ อาจถือว่ามีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะใช้สำหรับทั้งการแสดงผลและข้อความเนื้อหา (ตัวอย่าง: สุขุมวิท (Sukhumvit))

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ไทย https://www.matichonweekly.com/column/article_7095... https://www.bangkokpost.com/life/social-and-lifest... http://postdiplome.esad-amiens.fr/wp-content/uploa... https://www.jstor.org/stable/40860231 http://commonplace.online/article/the-printing-pre... https://www.silpa-mag.com/history/article_18823 https://archive.org/details/isbn_9780195046458 https://archive.org/details/isbn_9780195046458/pag... http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book... http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book...