อารัมภบท ของ สงครามกลางเมืองผู้ปลดปล่อย

หลังการฆ่าซีซาร์ บรูตัสและแคสซิอัส (ผู้ก่อการหลักสองคน ซึ่งรู้จักในนามผู้ปลดปล่อย) หนีออกนอกอิตาลีแล้วเข้าควบคุมจังหวัดทางตะวันออกทั้งหมด (ตั้งแต่กรีซและมาซีโดเนียไปถึงซีเรีย) ตลอดจนราชอาณาจักรตะวันออกพันธมิตร ในกรุงโรม สามผู้นำหลักฝ่ายซีซาร์ ได้แก่ แอนโทนี ออกเตเวียนและมาร์คัส เอมิลลิอัส เลปิดัส ผู้ควบคุมกองทัพโรมันแทบทั้งหมดในทางตะวันตก ปราบปรามการค้านของวุฒิสภาและสถาปนาคณะสามผู้นำที่สอง หนึ่งในภารกิจแรก ๆ คือ ทำลายกองกำลังของผู้ปลดปล่อย ไม่เพียงแต่เพื่อควบคุมโลกโรมันอย่างสมบูรณ์เท่านั้น หากเป็นไปเพื่อแก้แค้นมรณกรรมของซีซาร์ด้วย

คณะสามผู้นำตัดสินใจคงเลปิดัสอยู่ในอิตาลี ระหว่างที่แอนโทนีและออกเตเวียนยกพลไปยังตอนเหนือของกรีซด้วยทหารที่ดีที่สุด (ทั้งหมด 28 ลีเจียน) ในปีที่ 42 ก่อนคริสตกาล คณะสามผู้นำส่งไดอัส นอร์บานัส ฟลักคัสและเดซิดิอัส ซาซา พร้อมทหาร 8 ลีเจียนเป็นกองระวังหน้ารุกเข้ามาซีโดเนีย นอร์บานัสและซาซาเผชิญกับกำลังพลผสมที่รุกเข้ามาของแคสซิอัสและบรูตัสแถบเมืองฟิลิปปี เนื่องจากนอร์บานัสและซาซามีไพร่พลน้อยกว่าจึงยึดที่ตั้งใกล้กับฟิลิปปีซึ่งกันมิให้ฝ่ายผู้ปลดปล่อยรุกต่อไป บรูตัสและแคสซิอัสจัดการให้นอร์บานัสผละจากที่ตั้งนี้ด้วยอุบาย แต่นอร์บานัสพบอุบายดังกล่าวทันกาลที่จะยึดที่ตั้งสำคัญนี้คืนได้ เมื่อบรูตัสและแคสซิอัสตีเข้ามาทางปีก นอร์บานัสและซาซาก็ล่าถอยไปยังแอมฟิโพลิส เมื่อมาร์ก แอนโทนีและกองกำลังขนาดใหญ่ของคณะสามผู้นำมาถึง (ขณะนั้นออกเตเวียนล้าหลังอยู่ที่ดีราเคียมเพราะสุขภาพไม่ดี) ก็พบว่าแอมฟิโพลิสมีการป้องกันแน่นหนาและแอนโทนีปล่อยให้นอร์บานัสบังคับบัญชาเมืองนั้นไป

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว