สงครามกลางเมืองลิเบีย
สงครามกลางเมืองลิเบีย

สงครามกลางเมืองลิเบีย

รัฐสมาชิกสหประชาชาติซึ่งบังคับใช้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1973: โอมาร์ อัลฮาริรี[11]
อับดุล ฟาตา ยูนิส[12]
สุไลมาน มะฮ์มูด[13] คามิส กัดดาฟี 
มุตัสซิม กัดดาฟี กองกำลังต่างประเทศ: ยุทโธปกรณ์ทางอากาศและทางน้ำจำนวนมากกองกำลังต่างประเทศ:
: MQ8 ทร. ถูกยิงตก 1 ลำ[19][20], F-15E ทอ. ชน 1 ลำ[21]
: Lynx ทร. ชน 1 ลำ, นาวิกโยธินถูกจับกุม 3 นาย ปล่อยตัวภายหลัง[22]สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 เป็นความขัดแย้งติดอาวุธในประเทศลิเบีย เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การปกครองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของประเทศที่ครองอำนาจมายาวนานร่วม 40 ปี เหตุความไม่สงบได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และได้ขยายตัวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มกัดดาฟีลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย[26][27] เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกจุดประกายขึ้นจากการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในประเทศตูนีเซียและอียิปต์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการประท้วงในวงกว้างทั่วทั้งทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง[28] ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจัดตั้งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เบงกาซี ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟีและจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย[29]หลายประเทศประณามรัฐบาลลิเบียภายใต้การนำของกัดดาฟีอย่างรุนแรง ซึ่งใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน[30] ศาลอาญาระหว่างประเทศเตือนกัดดาฟีและสมาชิกรัฐบาลลิเบียว่าอาจได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ[31] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติซึ่งอายัดทรัพย์ของกัดดาฟีและบุคคลใกล้ชิดจำนวน 10 คน มติดังกล่าวยังสั่งห้ามการเดินทางและยื่นเรื่องลิเบียต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน[32]ต้นเดือนมีนาคม กองกำลังฝ่ายกัดดาฟีรุกคืบไปทางตะวันออกจนถึงเบงกาซี ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพิ่มเติมได้อนุมัติให้รัฐสมาชิกกำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบีย[33] และเขตห้ามบินดังกล่าวได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม โดยเริ่มทำลายการป้องกันทางอากาศของลิเบีย[34] รัฐบาลกัดดาฟีประกาศหยุดยิงหลังจากนั้น แต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้[35]ในเดือนสิงหาคม กำลังกบฏยึดดินแดนที่สูญเสียไปส่วนใหญ่กลับคืนมาได้ และยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงตริโปลี นำไปสู่การจับกุมบุตรชายและทายาทผู้สืบทอดอำนาจของกัดดาฟี ซาอิฟ อัล-อิสลาม[36] ขณะที่กัดดาฟีหลบหนีการถูกจับกุมและทหารฝ่ายภักดีเป็นเสมือนทหารกองหลัง[37] จนถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 สหประชาชาติรู้จักลิเบียภายใต้กัดดาฟีอย่างเป็นทางการว่า ลิเบียอาหรับจามาฮิริยา[38] แต่หลังจากนั้น สหประชาชาติยอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเป็นตัวแทนตามกฎหมายของประเทศ[39] วันที่ 20 กันยายน สหภาพแอฟริกายอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของลิเบีย[40]

สงครามกลางเมืองลิเบีย

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่15 กุมภาพันธ์ - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สถานที่ประเทศลิเบีย
ผลลัพธ์ฝ่ายกบฏชนะ รัฐบาลกัดดาฟีถูกโค่นล้ม
สถานที่ ประเทศลิเบีย
ผลลัพธ์ ฝ่ายกบฏชนะ รัฐบาลกัดดาฟีถูกโค่นล้ม
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามกลางเมืองลิเบีย http://www.wam.org.ae/servlet/Satellite?c=WamLocEn... http://www.heraldsun.com.au/news/breaking-news/reb... http://www.news.com.au/breaking-news/muammar-gadda... http://www.skynewsbusiness.com.au/world/article.as... http://news.smh.com.au/breaking-news-world/un-back... http://www.abc.net.au/news/stories/2011/02/24/3147... http://www.abc.net.au/news/stories/2011/03/06/3156... http://www.abc.net.au/news/stories/2011/03/29/3176... http://www.cbc.ca/news/world/story/2011/03/23/liby... http://www.cbc.ca/news/world/story/2011/03/28/liby...