ช่วงเวลา ของ สงครามกลางเมืองเนปาล

พ.ศ. 2539

พ.ศ. 2544

  • มกราคม พ.ศ. 2544: รัฐบาลจัดตั้งสารวัตรทหารเนปาล ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย
  • 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2544: ประจันทา ให้สัมภาษณ์กับวารสารคอมมิวนิสต์ A World to Win[16]
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544: กษัตริย์พิเรนทรา และสมาชิกราชวงศ์ส่วนใหญ่ถูกสังหารในเหตุการณ์การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล มกุฏราชกุมารทิเพนทราเป็นผู้ถูกกล่าวหาในการสังหารหมู่ครั้งนี้โดยคณะกรรมการสอบสวนที่ประกอบไปด้วย ประธานศาลฎีกาเกชาพ ประสาท อุปัธยา และโฆษกรัฐบาล ตรนาถ รนภัต มกุฏราชกุมารไม่รู้สึกตัวจากความพยายามฆ่าตัวตายหรือถูกลอบสังหารโดยฝ่ายรักษาความปลอดภัยของพระราชวัง ได้สืบราชสมบัติตามประเพณี พระองค์สวรรคตเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 กษัตริย์ชญาเนนทระ ได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อมา [17]
  • 3 สิงหาคม พ.ศ. 2544: การเจรจาสันติภาพรอบแรก
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544: การเจรจาสันติภาพล่มเมื่อกลุ่มกบฏลัทธิเหมาถอนตัว และโจมตีสารวัตรทหารอย่างรุนแรงใน 42 เขต โดยมีทหารและตำรวจ 186 นาย และกลุ่มกบฏลัทธิเหมา 21 คนเสียชีวิต
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544: รัฐบาลของเชร์ พาหาดูร์ เทวพา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และรับสมัครทหารเนปาลเพื่อโจมตีกลุ่มลัทธเหมา[18]
  • สหรัฐอเมริกาประกาศให้พรรคลัทธิเหมาเป็นกลุ่มก่อการร้าย

พ.ศ. 2545

  • รัฐสภาสหรัฐอเมริกาให้เงินช่วยเหลือ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อฝึกทหารเนปาล และสนับสนุนปืนไรเฟิล 5,000 กระบอก[1]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2545: การเจรจาสันติภาพล่ม[18]
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2545: เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างทหารและกลุ่มลัทธิเหมาที่ลิสเน เลข ตามแนวชายแดนระหว่างเขตปยูทันและรอลปา และที่หมู่บ้านฆัม เขตรอลปา
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2545: ทหารเนปาลพบภาพถ่ายในเนปาลตะวันตก เป็นภาพของผู้นำกลุ่มกบฏลัทธิเหมา พาพุรัม ภัตตาไร หิสิลา ยามี ราม พาหาทุร ทาพา (ฉายาพาทัล) และปุสปา หามัล ทาหัล (ฉายาประจันทา)[18]
  • 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2545: กษัตริย์ชญาเนนทระ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เชร์ พาหาดูร์ เทวพา ยุบสภาและสั่งเลือกตั้งใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการต่อต้านการก่อการร้าย
  • 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2545: มีข้อมูลรั่วออกมาว่า โรงงานอาวุธในเบลเยี่ยม FN Herstal ได้ส่งปืนอัตโนมัติ M249 5,500 กระบอก ให้กับราชวงศ์เนปาล การตัดสินใจดำเนินการโดยพรรคร่วมรัฐบาล
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2545: กษัตริย์ชญาเนนทระประกาศปลดนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ ยึดอำนาจการปกครองประเทศ และยกเลิกการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545: กษัตริย์ชญาเนนทระ แต่งตั้ง โลเกนทรา พาหาทุร์ จันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2546

  • มกราคม พ.ศ. 2546: สหรัฐอเมริกาซ้อมรบกับทหารเนปาล[1] กลุ่มก่อการร้ายลัทธิเหมาฆ่าผู้ตรวจการสารวัตรทหาร กฤษณะ โมฮัน เศรษฐา พร้อมกับภรรยาและบอดีการ์ดขณะออกเดินตอนเช้าที่เคยทำเป็นปกติทุกเช้าวันอาทิตย์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความปลอดภัยของพลเมือง ผู้ตรวจการสารวัตรทหารและภรรยาซึ่งเป็นครูในโรงเรียนนานาชาติในเมืองหลวงต่างไม่มีอาวุธ ด้วยกระสุนปืนไรเฟิลที่กลุ่มกบฏลัทธิเหมาชอบใช้
  • 29 มกราคม พ.ศ. 2546: มีการหยุดยิงครั้งที่ 2 และเริ่มเจรจาสันติภาพ[18]
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546: มีการประกาศร่วมกันระหว่างรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ยอมรับให้มีการหยุดยิง[19]
  • 17 สิงหาคม พ.ศ. 2546: ทหารและตำรวจเนปาลฆ่ากลุ่มกบฏลัทธิเหมา 39 คน ในเขตราเมชับ ในเนปาลตอนกลาง ระหว่างการสนธิกำลังกันของทหารและตำรวจเนปาลเพื่อยึดพื้นที่ ทหารเนปาลเสียชีวิต 7 คน สารวัตรทหารเสียชีวิต 5 คน[18]
  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมายื่นคำขาด จะยุติการหยุดยิงภายใน 48 ชั่วโมง หากรัฐบาลไม่รวมข้อเสนอของกลุ่มลัทธิเหมาในสภาร่างรัฐธรรมนูญ [18]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2546: คำขาดของกลุ่มลัทธิเหมาหมดเวลา[18]
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546:
    • นัดหยุดงาน: กลุ่มลัทธิเหมาเรียกร้องให้มีการนัดหยุดงาน 3 วัน [18]
    • กลุ่มลัทธิเหมายื่นคำขาดถอนการหยุดยิงเมื่อ 29 มกราคม ประจันทาประกาศว่ากลุ่มกบฏต้องการให้สิ้นสุดการปกครองด้วยราชวงศ์ เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย [18]
  • 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมาลอบสังหารนายพลของกองทัพเนปาล 2 คนในบ้านพักที่กาฏมาณฑุ เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 1 คน[20]
  • 29 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมาพยายามลอบสังหารรัฐมนตรี ทเวนทรา ราช กันเทล แต่ไม่สำเร็จ[21]
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2546: กลุ่มลัทธิเหมาซุ่มโจมตีตำรวจในรูปันเดฮี เสียชีวิต 4 คน[21]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามกลางเมืองเนปาล http://www.tibet.ca/en/wtnarchive/2001/6/13-2_3.ht... http://interactive.aljazeera.com/aje/2016/nepal-ma... http://bossnepal.com/bottlers-nepal-limited-bnl/ http://www.eurasiareview.com/24042012-nepal-consol... http://www.foreignpolicyjournal.com/2012/07/29/nep... http://nepaldocumentary.com/Main.aspx http://nepalitimes.com/news.php?id=9190#.WlGCYijPx... http://www.nepalroyal.com/proclamationsfeb012005/ http://www.humanrights.de/doc_en/archiv/n/nepal/po... http://www.icmp.int/the-missing/where-are-the-miss...