สงครามกลางเมืองโซมาเลีย
สงครามกลางเมืองโซมาเลีย

สงครามกลางเมืองโซมาเลีย

สาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาลี (จนถึง 1991)กลุ่มกบฏพันธมิตร:กลุ่มกบฏติดอาวุธ:คองเกรสสหรัฐโซมาเลีย สหประชาชาติ Islamic Courts Union
Oromo Liberation Front[1]
Alliance for the Re-liberation of Somalia
ไฟล์:Somalia Islamic Courts Flag.svg Al-Shabaab
Ras Kamboni Brigades
Jabhatul Islamiya
Muaskar Anole รัฐบาลกลางเปลี่ยนผ่าน
 สหรัฐ
 เอธิโอเปีย
AMISOM
Allied armed groups: Al-Qaeda Foreign Mujahedeen
ไฟล์:Flag of the Islamic Courts Union crossed swords.svg Hizbul Islam รัฐบาลกลางโซมาเลีย
AMISOM
 สหรัฐ[2]สงครามกลางเมืองโซมาเลีย เป็นสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศโซมาเลีย ชนวนเหตุเริ่มมาจากการต่อต้านระบอบโมฮัมเหม็ด ไซอัด บาร์รีในช่วงทศวรรษ 1980 กองทัพโซมาเลียเริ่มสู้รบกับกลุ่มกบฏติดอาวุธต่าง ๆ[7] รวมทั้งแนวร่วมประชาธิปไตยไถ่โซมาเลีย (Somali Salvation Democratic Front) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[8] ขบวนการชาติโซมาเลียในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ[7] และคองเกรสสหรัฐโซมาเลียในภาคใต้[9] ในที่สุดกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ ก็สามารถล้มรัฐบาลบาร์รีได้ในปี 1991[10]จากนั้น กลุ่มแยกต่าง ๆ แย่งอิทธิพลในช่องว่างแห่งอำนาจ ซึ่งเป็นเหตุให้ความพยายามรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ถูกยกเลิกในกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 เกิดสมัยการกระจายอำนาจปกครองตามมา ซึ่งมีลักษณะหวนคืนสู่กฎหมายจารีตประเพณีและศาสนาในหลายพื้นที่ ตลอดจนการสถาปนารัฐบาลเขตปกครองตนเองทางตอนเหนือของประเทศ นอกจากนี้ ยังนำให้ความเข้มข้นของการสู่รบลดลงเล็กน้อย โดย SIPRO ถอนโซมาเลียจากรายการการขัดกันด้วยอาวุธหลักในปี 1997 และ 1998ในปีเดียวกับที่โมฮัมเหม็ด ไซอัด บาร์รีถูกโค่น ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของโซมาเลียชื่อ โซมาลีแลนด์ ประกาศเอกราชและตั้งเป็นสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์[11] มีการจัดตั้งรัฐบาลและการบริหารกิจการภายในของตนเอง อย่างไรก็ตาม นานาชาติไม่ให้การรับรองสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ในปี 1998 ดินแดนที่อยู่ติดกันกับโซมาลีแลนด์ ประกาศจัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเองเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่ารัฐพุนต์แลนด์ของโซมาเลีย[12] ซึ่งก็ไม่ได้การรับรองจากนานาชาติเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม พุนต์แลนด์มิได้หมายแยกตัวเป็นเอกราชเต็มรูปแบบเหมือนกับโซมาลีแลนด์ เพียงต้องการรักษาเสถียรภาพและบริหารพัฒนาในพื้นที่ พร้อมเข้าร่วมฟื้นฟูเสถียรภาพและความมั่นคงของโซมาเลียหากสามารถยุติความขัดแย้งที่มีอยู่ได้สหประชาชาติภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาเข้าช่วยแก้ไขปัญหาความวุ่นวายในโซมาเลีย และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสงคราม[13][14] ในเดือนธันวาคม 1992 กองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยกำลังทหารนานาชาติ ดำเนินปฏิบัติการช่วยเหลือชาวโซมาเลียตามความเห็นชอบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่การปะทะกันระหว่างทหารสหรัฐอเมริกากับกำลังฝ่ายต่อต้านเมื่อเดือนสิงหาคม 1993 ซึ่งส่งผลให้เฮลิคอปเตอร์อเมริกันถูกยิงตก 2 ลำ และนายทหารอเมริกันเสียชีวิต 18 นาย เป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาตัดสินใจถอนตัวออกจากความวุ่นวายในโซมาเลียเมื่อปี 1994 หลังจากนั้นในปี 1995 สหประชาชาติก็ประกาศถอนตัวออกจากโซมาเลียเช่นกัน เนื่องจากว่าคณะทำงานให้ความช่วยเหลือของสหประชาชาติต้องบาดเจ็บล้มตายจากการดักปล้นสะดมโดยกำลังติดอาวุธฝ่ายต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก[15] นับแต่บัดนั้นดูเหมือนประชาคมโลกจะให้ความสำคัญกับปัญหาในโซมาเลียน้อยลงกว่าเดิมมากในเดือนตุลาคม 2004 กองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่ม รวมทั้งผู้ที่เคยร่วมรัฐบาลโมฮัมเหม็ด ไซอัด บาร์รี รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติ[16] รัฐบาลนี้ได้รับการสนับสนุนผลักดันจากเอธิโอเปีย เดิมรัฐบาลกลางมีศูนย์กลางดำเนินงานอยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา ต่อมาได้ย้ายฐานที่มั่นมาอยู่ที่เมืองไบโดอา ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างจากกรุงโมกาดิชู เมืองหลวงของโซมาเลีย ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 260 กิโลเมตร รัฐบาลกลางประกาศให้ไบโดอาเป็นศูนย์กลางบริหารราชการแผ่นดินในโซมาเลีย แม้รัฐบาลนี้จะได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ และบางประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น เอธิโอเปียและเคนยา แต่ทว่ารัฐบาลนี้มีอำนาจปกครองเพียงแค่พื้นที่เล็ก ๆ ของไบโดอาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีศักยภาพและกองกำลังที่เข้มแข็งพอจะรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ประชาชนชาวโซมาเลียไม่ได้ให้การยอมรับ เนื่องจากตระหนักดีว่ารัฐบาลนี้เป็นเสมือนตัวแทนของเอธิโอเปีย ซึ่งให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังอย่างลับ ๆ[17]กลางปี 2006 ประชาคมโลกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันออกต่างเฝ้ามองสถานการณ์ในโซมาเลียด้วยความวิตกกังวล เนื่องจากกลุ่มกองกำลังของสหภาพศาลอิสลามสามารถเอาชนะกลุ่มกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างลับ ๆ จากสหรัฐอเมริกาในยุทธการที่โมกาดิชูครั้งที่สอง ทำให้สหภาพศาลอิสลามมีอำนาจควบคุมเมืองหลวงได้อย่างเด็ดขาด[18][19] อีกไม่กี่เดือนต่อมา สหภาพศาลอิสลามเริ่มขยายอำนาจไปทางใต้จนถึงเขตคิสมาโย และตอนกลางของประเทศจนจรดชายแดนเอธิโอเปียด้านตะวันตก กลุ่มกองกำลังติดอาวุธที่กุมอำนาจในบริเวณดังกล่าวต้องยอมสยบให้สหภาพศาลอิสลามโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อมากนัก เป็นผลให้สหภาพศาลอิสลามสามารถควบคุมการปกครองได้เกินครึ่งประเทศ (ไม่รวมโซมาลีแลนด์และพุนต์แลนด์) นับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีที่มีกลุ่มพลังอำนาจแข็งแกร่งพอจนสามารถรวมประเทศเป็นปึกแผ่นได้กว้างขวางถึงเพียงนี้ ประชาชนจึงเริ่มมีความหวังเห็นความสงบสุข ตลอดจนเสถียรภาพและความมั่นคงกลับคืนสู่ประเทศ เพราะหลังการยึดครองโมกาดิชูได้สองวัน ท่าเรือและสนามบินแห่งชาติก็เปิดให้บริการอีกครั้ง การตั้งด่านของทหารถูกยกเลิก อาวุธยุทโธปกรณ์ถูกเก็บไปจากถนน การก่อสร้างเริ่มต้นใหม่ และนักธุรกิจกลับมาทำงานได้อีก ปลายปี 2006 สหภาพศาลอิสลามประกาศใช้กฎหมายอิสลาม[17][18] เพื่อควบคุมและจัดระเบียบทางสังคมใหม่อย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการสั่งห้ามซื้อขายและบริโภคคอตที่ชาวโซมาเลียนิยมเคี้ยวกินกันแพร่หลาย แต่สหประชาชาติประกาศให้เป็นพืชที่มีสารเสพติด รวมทั้งห้ามดูฟุตบอลหรือภาพยนตร์ในที่สาธารณะขณะที่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอธิโอเปียและสหรัฐอเมริกาพากันหวั่นเกรงว่า การบังคับใช้กฎหมายอิสลามที่เคร่งครัดนี้ สหภาพศาลอิสลามอาจนำโซมาเลียไปสู่ความเป็นรัฐอิสลามเช่น อัฟกานิสถาน ก็เป็นได้ แต่ทว่าประชาชนชาวโซมาเลียกลับมีท่าทีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดดังกล่าว เพื่อแลกกับสันติภาพและความมั่นคงของประเทศที่ขาดหายไปนาน[20]อย่างไรก็ตาม สันติภาพและความมั่นคงของโซมาเลียก็คงอยู่อีกไม่นาน เมื่อสหภาพศาลอิสลามได้ขยายอิทธิพลเข้าไปใกล้เมืองไบโดกา[21] ฐานที่มั่นเพียงแห่งเดียวของรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งชาติ และเริ่มทำการโจมตีไบโดกาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2006 เอธิโอเปียได้ส่งฝูงบินเข้าไปช่วยรัฐบาลกลางปกป้องไบโดกาทันที นับเป็นครั้งแรกที่เอธิโอเปียให้การสนับสนุนด้านกำลังทหารแก่รัฐบาลกลางอย่างเปิดเผยต่อประชาคมโลก หลังจากนั้นกองกำลังเอธิโอเปียก็เริ่มเปิดฉากโจมตีฐานที่มั่นของสหภาพศาลอิสลามทางตอนใต้ของประเทศและขยายขึ้นไปยังกรุงโมกาดิชู[22] สถานการณ์ในโซมาเลียจึงกลับคืนสู่การนองเลือดอีกครั้ง และด้วยความสนับสนุนทางการทหารของสหรัฐอเมริกา จึงทำให้กองทหารเอธิโอเปียและกองกำลังของรัฐบาลกลาง สามารถเข้ายึดครองกรุงโมกาดิชูได้สำเร็จ ส่วนสหภาพศาลอิสลามก็แตกหนีไปตามแนวชายแดน[20]

สงครามกลางเมืองโซมาเลีย

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามกลางเมืองโซมาเลีย http://allafrica.com/stories/200701060159.html http://www.cnn.com/2014/09/02/world/africa/somalia... http://www.google.com/books?id=2MfiAAAAMAAJ&redir_... http://www.google.com/books?id=LNIVAQAAIAAJ http://www.google.com/books?id=_ewPAQAAMAAJ http://necrometrics.com/20c300k.htm#Somalia http://www.raxanreeb.com/2014/09/somalia-president... http://www.voanews.com/english/news/africa/East-Af... http://wardheernews.com/Articles_2011/Oct/29_Broth... http://www.washingtonpost.com/world/national-secur...