ภูมิหลัง ของ สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

เจียงไคเช็คผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีนเป็นผู้วางแนวรบป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งสมัย สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2438

ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยจักรพรรดิราชวงศ์ชิงตอนปลายถือเป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงตกอยู่ในสภาวะตกต่ำอ่อนแอยิ่งเนื่องจากประสบปัญหาต่อเนื่องจากผลพวงของสงครามฝิ่นกับอังกฤษ ทำให้ผู้คนในประเทศอ่อนแอทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศทำให้จีนไม่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญเท่ากับชาติตะวันตกได้เท่าที่ควรทำให้เกิดความล้าหลังทางเศรษฐกิจและการทหารอีกทั้งยังถูกรุมเร้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ จนประเทศจีนถูกขนานนามว่าเป็น ขี้โรคแห่งเอเชีย อย่างดูถูกในขณะนั้น

ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิรูปเมจิ โดยจักรพรรดิเมจิ ทำให้สามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจและการทหารแบบตะวันตกและมีประสิทธิภาพ เมื่อญี่ปุ่นเจริญขึ้นจึงหันมาใช้นโยบายขยายอิทธิพลแบบจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคม จึงหันมายึดครองเกาหลีและเข้ารุกรานประเทศจีน เป็นการเปิดฉากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ประเทศจีนนำโดยราชวงศ์ชิงต้องพ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ อันเป็นสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง[16]

สาธารณรัฐจีน

ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐจีน (2455-2492)

ความคับแค้นไม่พอใจต่อราชวงศ์ชิงทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของประเทศและลุกฮือขึ้นเปลี่ยนแปลงการปกครองจนทำให้เกิดขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง ทำให้ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ และได้สถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้น อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก[17] ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร[18]

การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น

ความต้องการ 21 ประการ

ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง[19] ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ[20]

วิกฤตการณ์จี๋หนาน

ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “วิกฤตการณ์จี๋หนาน” สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน[21]

ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน[22] จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481[23]

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก”

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง http://warmuseum.ca/cwm/newspapers/operations/chin... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.warbirdforum.com/avg.htm http://www.fas.harvard.edu/~asiactr/sino-japanese/... http://www.lib.utexas.edu/maps/ams/china/ http://www.lib.utexas.edu/maps/ams/manchuria/ http://www.geocities.jp/torikai007/japanchina/1937... http://map.huhai.net/ //doi.org/10.2307%2F132824 http://www.kangzhan.org/