ภายหลังสงคราม ของ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

การสงบศึก

การประชุมเจรจาสงบศึก ที่สหรัฐอเมริกา
ดูบทความหลักที่: สนธิสัญญาพอร์ตสมัท

แม้ว่าทางพฤตินัย การรบจะสิ้นสุดลงตั้งแต่รัสเซียพ่ายแพ้ในยุทธนาวีช่องแคบชิสึมะ แต่ในทางนิตินัยถือว่าสงครามได้ยุติลง เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ (สนธิสัญญาสงบศึก) ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลพระเจ้าซาร์เผชิญกับกระแสการปฏิวัติ ประชาชนขยาดต่อสงคราม แท้จริงแล้ว ภายหลังยุทธนาวีช่องแคบชิสึมะ ทางรัฐบาลพระเจ้าซาร์จะส่งทหารเข้าไปรบต่ออีกก็ย่อมได้ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจ, สถานะการคลังของรัฐบาล ตลอดจนความพ่ายแพ้ในศึกครั้งผ่านๆมาทั้งทางบกและทางทะเลต่อญี่ปุ่นได้สร้างความอับอายเกินกว่าที่จะรับได้อีก เช่นนั้นแล้ว จักรพรรดิซาร์นิโคลัสที่ 2 จึงทรงเลือกที่จะเจรจาสันติภาพกับญี่ปุ่น (การยอมจำนน) เพื่อที่รัฐบาลกลางจะได้มีสมาธิในการจัดการความยุ่งยากและความปั่นป่วนภายในประเทศที่เริ่มปะทุขึ้น

ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้สหรัฐอเมริกาเป็นคนกลางในการจัดเจรจาสันติภาพนี้ขึ้น ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในเวลาต่อมา ฝ่ายรัสเซียได้ส่ง เซรกี วิตเต เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายรัสเซีย ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นมี รัฐมนตรีโคะมุระ จุตะโร ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น และได้ลงนามในสันธิสัญญาสันติภาพ ในวันที่ 5 กันยายน 1905 ณ อู่ทัพเรือพอร์ตสมัท ในตำบลพอร์ทสมัท ของรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ทำให้สนธิสัญญานี้ถูกรู้จักกันในชื่อ "สนธิสัญญาพอร์ตสมัท" ในการนี้รัสเซียให้การยอมรับว่าเกาหลีเป็นเขตใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น และรัสเซียตกลงที่จะย้ายออกจากเกาหลีไปแมนจูเรีย นอกจากนี้ ภายหลังลงนาม ประธานาธิบดี ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ยังสนับสนุนให้รัสเซียปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ญี่ปุ่น ซึ่งในตอนแรก โคะมุระได้เรียกร้องค่าปฏิกรรมสงครามจากรัสเซียสูงถึง 15,000 ล้านเยน (1,490 ล้านปอนด์)[34] ก่อนที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะยินยอมไม่คิดค่าปฏิกรรมสงครามตามที่สหรัฐอเมริกาเสนอมา

รัสเซียได้ยุติสัญญาสิทธิ 25 ปีในการเช่าพอร์ตสมัท ตลอดจนน่านน้ำและคาบสมุทรในบริเวณนั้น และยกครึ่งหนึ่งส่วนใต้ของเกาะซาฮาลินแก่ญี่ปุ่น ซึ่งต่อมา ญี่ปุ่นได้เสียดินแดนส่วนนี้แก่สหภาพโซเวียตภายหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง

ผลกระทบทางการเมือง

ภาพวาดล้อเลียนของสื่ออังกฤษ; "บัลลังก์พระเจ้าซาร์กำลังสั่นคลอนเนื่องด้วยการสงครามกับญี่ปุ่น"

ชัยชนะของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะในสงครามใหญ่ครั้งแรกของชาติตะวันออกในยุคใหม่ที่มีเหนือชาติยุโรป ข่าวการพ่ายแพ้ของรัสเซียได้สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วทั้งยุโรปตลอดจนอาณานิคมต่างๆ ชื่อเสียงและบารมีของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในเวทีโลก และเริ่มได้รับการยอมรับในฐานะประเทศทันสมัย ขณะเดียวกัน รัสเซียที่สูญเสียกองเรือบอลติกนั้น แทบจะหมดความภาคภูมิและความน่ายำเกรงต่อชาติอื่นๆในยุโรป ย้อนไปเมื่อครั้งก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ตอนนั้นรัสเซียเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับฝรั่งเศสและเซอร์เบีย การพ่ายแพ้ของรัสเซียในครั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เพื่อที่จะวางแผนทำสงครามต่อฝรั่งเศสและเซอร์เบีย

การคลัง

แม้ว่าก่อนสงครามรัสเซียจะมีทองคำสำรองในท้องพระคลังมูลค่ากว่า 106.3 ล้านปอนด์ แต่รัสเซียกลับขาดดุลงบประมาณแผ่นดินติดต่อกันหลายปีจนต้องกู้เงินจากต่างประเทศ[35] งบประมาณด้านสงครามส่วนใหญ่ของรัสเซียใช้เงินกู้จากฝรั่งเศสเป็นหลัก แม้ว่าฝรั่งเศสจะไม่ต้องการเข้ามีส่วนร่วมในการสงครามทั้งทางตรงและอ้อม แต่รัฐบาลฝรั่งเศสตลอดจนธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของฝรั่งเศสก็จำใจต้องให้เงินกู้แก่รัสเซียด้วยตระหนักว่าผลประโยชน์ตลอดจนเศรษฐกิจของสองประเทศนั้นถูกผูกไว้ด้วยกัน วงเงินกู้แรกมีมูลค่า 800 ล้านฟรังก์ (30.4 ล้านปอนด์) วงเงินกู้ครั้งต่อมาจะมีมูลค่า 600 ล้านฟรังก์แต่ก็ถูกยกเลิกก่อน นอกเหนือไปจากการกู้เงินจากฝรั่งเศส รัสเซียยังได้ทำการกู้เงินจำนวน 500 ล้านมาร์กจากเยอรมัน ซึ่งเยอรมันเองก็จัดสรรเงินกู้เพื่อการสงครามให้แก่รัฐบาลญี่ปุ่นด้วย[35][36]

เปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ก่อนสงครามมีทองคำสำรองมูลค่าเพียง 11.7 ล้านปอนด์ (118 ล้านเยน) ทำให้เมื่อญี่ปุ่นต้องทำสงครามกับรัสเซีย เงินทุนส่วนใหญ่ในการทำสงครามจึงมาจากการก่อหนี้ ญี่ปุ่นได้ตั้งงบประมาณสำหรับสงครามครั้งนี้ไว้ที่ไม่เกิน 1,721 ล้านเยน[34] ในจำนวนนี้ 42% เป็นเงินกู้ในประเทศ และอีก 40% เป็นเงินกู้ต่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่กู้จากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ที่เหลืออีก 11% ใช้เงินคลังของรัฐบาลญี่ปุ่น[34] อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามสิ้นสุดพบว่าการเบิกจ่ายจริงอยู่ที่ราว 1,500 ล้านเยน

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น http://www.csmonitor.com/2005/1230/p04s01-woap.htm... http://users.erols.com/mwhite28/warstat3.htm#RJW http://flot.com/history/steemfleet/index.htm http://books.google.com/?id=Jr8CAAAAYAAJ&dq=%22Rev... http://www.highbeam.com/doc/1P3-840737501.html http://www.russojapanesewar.com/ http://www.upi.com/Top_News/2006/06/16/Montenegro_... http://www.lib.byu.edu/~rdh/wwi/1914m/portsmouth.h... http://www.stanford.edu/class/slavgen194a/na_sopka... http://www.yale.edu/lawweb/avalon/lawofwar/hague03...