ชนวนเหตุ ของ สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย

เป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ ที่ภูมิภาคยุโรปกลางถูกแบ่งออกเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยของหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ละรัฐก็มีอิสรภาพเป็นของตนเองด้วยความช่วยเหลือจากรัฐมหาอำนาจอื่นๆ ออสเตรียเป็นดินแดนที่ปกครองโดยราชวงศ์ที่เก่าแก่และทรงอิทธิพลอย่างราชวงศ์ฮับส์บูร์ก และรัฐเยอรมันเล็กน้อยเหล่านี้ก็ต่างยอมรับราชวงศ์ฮับส์บูร์กเป็นผู้นำของชนชาติที่พูดภาษาเยอรมัน จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 18 ราชอาณาจักรปรัสเซียก็เริ่มมีอิทธิพลขึ้นมาและกลายเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ทำให้ภาวะผู้นำของราชวงศ์ฮับส์บูร์กเริ่มสั่นคลอน

ต้นศตวรรษที่ 19 เกิดสงครามนโปเลียนขึ้นในยุโรปภาคพื้นทวีป นโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศสได้นำกองทัพใหญ่เข้ายึดครองรัฐเยอรมันต่างๆจากราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กจำยอมต้องลงนามในสนธิสัญญาเชินบรุนน์ในปี 1806 เพื่อยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน แม้ฮับส์บูร์กจะเหลือรัฐเยอรมันในปกครองอยู่อีกหลายรัฐแต่ก็ฮับส์บูร์กก็เสื่อมอิทธิพลลงมาก จนกระทั่งเมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจในปี 1815 บรรดารัฐเยอรมันก็กลับมารวมกลุ่มกันอีกครั้งอย่างหลวมๆในชื่อสมาพันธรัฐเยอรมันโดยมีจักรพรรดิออสเตรียเป็นองค์ประธาน[4]

ในปี 1864 ออสเตรียกับปรัสเซียได้เป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามกับเดนมาร์กและได้รับชัยชนะ ทำให้เดนมาร์กต้องสูญเสียรัฐชเลสวิช, ฮ็อลชไตน์ และเลาเอินบวร์ค ซึ่งทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียว่าใครจะปกครองชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ ออสเตรียตัดสินใจนำข้อพิพาทเข้าสู้ที่ประชุมสภาเยอรมันและเรียกประชุมรัฐสภาฮ็อลชไตน์ ฝ่ายปรัสเซียตอบโต้โดยการประกาศว่าข้อตกลงต่างๆเกี่ยวกับกรณีพิพาทที่เคยทำไว้กับออสเตรียในคราวการประชุมกัสชไตน์ถือเป็นโมฆะและส่งกองทัพปรัสเซียเข้ารุกรานฮ็อลชไตน์ เมื่อสภาเยอรมันมีมติให้เรียกระดมกำลังพลเพื่อต่อต้านปรัสเซีย นายกรัฐมนตรีปรัสเซีย ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ออกมากล่าวว่าสมาพันธรัฐเยอรมันได้จบลงแล้ว

  จักรวรรดิออสเตรีย
  พันธมิตรของออสเตรีย
  ราชอาณาจักรปรัสเซีย
  พันธมิตรของปรัสเซีย
  ดินแดนในพิพาท
  รัฐที่วางตัวเป็นกลาง

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม