พม่าสามารถยึดเมืองพิษณุโลกได้ ของ สงครามอะแซหวุ่นกี้

อะแซหวุ่นกี้ล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่ 4 เดือน สุดท้ายสามารถตัดขาดกำลังบำรุงของกรุงธนบุรีได้อย่างเด็ดขาด ทำให้ภายในเมืองพิษณุโลกขาดแคลนเสบียงอาหาร เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เห็นแล้วว่าไม่อาจต้านศึกนี้ได้อีกต่อไป จึงนำกำลังทหารและผู้คนตีฝ่าวงล้อมไปตั้งมั่นที่บ้านมุงดอนชมพู แขวงเมืองเพชรบูรณ์ ทำให้อะแซหวุ่นกี้สามารถนำกองทัพบุกเข้าไปในเมืองพิษณุโลกได้สำเร็จ แต่ก็ขาดแคลนเสบียงอาหารเช่นเดียวกัน เนื่องจากเจ้าพระยาทั้งสองก็หาทางตัดเสบียงของกองทัพพม่ามาโดยตลอด แต่เนื่องจากเส้นทางลำเลียงเสบียงทางด่านแม่ละเมา ตาก สุโขทัยยังอยู่ในการดูแลของพม่า ทำให้อะแซหวุ่นกี้ยังสามารถทำศึกได้ต่อไปได้ แต่ก็ต้องเสียเวลาจัดเตรียมเสบียงอาหารอยู่หลายวัน ก่อนมุ่งสู่กรุงธนบุรีต่อไป [5]

อะแซหวุ่นกี้ชื่นชมเจ้าพระยาจักรี

แม้อะแซหวุ่นกี้จะสามารถพิชิตเมืองพิษณุโลกได้ แต่ก็ชื่นชมแม่ทัพศัตรูเป็นอย่างมากที่สามารถมองแผนการของเขาออกแทบทุกอย่าง ตามบันทึกในพงศาวดารฝ่ายไทย (ฝ่ายเดียว) เล่าว่าโดยก่อนหน้านั้นฝั่งสยามและฝั่งพม่าได้หยุดพักรบ และอะแซหวุ่นกี้ได้ขอดูตัวเจ้าพระยาจักรี พร้อมกับทำนายว่าในภายภาคหน้าจะได้เป็นกษัตริย์โดยมีเนื้อหาดังนี้
อะแซหวุ่นกี้ให้ล่ามถามเจ้าพระยาจักรีว่าอายุเท่าใด เจ้าพระยาจักรีให้บอกไปว่าอายุได้ 30 เศษ แล้วจึงให้ถามอายุอะแซหวุ่นกี้บ้าง บอกมาว่าอายุได้ 72 ปี อะแซหวุ่นกี้พิจารณาดูรูปลักษณะเจ้าพระยาจักรีแล้วสรรเสริญว่า ท่านนี้รูปก็งาม ฝีมือก็เข้มแข็ง อาจสู้รบเราผู้เป็นผู้เฒ่าได้ จงอุตส่าห์รักษาตัวไว้ ภายหน้าจะได้เป็นกษัตริย์เป็นแท้” แล้วให้เอาเครื่องม้าทองสำรับ 1 กับสักหลาดพับ 1 ดินสอแก้ว 2 ก้อน น้ำมันดิน 2 หม้อมาให้เจ้าพระยาจักรี ๆ ก็ให้ของตอบแทนตามสมควร

  • เมื่อก่อนอะแซหวุ่นกี้จะกลับไปค่ายให้ล่ามบอกเจ้าพระยาจักรีว่า

"ท่านจงรักษาเมืองไว้ให้มั่นคงเถิด เราจะตีเอาเมืองพิษณุโลกให้จงได้ในครั้งนี้ ต่อไปภายหน้าพม่าจะตีเมืองไทยไม่ได้อีกแล้ว" [6]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว