อิตาลีบุก ของ สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง

วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1935 พลเอกเอมิลิโอ เด โบโน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกทั้งหมด [18] นอกจากนี้ เด โบโน ยังเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพในแนวรบด้านเหนือ ซึ่งรุกเข้ามาทางด้านเอริเทรียด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง กองทัพของเขาควบคุมหน่วยรบจำนวนทั้งหมด 9 กองพล จาก 3 กองทัพน้อย อันได้แก่ กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 กองทัพน้อยอิตาลีที่ 2 และกองทัพน้อยเอริเทรีย

พลเอกโรดอลโฟ กราซีอานีเป็นผู้ช่วยของเด โบโน โดยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพในแนวรบด้านใต้ ซึ่งรุกเข้ามาทางด้านโซมาลีแลนด์ของอิตาลี ในชั้นต้นนั้น กราซีอานีคุมหน่วยรบ 2 กองพล และหน่วยรบขนาดย่อยอื่นๆ อีกจำนวนมาก ประกอบด้วยทหารจากหลากหลายเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี โซมาลี เอริเทรีย ลิเบีย และชาติอื่นๆ เด โบโน ถือว่าโซมาลีแลนด์ของอิตาลีเป็นยุทธบริเวณรองที่จำเป็นต้องป้องกันตัวเองในชั้นต้น และอาจจะช่วยกองทัพหลักในการรุกได้หากกองกำลังฝ่ายศัตรูมีขนาดไม่ใหญ่นัก [19]

เมื่อเริ่มต้นการบุกนั้น เครื่องบินของกองทัพอากาศอิตาลีได้บินกระจายไปทั่วประเทศเอธิโอเปียเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนต่อต้านจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี และสนับสนุนอียาซูที่ 5 (Iyasu V of Ethiopia) เป็น "จักรพรรดิที่แท้จริง" ขณะนั้นอียาซูที่ 5 (อดีตจักรพรรดิของเอธิโอเปียผู้ไม่เคยได้รับการราชาภิเษกในระหว่าง ค.ศ. 1913 - 1916) มีอายุ 40 ปี และถูกถอดจากตำแหน่งจักรพรรดิมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ยังคงถูกฝ่ายอำนาจรัฐจำคุกอยู่

การรุกของเด โบโน

คำประกาศเลิกทาสในเอธิโอเปียของเอมิลิโอ เด โบโน ณ มณฑลทีเกร ในปี ค.ศ. 1935

เวลา 5.00 น. ของวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1935 เด โบโน ได้ยกทัพข้ามแม่น้ำมาเร็บและมุ่งตรงสู่เอธิโอเปียจากชายแดนด้านเอริเทรียโดยปราศจากการประกาศสงคราม [20] ฝ่ายเอธิโอเปียจึงประกาศสงครามตอบโต้การรุกรานของอิตาลี [21] การยุทธในช่วงนี้อิตาลีพบว่าถนนเป็นสิ่งที่ฝ่ายตนเสียเปรียบอย่างมากจากการข้ามมาสู่พรมแดนเอธิโอเปีย ถนนในฝั่งที่อิตาลียึดครองนั้นสร้างตรงตามแนวชายแดน ส่วนในฝั่งเอธิโอเปียปรากฏว่าถนนมักเปลี่ยนไปและไม่แน่นอน [20]

กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 สามารถยึดครองเมืองอาดิกราตได้ในวันที่ 5 ตุลาคม และในวันถัดมาเมืองอัดวาก็ตกอยู่ในความครอบครองของกองพลน้อยอิตาลีที่ 2 จักรพรรดิเฮลี เซลาสซีมีราชโองการให้ราส เซยุม มังงาชา (Seyoum Mangasha) ผู้บัญชาการกองทัพมณฑลทีเกร (Army of Tigre) ถอนกำลังออกจากแนวแม่น้ำมาเกร็บ หลังจากนั้นพระองค์จึงบัญชาให้แม่ทัพชายแดน (Dejazmach) เฮลี เซลาสซี กุกซา (Haile Selassie Gugsa) ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ถอยทัพออกห่างจากพรมแดนในระระ 35 - 55 ไมล์ [20]

วันที่ 11 ตุลาคม เฮลี เซลาสซี กุกซา และผู้ติดตาม 1,200 คน ยอมจำนนต่อกองบัญชาการส่วนหน้าของอิตาลีที่เมืองอาดากาโมส (Adagamos) เด โบโนได้แจ้งไปยังรัฐบาลที่โรมและกระทรวงข่าวสารโดยทันทีถึงการยอมจำนนครั้งสำคัญอย่างเกินจริง เฮลี เซลาสซี กุกซา เป็นพระชามาดา (ลูกเขย) ของจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี แต่ถึงแม้จะมีความสำคัญดังกล่าวก็มีแม่ทัพชายแดนเกือบ 10 คนที่ละทิ้งเขาไป [22]

วันที่ 14 ตุลาคม เด โบโน ได้ออกประกาศให้มีการประกาศทาสในเอธิโอเปีย อย่างไรก็ตาม เขาได้บันทึกไว้ว่า "ข้าพเจ้าจำต้องกล่าวว่าการประกาศเลิกทาสมิได้มีผลมากนัดต่อบรรดานายทาส และบางทีคงจะมีจำนวนน้อยมากที่ยอมปลดปล่อยทาสเป็นอิสระ ยิ่งกว่านั้นในระยะต่อมา ทันทีที่พวกเขา (ทาส) ถูกปลดปล่อย พวกเขาต่างก็พากันมาหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายอิตาลีแล้วถามว่า "แล้วใครจะให้อาหารแก่ฉันเล่า" ?"[22] ชาวเอธิโอเปียเองได้มีความพยายามเลิกทาสมาโดยตลอด โดยจักรพรรดิเอธิโอเปียแต่ละองค์นับตั้งแต่พระเจ้าเตโวดรอสที่ 2เป็นต้นมาได้ตรากฎหมายประกาศเลิกทาส[23] แต่ไม่เป็นผล

ถึงวันที่ 15 ตุลาคม กองทัพของเด โบโน ได้ยาตราจากอัดวาเข้ายึดครองนครศักดิสิทธิ์ อาซุม (Axum) โดยปราศจากการนองเลือด นายพลเด โบโน ได้ขี่ม้าขาวเข้าเมืองเยี่ยงผู้ชนะ อย่างไรก็ตาม กองทหารของเขาได้เข้าปล้นสะดมที่เสาศิลาแห่งอาซุม (Obelisk of Axum)

การรุกคืบของเด โบโน ดำเนินต่อไปอย่างเป็นแบบแผน ตายตัว และเชื่องช้าจนแม้แต่มุสโสลินีก็ยังตกตะลึง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน กองทัพน้อยอิตาลีที่ 1 และกองทัพน้อยเอริเทรียเข้ายึดเมืองเมกเอล (Mek'ele) สิ่งนี้ได้ทำให้ความอดทนของอิตาลีที่มีต่อการรุกของเด โบโน ดำเนินมาถึงขีดสุด [24] ในวันที่ 16 พฤศจิกายน เด โบโน ได้รับการเลื่อนยศให้เป็นจอมพลแห่งอิตาลี (Maresciallo d'Italia) แต่เมื่อถึงเดือนธันวาคมเขาก็ถูกถอดจากยศนี้และถูกแทนที่โดยจอมพลปีเอโตร บาโดลโย ด้วยเหตุที่ทำการรบอย่างเชื่องช้า อันเป็นลักษณะที่อันตรายในการรุกของเด โบโน [25]

การรุกวันคริสต์มาสของเอธิโอเปีย

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ช่วงมืดมนในสงคราม

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ฮออาเร-ลาวาล

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ก๊าซพิษ

{{ทหารอิตาลีใช้ก๊าชชัลเฟอร์มัสตาร์ดกับทหารเอธิโอเปีย

กองทัพใหม่ของอิตาลีรุกขึ้นเหนือ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แนวรบด้านใต้

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การเดินทัพแห่งเจตจำนงเหล็ก

ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1936 เมื่อบาโดลโยเริ่ม "การเดินทัพแห่งเจตจำนงเหล็ก" ("March of the Iron Will") จากเมืองเดสซี (Dessie) สู่กรุงอาดดิสอาบาบา เขาได้เผชิญกับการต่อต้านอันสูญเปล่าของชาวเอธิโอเปีย บาโดลโยได้เสี่ยงทำการรุกคืบโดยแถวรถยานเกราะนื่องจากการต่อต้านมีอยู่เพียงเล็กน้อย [26]

ก่อนวันที่ 2 พฤษภาคมเพียงเล็กน้อย จักรพรรดิเฮลี เซลาสซีได้ประทับรถไฟจากอาดดิสอาบาบาไปยังจิบูตี จากที่นั้นพระองค์ได้เสด็จไปยังอังกฤษและขอลี้ภัยทางการเมือง ก่อนเสด็จออกจากประเทศ พระองค์ได้มีพระราชโองการให้ย้ายรัฐบาลไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกอเร (Gore) ให้นายกเทศมนตรีกรุงอาดดิสอาบาบารักษาเมืองไว้จนกว่ากองทัพอิตาลีจะมาถึง และทรงแต่งตั้งให้เจ้าชายราส อิมรู เฮลี เซลาสซี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในระหว่างที่พระองค์ไม่ประทับในประเทศ กองตำรวจรักษาพระนครภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรีอาเบเบ อาเรไก (Abebe Aregai) และกองทหารรักษาพระองค์ที่ยังเหลืออยู่ได้พยายามยับยั้งการจลาจลที่กำลังก่อตัวขึ้นอยู่ตลอดเวลาอย่างถึงที่สุด ทว่าในวันแรกหลังการลี้ภัยของพระเจ้าแผ่นดิน การรักษาความสงบก็ถูกยกเลิก ผู้ก่อการจลาจลกลายเป็นผู้กุมสถานการณ์แทนและก่อความวุ่นวายไปทั่วทั้งเมือง ทั้งการปล้นและวางเพลิงร้านค้าที่ชาวยุโรปเป็นเจ้าของ[27]

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามแปซิฟิก สงครามเกาหลี สงครามอ่าว สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามครูเสด สงครามกัมพูชา–เวียดนาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่สอง http://www.angelfire.com/ny/ethiocrown/HaileII.htm... http://users.erols.com/mwhite28/warstat3.htm http://www.onwar.com/aced/nation/ink/italy/fitalye... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,8... http://www.workmall.com/wfb2001/ethiopia/ethiopia_... http://www.mtholyoke.edu/acad/intrel/selassie.htm http://blog.libero.it/wrnzla/ http://www.regioesercito.it/campagne/etiopia/index...