สงครามโตโยตา
สงครามโตโยตา

สงครามโตโยตา

ชาดและฝรั่งเศสชนะสงครามโตโยตา (อาหรับ: حرب تويوتا‎, อักษรโรมัน: Ḥarb Tūyūtā, ฝรั่งเศส: Guerre des Toyota) หรือ มหาสงครามโตโยตา[9] เป็นช่วงท้ายของความขัดแย้งชาด–ลิเบียที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1987 สงครามสู้รบทางเหนือของชาดและพรมแดนชาด–ลิเบีย สงครามนี้ได้ชื่อมาจากรถกระบะโตโยต้า โดยเฉพาะโตโยต้า ไฮลักซ์และโตโยต้า แลนด์ครูเซอร์ที่ทหารชาดใช้ในการเคลื่อนพลและต่อสู้กับฝ่ายลิเบีย[10] สงครามโตโยตาจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของลิเบีย ซึ่งแหล่งข้อมูลอเมริกันระบุว่าลิเบียเสียทหาร 7,500 คน คิดเป็นหนึ่งในสิบของกองทัพ และยุทโธปกรณ์เสียหายหรือถูกยึดเป็นมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[11] ขณะที่ฝ่ายชาดเสียทหารเพียง 1,000 คน[8]สงครามโตโยตาเริ่มขึ้นเมื่อลิเบียยึดครองตอนเหนือของชาดใน ค.ศ. 1983 หลังมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียปฏิเสธไม่ยอมรับความชอบธรรมของฮิเซน ฮาเบร ประธานาธิบดีชาด ฝ่ายลิเบียได้รับการสนับสนุนทางทหารจากกลุ่มรัฐบาลเปลี่ยนผ่านแห่งชาติ (GUNT) ในการโค่นล้มฮาเบร แต่แผนการนี้ล้มเหลวเมื่อฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงในปฏิบัติการมันตาและปฏิบัติการเอแปร์วีเยที่หยุดยั้งการรุกของลิเบียไว้ที่เหนือเส้นขนานที่ 16 องศาเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งและมีคนอาศัยอยู่น้อยของชาด[12]ค.ศ. 1986 กลุ่ม GUNT ขัดแย้งกับกัดดาฟี ทำให้ลิเบียเสียความชอบธรรมในการคงกำลังทหารในชาด ฮาเบรฉวยโอกาสนี้สั่งยกทัพข้ามเส้นขนานที่ 16 ในเดือนธันวาคม[13] ภายในสามเดือน ฮาเบรที่ใช้ยุทธวิธีกองโจรและการสงครามตามแบบสามารถยึดพื้นที่ทางเหนือคืนจากลิเบียได้เกือบทั้งหมด[14] ชาดกับลิเบียตกลงหยุดยิงในเดือนกันยายน ค.ศ. 1987 แต่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องข้อพิพาทฉนวนเอาซู จนใน ค.ศ. 1994 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินให้ฉนวนเอาซูเป็นของชาด

สงครามโตโยตา

วันที่สถานที่ผล
วันที่16 ธันวาคม ค.ศ. 1986 – 11 กันยายน ค.ศ. 1987
(8 months, 3 weeks and 5 days)
สถานที่จังหวัดบอร์กู-เอนเนดี-ตีเบสตี, ชาด
ผล

ชาดและฝรั่งเศสชนะ

• ทหารลิเบียถูกขับออกจากชาด
ผล

ชาดและฝรั่งเศสชนะ

• ทหารลิเบียถูกขับออกจากชาด
สถานที่ จังหวัดบอร์กู-เอนเนดี-ตีเบสตี, ชาด
วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1986 – 11 กันยายน ค.ศ. 1987
(8 months, 3 weeks and 5 days)

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามเกาหลี สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามอ่าว