ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก ของ สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

ภายในอาสนวิหารซานตามาเรียมายอเรผังบาซิลิกาซานวิทาลเลที่เป็นรูปดอกไม้ด้านหน้าที่แต่งอย่างสวยหรูที่อาสนวิหารโรมาเนสก์อองจูลีม (Angouleme Cathedral) ที่ฝรั่งเศสด้านหน้าแบบกอธิคของอาสนวิหารโนเตรอดามแห่งปารีสโดมของอาสนวิหารฟลอเรนซ์แบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสูงที่อาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ โดยด้านหน้าเป็นของ คาร์โล มาเดอร์โน และโดมโดย ไมเคิลแอนเจโล

สถาปัตยกรรมคริสเตียนยุคแรก

ดูบทความหลักที่ ศิลปะคริสเตียนยุคแรก

ลักษณะสถาปัตยกรรมคริสเตียนยุคแรกในการก่อสร้างอาสนวิหารจะเห็นได้จาก อาสนวิหารซานตามาเรียมายอเรที่โรม ภายในอาสนวิหารนี้ยังรักษารูปทรงเดิมตั้งแต่เมื่ออาสนวิหารสร้างเป็นครั้งแรก โถงกลางภายในจะกว้างใหญ่อย่างบาซิลิกาทางท้ายวัดเป็นมุขยื่นออกไปอย่างง่ายๆ ทางเดินกลางประกบสองข้างด้วยเสาเป็นเส้นตรงรับด้วยบัวคอร์นิซแทนที่จะเป็นซุ้มโค้ง และการตกแต่งภายในจะเป็นโมเสกโดยเฉพาะบริเวณบริเวณพิธีโดยเฉพาะภายใต้มุขตะวันออก อีกสองอาสนวิหารที่โรมที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมคริสเตียนยุคแรกเช่นกันก็คือซานตาซาบินา (Santa Sabina) และ อาสนวิหารอควิลเลีย (Cathedral of Aquileia) ที่จะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้างแบบบาซิลิกาซึ่งจะตกแต่งอย่างเรียบง่ายซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างอาสนวิหารยุคแรก[8][5][9]

สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์

เมืองราเวนนาทางตะวันออกของอิตาลีเต็มไปด้วยวัดและอาสนวิหารที่ใช้โครงสร้างเป็นแบบบาซิลิกาที่สร้างมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิจัสติเนียน (Emperor Justinian) เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผังของอาสนวิหารซานอพอลลินาเรนูโอโว (San Apollinare Nuovo) ก็คล้ายกับอาสนวิหารซานตามาเรียมายอเรที่โรมแต่รายละเอียดการแกะสลักจะไม่เป็นลักษณะแบบโรม การตกแต่งด้วยโมเสกภายในวัดนี้เก็ยังอยู่ในสภาพที่ดีมาก

อีกอาสนวิหารหนึ่งในราเวนนาที่สร้างในสมัยเดียวกันคืออาสนวิหารซานวิทาลเล ผังของอาสนวิหารนี้เป็นแบบศูนย์กลางที่มีโดมตรงกลาง มีเนื้อที่ภายในด้วยกันทั้งหมด 25 ตารางเมตร โดมกลางล้อมรอบด้วยคูหาโค้ง 8 คูหาแยกกระจายออกจากโถงกลาง แต่ละคูหาคลุมด้วยโดมครึ่งวงกลมทำให้ผังดูเหมือนรูปดอกไม้ การตกแต่งก็เริ่มซับซ้อนขึ้นโดยการเล่นซุ้มโค้งซ้อนกันหลายชั้นซึ่งไม่มีสิ่งก่อสร้างใดที่จะเปรียบได้จนมาถึงวัดบาโรกซานตามาเรียเดลลาซาลูเท (Santa Maria della Salute) ใกล้เมืองเวนิสที่สร้างราวพันปีต่อมา อาสนวิหารที่พยายามสร้างเลียนแบบอาสนวิหารซานวิทาลเลก็ได้แก่อาสนวิหารอาเคินที่ประเทศเยอรมนี

อาสนวิหารสำคัญที่สุดวัดหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบไบแซนไทน์คืออาสนวิหารซานมาร์โค (San Marco Basilica) ที่เมืองเวนิส ที่เรียกว่าบาซิลิกานี้มิใช่เป็นเพราะลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบบาซิลิกา แต่เป็นฐานะของอาสนวิหารที่ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้เป็นบาซิลิกา ถึงแม้ว่าอาสนวิหารนี้จะมีการต่อเติมเปลี่ยนแปลงมาตลอดแต่โครงสร้างตัววัดโดยทั่วไปยังรักษาทรงดั้งเดิมไว้ คือเป็นผังแบบศูนย์กลางแบบไบแซนไทน์ทรงกากบาท เหนือโถงกลางเป็นโดมใหญ่ล้อมด้วยโดมเล็กกว่าอีกสี่โดม การตกแต่งทั้งภายนอกและภายในเป็นลักษณะศิลปะไบแซนไทน์แท้ โดยตกแต่งด้วยโมเสกอย่างวิจิตรและหินอ่อนฝังแบบหน้าไม้หลากสี[8][11]

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

หลังจากที่จักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลงเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 การสร้างวัดใหญ่ๆ ในยุโรปตะวันตกก็เริ่มแพร่หลายกันมากขึ้นตามการขยายตัวของสำนักสงฆ์เช่น ลัทธิออกัสติเนียน หรือ ลัทธิเบ็นนาดิคติน และลัทธิอื่นๆ ภายใต้การนำของสาวกของลัทธิ สำนักสงฆ์ขนาดใหญ่อย่างสำนักสงฆ์คลูนี (Cluny Abbey) ก็สร้างในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันเหลือสิ่งก่อสร้างอยู่เพียงไม่กี่สิ่ง ลักษณะของวัดคลูนีเป็นแบบโรมัน เสาอ้วน กำแพงหนา หน้าต่างแคบเล็ก และซุ้มโค้ง

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์เผยแพร่ไปพร้อมกับการเผยแพร่ของสำนักสงฆ์ลัทธิต่างๆ ไปทั่วยุโรป วิธีการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีหลังคาโค้งสูงก็เริ่มมาฟื้นฟูขึ้นอีก แต่การตกแต่งจะหันกลับไปหาการตกแต่งของศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะศาสนาซึ่งมาจากศิลปะสมัยก่อนคริสต์ศาสนาและเป็นศิลปะท้องถิ่นเช่นการใช้ลวดลายหยักซิกแซก ลายม้วนก้นหอย หรือรูปสลักหัวสัตว์หรือสัตว์/มนุษย์ในจินตนาการที่หน้าตาน่าเกรงขาม หรืออสุรกาย ผนังจะทาสีแบบจิตรกรรมฝาผนังแต่ฝีมือจะยังค่อนข้างหยาบ สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์เผยแพร่มาถึงอังกฤษพร้อมกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 1จากนอร์ม็องดี (ทางเหนือของประเทศฝรั่งเศส) เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 ฉะนั้นอังกฤษจึงมักจะเรียกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน”

อาสนวิหารที่เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ก็ได้แก่แอบเบย์โอกสซอม (Abbaye aux Hommes) ที่เมืองแคน (Caen) ประเทศฝรั่งเศส อาสนวิหารเวิมส์ ที่เยอรมนี อาสนวิหารปิซา (Pisa Cathedral) และ อาสนวิหารพาร์มา (Parma Cathedral) ที่ประเทศอิตาลี และ อาสนวิหารเดอแรม ที่อังกฤษ[15][8][11]

สถาปัตยกรรมกอธิค

ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมกอธิค

พอมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 อาสนวิหารและสำนักสงฆ์ใหญ่ๆ ก็สร้างกันเสร็จ ความชำนาญของสถาปนิกในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหญ่โตเช่นอาสนวิหารที่ประกอบด้วยโค้งสูง หลังคาหิน หอคอยสูงเป็นต้นก็เพิ่มมากขึ้น ลักษณะการก่อสร้างจึงวิวัฒนาการขึ้นทำให้สิ่งก่อสร้างเริ่มลดความเทอะทะลง หน้าต่างก็เริ่มกว้างกว่าเดิมบ้าง เพดานโค้งสูงที่รับน้ำหนักก็มีลักษณะเบาขึ้น เพดานที่เคยเป็นโค้งครึ่งวงกลมเริ่มแหลมขึ้น เพดานโค้งแหลมกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของเพดานกอธิคที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ ในสมัยนี้มีการวิวัฒนาการใช้ค้ำยันที่เรียกว่าค้ำยันแบบปีกที่กางออกไปจากสิ่งก่อสร้าง ซึ่งช่วยแบ่งเบาการรับน้ำหนักของหลังคาและตัวกำแพงเอง สถาปนิกจึงสามารถสร้างกำแพงที่บางลงได้ เป็นผลที่สามารถทำให้สร้างหน้าต่างได้กว้างใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะการแบ่งหน้าต่างเป็นส่วนๆ ด้วยช่องหินที่ตกแต่งอย่างสวยงามคล้ายลูกไม้ ตัวอย่างของการสร้างหน้าต่างใหญ่จะเห็นได้ชัดในประเทศอังกฤษโดยเฉพาะที่อาสนวิหารกลอสเตอร์ที่มีหน้าต่างขนาดมหึมาด้วยกันทั้งหมด 5 บานโดยเฉพาะในคูหาสวดมนต์พระแม่มารีทางตะวันออกสุดของวัดหน้าต่างแต่ละหน้าต่างจะจรดกำแพงสองด้านทำให้ทั้งคูหาดูคล้ายห้องกระจก

ตัวหน้าต่างก็อาจจะตกแต่งด้วยกระจกสีเป็นเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม พันธสัญญาใหม่ ประวัตินักบุญ ประวัตินักบวชที่มีบทบาทในการสร้างอาสนวิหาร พระเจ้าแผ่นดิน หรือบุคคลสำคัญๆ ในท้องถิ่น

ตัวอย่างของอาสนวิหารสำคัญๆ ที่แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมกอธิคก็ได้แก่

สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์

ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ทางอาสนวิหารฟลอเรนซ์ได้จัดให้มีการประกวดการออกแบบหอกลางเหนือจุดตัดระหว่างแขนกางเขนและทางเดินกลาง สถาปนิกที่ชนะการประกวดคือฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากโดมที่ได้ไปเห็นมาระหว่างการท่องเที่ยว เช่นที่อาสนวิหารซานวิทาลเลที่ราเวนนา หรือตึกแพนธิออนที่โรม บรูเนลเลสกีจึงออกแบบโดมใหญ่แบบโรมันและมีหลังคาอย่างแพนธิออน สิ่งก่อสร้างนี้ถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างชิ้นแรกของสมัยเรอเนซองส์ หรือ ฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่จริงแล้วลักษณะหลังคาโค้งของบรูเนลเลสกีไม่ใช้หลังคาโดมครึ่งวงกลมแต่เป็นหลังคาโค้งแหลมแบบมีสัน (ribbed vault) ซึ่งเป็นลักษณะกอธิคโดยแท้ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาจึงเป็นการมองย้อนไปถึงเทคนิคโครงสร้างแบบโรมัน

บรูเนลเลสกีและสถาปนิกคนอื่นๆ มีแรงบันดาลใจที่จะปรับปรุงรูปแบบสถาปัตยกรรมโรมัน ซึ่งรูปทรงและการตกแต่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การวางสัดส่วนซึ่งสถาปนิกสมัยก่อนหน้าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาได้ละทิ้งไป สถาปนิกกลุ่มนี้จึงพยายามเอากฎเหล่านี้กลับมาปฏิบัติอีกครั้ง สมัยนี้จึงเป็นสมัยที่มีการตั้งสมมุติฐานทางทฤษฎีทางสถาปัตยกรรมและการทดลองทฤษฎีต่างๆที่ตั้งไว้ บรูเนลเลสกีเองก็สร้างวัดใหญ่ๆสองวัด -- วัดซานลอเรนโซ และวัดซานโตสปิริตโต (San Lorenzos และ Santo Spirito) -- ในเมืองฟลอเรนซ์ เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสมมุติฐานทางทฤษฎีที่เขาตั้งขึ้นสามารถนำมาปฏิบัติได้ วัดนี้คือทฤษฎีศิลปะคลาสสิกที่ประกอบด้วยแนวเสากลม หัวเสาโครินเธียน (Corinthian) ส่วนที่อยู่ระหว่างเสาและหลังคา (entablatures) โค้งครึ่งวงกลม และคูหาสวดมนต์[20]

อาสนวิหารที่เป็นตัวอย่างที่ดีของสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูศิลปวิทยาก็คืออาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่โรมซึ่งเป็นผลงานของ โดนาโต ดันเจโล บรามันเต, ราฟาเอล, จูลิอาโน ดา ซานกาลโล, คาร์โล มาเดอร์โน และ ไมเคิลแอนเจโล ซึ่งเป็นผู้สร้างโดมที่สูงและแคบกว่าโดมของบรูเนลเลสกีที่สร้างก่อนหน้านั้นร้อยปีที่ฟลอเรนซ์เพียงหนึ่งฟุต โดมเป็นองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดสนใจทั้งภายนอกและภายใน โดมของอาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์จะอยู่เหนือบริเวณพิธีมณฑล (chancel) และแขนกางเขน ทำให้เป็นผังของวัดเป็นทรงกากบาทแบบไบแซนไทน์ ทางเดินกลางที่เห็นยาวที่เห็นความจริงแล้วเป็นส่วนต่อเติมภายหลังที่ทำให้ผังของอาสนวิหารกลายมาเป็นแบบกางเขน

สมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ทรงมีอำนาจพอที่จะเรียกศิลปินคนใดมาออกแบบอาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ก็ได้ ในสมัยนั้นยังมิได้มีการแยกระหว่างสถาปนิก ประติมากร หรือช่างก่อสร้าง ผลที่ออกมาก็คืออาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ที่เป็นผลงานของผู้มีความสามารถดีเด่นที่สุดในสมัยนั้น ซึ่งมีทั้งความใหญ่โต ความน่าประทับใจ และมีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสิ่งก่อสร้าง[21][8][5]

สถาปัตยกรรมบาโรก

อาสนวิหารเซนต์พอลที่ ลอนดอนเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมบาโรกซึ่งเล่นเสาคู่เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมบาโรก

เมื่ออาสนวิหารเซนต์พอลสร้างเสร็จก็แสดงให้เห็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นผลจากการที่สถาปนิกได้เรียนรู้หลักเกณฑ์ต่างๆ ของการก่อสร้างแต่จงใจที่จะละเลย ผลก็คือสถาปัตยกรรมที่มีไดนามิค (Dynamic) ซึ่งรูปทรงของสิ่งก่อสร้างเหมือนจะมีชีวิตจิตใจเป็นของตัวเอง ราวกับว่าจะเคลื่อนไหวได้ดังเช่นคำว่าบาโรก (“Baroque”) ที่หมายถึงรูปทรงที่บิดวนอย่างหอยมุก (“Mis-shapen pearl”)

สมัยบาโรกมีการสร้างวัดใหญ่ๆ มากแต่ที่เป็นอาสนวิหารมีเพียงไม่กี่แห่ง ที่เด่นที่สุดก็คืออาสนวิหารเซนต์พอลที่กรุงลอนดอนที่กล่าวถึงข้างบน และอาสนวิหารเซ็นต์กอล (St. Gall Cathedral) ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อาสนวิหารบางแห่งอาจจะมีองค์ประกอบบางส่วนที่มาต่อเติมภายหลังที่เป็นแบบบาโรกเช่นการตกแต่งด้านหน้าวัด ฉากหลังแท่นบูชา หรือคูหาสวดมนต์ อย่างเช่นด้านหน้าของอาสนวิหารซานติเอโก เดอ คอมโพสเตลลา (Santiago de Compostela) หรือ อาสนวิหารวัลลาโดลิด (Valladolid Cathedral) ที่ประเทศสเปน ซึ่งมาต่อเติมเป็นแบบบาโรกภายหลัง แต่ที่จะเห็นเป็นอาสนวิหารแบบบาโรกทั้งอาสนวิหารค่อนข้างจะหายาก

สิ่งที่น่าสนใจของอาสนวิหารเซนต์พอลก็คือเป็นอาสนวิหารที่ออกแบบโดยสถาปนิกคนเดียวและสร้างเสร็จในระยะสั้น สถาปนิกที่กล่าวถึงคือเซอร์คริสโตเฟอร์ เร็น (Sir Christopher Wren) ซึ่งเป็นสถาปนิกคนสำคัญของอังกฤษ ตัวอาสนวิหารสร้างแทนอาสนวิหารเดิมที่ถูกไฟไหม้ระหว่างที่เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในลอนดอน เมื่อ ค.ศ. 1666 สถาปัตยกรรมของอาสนวิหารเป็นแบบบาโรกแต่เป็นบาโรกแบบอังกฤษที่ค่อนข้างจะรัดตัวไม่เช่นบาโรกแบบทางใต้ของประเทศเยอรมนีซึ่งจะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา สีสันและการมีลูกเล่น แต่ผลของสิ่งก่อสร้างของเร็นคือสิ่งก่อสร้างที่แสดงความสง่าภูมิฐานโดยเฉพาะการใช้โดมอย่างเช่นการใช้โดมของบรูเนลเลสกีที่ฟลอเรนซ์ ซึ่งไม่แต่จะคลุมแต่เฉพาะทางเดินกลางวัดแต่เลยออกไปถึงทางเดินข้างทำให้มีความรู้สึกว่าพื้นที่กลางวัดกว้างกว่าที่เป็นจริงและโล่ง[19][22][18]

สถาปัตยกรรมฟื้นฟู

อาสนวิหารเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอนเป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟู อาสนวิหารลิเวอร์พูลสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ดูบทความหลักที่ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค, สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก

สถาปัตยกรรมฟื้นฟู เป็นสมัยที่สถาปนิกหันไปฟื้นฟูการก่อสร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคเดิมเช่น ไบแซนไทน์ กอธิค หรือ เรอเนซองส์ ถ้าเลียนแบบกอธิคก็จะเรียกว่า “สถาปัตยกรรมกอธิคฟื้นฟู” หรือ ถ้าเลียนแบบเรอเนซองส์ ก็เรียกว่า “สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ฟื้นฟู” เป็นต้น

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 เป็นช่วงเวลาของการขยายอาณานิคมไปทั่วโลกโดยประเทศในทวีปยุโรปตะวันตกขณะเดียวกับเกิดการฟื้นฟูความสนใจทางคริสต์ศาสนาโดยเฉพาะในประเทศอังกฤษที่หันกลับให้ความสนใจกับนิกายโรมันคาทอลิกมากขึ้น นอกจากนั้นความเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชน ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดมีความต้องการในสิ่งก่อสร้างทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น ลักษณะสถาปัตยกรรมกอธิคเป็นลักษณะที่สถาปนิกสมัยฟื้นฟูเชื่อกันว่าเป็นลักษณะที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาทั้งในทวีปยุโรปเองและในประเทศที่อยู่ในเครืออาณานิคมที่ปกครอง

ตัวอย่างของอาสนวิหารแบบกอธิคฟื้นฟูก็ได้แก่ อาสนวิหารลิเวอร์พูล (Liverpool Cathedral) ที่อังกฤษ อาสนวิหารเซ็นต์จอห์นดิไวน์ (Cathedral of Saint John the Divine) ที่นิวยอร์ก และอาสนวิหารเซ็นต์แพททริค (St Patrick's Cathedral) ที่เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

สถาปัตยกรรมสมัยนี้มิได้เป็นการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมกอธิคไปทั้งหมด เช่น อาสนวิหารเวสต์มินสเตอร์ (Westminster Cathedral) ที่กรุงลอนดอนซึ่งเป็นอาสนวิหารของนิกายโรมันคาทอลิกที่มีอาร์ชบิชอบเวสท์มินสเตอร์เป็นประมุข อาสนวิหารเวสท์มินสเตอร์เป็นสถาปัตยกรรมลักษณะลูกผสม ที่ส่วนใหญ่จะเป็นสถาปัตยกรรมแบบไบแซนไทน์โดยมีการตกแต่งด้วยกำแพงหลากสี โดม และมีหอระฆังสูงแบบอิตาลี สถาปัตยกรรมของอาสนวิหารแมรีควีนออฟสก็อตที่ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบเรอเนซองส์ฟื้นฟูที่สร้างเลียนแบบอาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม[19][8]

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่

ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนายังเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคกลางแต่ “ปอก” รายละเอียดออกจนมีลักษณะเกลี้ยงและมักจะใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างแทนที่จะเป็นหินอย่างที่เคยทำกันมา ตัวอย่างคืออาสนวิหารกิลด์ฟอร์ด ที่อังกฤษ หรือ อาสนวิหารอาร์มิเดล (Armidale Cathedral) ที่ประเทศออสเตรเลีย

หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง สถาปนิกก็ละทิ้งรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบที่เคยทำกันมาเมื่อสร้างอาสนวิหารโคเวนทรี (Coventry Cathedral) ใหม่แทนอาสนวิหารเดิมที่ถูกระเบิดทำลายไป อาสนวิหารเดิมเคยเป็นวัดประจำท้องถิ่นมาก่อนที่จะได้เลื่อนขึ้นเป็นอาสนวิหาร สิ่งที่มิได้ถูกทำลายคือมณฑป อาสนวิหารโคเวนทรีใหม่เป็นแผงอิฐสลับกับหน้าต่างประดับกระจกสีเพื่อให้สิ่งก่อสร้างใหม่เป็นสัญญลักษณ์ของความเชื่อมต่อกับอาสนวิหารเก่าโดยมิได้ลอกเลียนของเดิม

อาสนวิหารลิเวอร์พูล (Liverpool Metropolitan Cathedral) ออกแบบโดยเซอร์เฟรดเดอริค กิบเบิร์ด (Sir Frederick Gibberd) ที่สร้างในศตวรรษที่ 20 เป็นสิ่งก่อสร้างกลมใหญ่เป็นผังแบบศูนย์กลางเป็นและมีบริเวณศักดิ์สิทธิ อยู่กลางวัด[19]แทนที่จะอยู่ท้ายวัดทางบริเวณพิธีตามที่ทำกันมา โครงสร้างนี้เป็นผลโดยตรงจากปรัชญาที่มาจากการประชุมสภาวาติกันครั้งที่สองเมื่อปี ค.ศ. 1962 (Second Vatican Council) ที่เน้นให้ผู้เข้าร่วมพิธีเป็นส่วนหนึ่งของคริสต์ศาสนพิธีมิใช่เพียงแต่เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์อย่างที่เคยทำกันมา

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก http://www.stephansdom.at/data http://www.cathedraledeparis.com/ http://www.lincolncathedral.com/ http://www.paradoxplace.com/Photo%20Pages/UK/Brita... http://www.xrysostom.com/askthepastor/columns/0190... http://www.koelner-dom.de/ http://www.mcah.columbia.edu/Amiens.html http://www.stpatrickscathedral.ie/ http://www.basilicasanmarco.it/ http://www.duomofirenze.it/