กรณีศึกษา ของ สภาวะเห็นทั้งบอด

คนไข้เดินผ่านทางมีสิ่งกีดขวาง

ในปี ค.ศ. 2003 คนไข้คนหนึ่งที่รู้จักกันว่า ทีเอ็น สูญเสียคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (V1) ไป เพราะเกิดโรคลมปัจจุบันติดต่อกันถึง 2 ครั้ง ที่น็อคเอาท์เขต V1 ทั้งในสมองซีกซ้ายและในสมองซีกขวา หลังจากนั้น การทดสอบสายตาทั่ว ๆ ไปก็แสดงว่า ทีเอ็นไม่เห็นอะไรเลย ไม่สามารถแม้แต่จะตรวจจับวัตถุขนาดใหญ่ที่กำลังเคลื่อนไปอยู่ต่อหน้าของเขา ในที่สุด นักวิจัยเริ่มจะสังเกตเห็นว่า ทีเอ็นมีอาการของสภาวะเห็นทั้งบอด และในปี ค.ศ. 2008 ก็ตัดสินใจที่จะเช็คว่าเป็นอย่างนั้นหรือไม่

พวกเขาได้นำทีเอ็นไปยังทางเดินหน้าห้อง และขอให้เขาเดินผ่านทางนั้นไปโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าที่เขาถือไปด้วยเสมอตั้งแต่เกิดโรคลมปัจจุบัน ทีเอ็นไม่รู้ในตอนนั้นว่า นักวิจัยได้ตั้งสิ่งกีดขวางหลายอย่างไว้ในทางเดินเพื่อที่จะเช็คว่า ทีเอ็นสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นโดยที่ไม่มีความรู้สึกเห็นหรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นที่ทำให้นักวิจัยดีใจมากก็คือ เขาสามารถหลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้นไปได้อย่างง่ายดาย และครั้งหนึ่งสามารถที่จะเกาะติดผนังไปเพื่อจะเบียดผ่านถังขยะที่อยู่ในทาง หลังจากเดินผ่านทางเดินนั้นไปแล้ว ทีเอ็นบอกว่า เขาเพียงแต่เดินไปในทางที่เขาอยากจะไป ไม่ใช่เพราะว่า เขารู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้น (de Gelder, 2008) (ดู วีดีโอ - ทีเอ็นเดินทางเลี่ยงอุปสรรคทั้งที่มองไม่เห็น)

คนไข้ฉวยจับไม้เท้าในแนวที่ถูกต้อง

อีกกรณีหนึ่งที่บันทึกไว้ในหนังสือ "สรีรภาพในพฤติกรรม (Physiology of Behavior)" พิมพ์ครั้งที่ 11 ของ คาร์ลสัน ได้ให้ความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสภาวะเห็นทั้งบอด ในกรณีนี้ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งพาปู่ (หรือตา) ของเธอมาหานักประสาทจิตวิทยา ปู่ของเด็กผู้ชื่อว่า นายเจ ได้เกิดโรคลมปัจจุบันซึ่งทำให้เขาตาบอดเกือบทั้งหมดยกเว้นจุดเล็ก ๆ ในใจกลางของลานสายตา นักประสาทจิตวิทยาผู้ชื่อว่า คุณหมอเอ็ม ได้ทำกายบริหารร่วมกับเขา

คุณหมอได้ช่วยคุณปู่เจให้ไปนั่งที่เก้าอี้ หลังจากนั้นก็ขอยืมไม้เท้าของคุณปู่ แล้วคุณหมอก็บอกว่า "คุณเจ โปรดมองตรง ๆ ไปข้างหน้า ให้มองไปเรื่อย ๆ และอย่าขยับตาหรือหันหน้า ผมรู้ว่าคุณสามารถเห็นได้หน่อยหนึ่งตรงข้างหน้า แต่ผมไม่ต้องการให้คุณใช้ส่วนที่มองเห็นในการบริหารที่ผมจะให้คุณทำ ดีมากครับ ต่อไปนี้ ผมอยากจะให้คุณเอื้อมมือขวาออกไป แล้วชี้ไปตรงตำแหน่งที่ผมกำลังถือของไว้"

คุณปู่เจตอบว่า "แต่ว่าผมไม่เห็นอะไรเลยนะครับ ผมตาบอด!" คุณหมอจึงตอบว่า "ผมทราบครับ แต่ว่า อย่างไรก็ดี ขอให้ลองทำดู" คุณปู่จึงยักไหล่แล้วก็ชี้ไป แล้วจึงเกิดความประหลาดใจเมื่อนิ้วไปกระทบกับปลายไม้เท้าที่คุณหมอกำลังชี้ไปทางคุณปู่อยู่ คุณปู่จึงกล่าวว่า "บังเอิญจังเลย"

หลังจากนั้น คุณหมอจึงหมุนไม้เท้าให้ด้ามถือหันไปทางคุณปู่ แล้วก็ขอให้คุณปู่ฉวยเอาไม้เท้านั้น คุณปู่เอื้อมมือที่แบออกแล้วก็ฉวยเอาไม้เท้านั้น หลังจากนั้น คุณหมอก็กล่าวว่า "ดีครับ ตอนนี้โปรดปล่อยแขนลงตามปกติ" แล้วคุณหมอก็หมุนไม้เท้าไป 90 องศา จนกระทั่งด้ามถืออยู่ในแนวตั้ง แล้วจึงให้คุณปู่เอื้อมมือเพื่อฉวยเอาไม้เท้าอีกครั้งหนึ่ง คุณปู่ก็ได้ทำอย่างนี้ โดยหมุนข้อมือเพื่อจะให้มืออยู่ในแนวเดียวกันกับด้ามถือ กรณีศึกษานี้แสดงว่า แม้ว่าคุณปู่เจจะไม่มีการรับรู้ถึงความสามารถในการเห็นที่เขามี แต่เขาสามารถหันข้อมือเพื่อที่จะฉวยเอาไม้เท้าได้อย่างเหมาะสม เหมือนกับคนที่ไม่มีปัญหาอะไรในการเห็น[4]

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาวะเห็นทั้งบอด http://www.psychologytoday.com/blog/brain-sense/20... http://blogs.scientificamerican.com/observations/2... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=u... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16143169 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16174315 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16714319 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17156217 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17901259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19805240 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21324336