บทบาทของเขตในสมอง ของ สภาวะเห็นทั้งบอด

เพราะเหตุที่การประมวลผลในสมองเป็นไปตามลำดับขั้น ความสูญเสียส่วนของคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ย่อมนำไปสู่การมองไม่เห็นในส่วนของลานสายตาที่สัมพันธ์กับคอร์เทกซ์ที่เสียหาย เขตที่มองไม่เห็นนี้ ซึ่งเรียกว่าดวงมืดในลานเห็น (scotoma) อยู่ในลานสายตาด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เสียหาย และมีความแตกต่างกันของขนาด เป็นตั้งแต่เขตเล็ก ๆ จนไปถึงลานสายตาทั้งครึ่งซีก (คือในลานสายตาที่เป็นส่วนเฉพาะของซีกสมองที่เสียหาย) แม้ว่า การประมวลผลทางสายตาจะเกิดขึ้นในสมองเป็นไปตามลำดับขั้น แต่ก็ยังประกอบด้วยการส่งสัญญาณข้ามลำดับ และการส่งสัญญาณป้อนกลับไปในเขตที่ต่ำกว่า

ทางสัญญาณจากเรตินาไปยังเขตสายตา V1 ไม่ใช่วิถีประสาทตาทางเดียวที่ส่งเข้าไปในคอร์เทกซ์ แม้ว่าจะเป็นวิถีที่ใหญ่มากที่สุด เชื่อกันอย่างแพร่หลายว่า สมรรถภาพที่หลงเหลืออยู่ในคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอด เกิดจากวิถีประสาทที่ไม่มีความเสียหาย ที่เข้าไปสู่คอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) ตั้งแต่ V2 เป็นต้น โดยไม่ผ่าน V1 แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ การทำงานในเขตคอร์เทกซ์นอกคอร์เทกซ์ลายเหล่านี้ ไม่ปรากฏว่าเพียงพอที่จะสนับสนุนให้เกิดการรับรู้คือการเห็นโดยปราศจาก V1

กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การศึกษาทางสรีรภาพเร็ว ๆ นี้บอกเป็นนัยว่า การประมวลผลทางสายตา เกิดขึ้นในวิถีประสาทหลายทางที่เป็นอิสระจากกันและกัน และมีการประมวลผลที่เป็นไปพร้อม ๆ กันอย่างขนาน คือ ระบบหนึ่งประมวลข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่าง ระบบหนึ่งเกี่ยวกับสี ระบบหนึ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ตำแหน่ง และระเบียบในปริภูมิ ข้อมูลสายตาเกิดขึ้นเริ่มที่เรตินา และเดินทางผ่านเขตของสมองคือ lateral geniculate nucleus ที่อยู่ในทาลามัส แล้วมีการส่งต่อไปเพื่อประมวลผลในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (V1 หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คอร์เทกซ์ลาย เพราะปรากฏให้เห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีรอยริ้ว)

ถึงแม้ว่า คนไข้ที่มีความเสียหายใน V1 จะไม่มีการเห็น จะไม่สามารถจินตนาการมโนภาพได้ และจะไม่เห็นอะไร ๆ เมื่อฝัน อย่างไรก็ดี คนไข้บางพวกเหล่านี้กลับยังมีสภาวะเห็นทั้งบอด (Kalat, 2009)

ยิ่งไปกว่านั้น superior colliculus และ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ก็ปรากฏว่ามีบทบาทสำคัญในการรับรู้ตัวกระตุ้นทางตา[22]

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาวะเห็นทั้งบอด http://www.psychologytoday.com/blog/brain-sense/20... http://blogs.scientificamerican.com/observations/2... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=u... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16143169 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16174315 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16714319 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17156217 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17901259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19805240 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21324336