งานวิจัย ของ สภาวะเห็นทั้งบอด

งานวิจัยที่ทำในคริสต์ทศวรรษ 1970 พบว่า ถ้าคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอดถูกบังคับให้เดาว่า มีตัวกระตุ้นอยู่ในเขตสายตาที่มองไม่เห็นหรือไม่ บางคนจะสามารถทำได้ดีกว่าบังเอิญ[17] ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นที่คนไข้ไม่มีการรับรู้ อาจจะขยายไปถึงการแยกแยะประเภทของตัวกระตุ้น เป็นต้นว่า เป็นตัวอักษร X หรือ O ที่อยู่ในเขตสายตาที่มองไม่เห็น

หลักฐานทางสรีรไฟฟ้าจากปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 (เดอ โมนาสเตริโอ, ค.ศ 1978; มาร์รอคโคและลี, ค.ศ 1977; ชิวล์เลอร์และมัลเพลี, ค.ศ. 1977) แสดงว่า ไม่มีข้อมูลเรตินาที่ไปจากเซลล์รูปกรวยในจอตาประเภท S (ซึ่งรับรู้แสงในความถี่สีน้ำเงิน) ไปยัง superior colliculus โดยตรง และบอกเป็นนัยว่า การรับรู้สีน่าจะเสียหายในคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอด แต่ว่า หลักฐานเร็ว ๆ นี้กลับแสดงว่ามีวิถีประสาทจากเซลล์รูปกรวยในจอตาประเภท S ไปยัง superior colliculus ซึ่งเป็นผลตรงข้ามกับงานวิจัยที่เกิดขึ้นก่อนของเดอ โมนาสเตริโอ และสนับสนุนความคิดว่า กลไกประมวลข้อมูลเกี่ยวกับสีไม่มีความเสื่อมเสียไปในคนไข้สภาวะเห็นทั้งบอด[18][19]

มาร์โค ทาเมียตโต และบีทริซ เดอ เกลเดอร์ ทำการทดลองที่เชื่อมการตรวจจับความรู้สึกของคนอื่นและสภาพเห็นทั้งบอด คือ ในงานวิจัยนั้น มีการแสดงภาพของบุคคลที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ในลานสายตาข้างที่บอดของคนไข้ แต่คนไข้กลับสามารถเดาอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นอย่างถูกต้องโดยมาก และเมื่อมีการตรวจวัดความเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ใช้ในการยิ้มหรือการขมวดคิ้วของคนไข้ ก็พบว่า กล้ามเนื้อเหล่านั้นจะตอบสนองโดยเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลในภาพที่คนไข้มองไม่เห็น ดังนั้น ผลนี้จึงแสดงว่า คนไข้สามารถระบุความรู้สึกของผู้อื่น โดยไม่ต้องใช้ความรู้สึกในการเห็น

งานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2011 พบว่า คนไข้หญิงอายุน้อยที่มีรอยโรคในเขตสายตา V1 ของสมองเพียงข้างเดียว สามารถจะปรับขยายมืออย่างเหมาะสมได้ เมื่อเธอเอื้อมมือออกไปเพื่อจะหยิบจับวัตถุมีขนาดต่าง ๆ กันที่แสดงให้คนไข้ในเขตที่มองไม่เห็น แม้ว่า เธอจะไม่สามารถบอกขนาดของวัตถุเหล่านั้นได้[20]

และคล้าย ๆ กัน คนไข้อีกคนหนึ่งที่มีรอยโรคใน V1 ของสมองเพียงข้างเดียว สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางที่อยู่ในเขตที่มองไม่เห็น เมื่อเขาเอื้อมมือไปทางวัตถุที่อยู่ในเขตที่มองเห็น[21] และถึงแม้ว่า เขาสามารถที่จะหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางเหล่านั้นได้ แต่เขาไม่เคยรายงานเลยว่า เขาเห็นสิ่งกีดขวางเหล่านั้น

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาวะเห็นทั้งบอด http://www.psychologytoday.com/blog/brain-sense/20... http://blogs.scientificamerican.com/observations/2... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=u... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16143169 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16174315 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16714319 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17156217 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17901259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19805240 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21324336