คำพรรณนา ของ สภาวะเห็นทั้งบอด

สมองประกอบด้วยกลไกหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเห็น มีระบบการเห็น 2 อย่างที่มีการวิวัฒนาการในสัตว์บรรพบุรุษในยุคสมัยที่แตกต่างกัน ระบบแรกที่มีการวิวัฒนาการก่อนเป็นระบบที่ง่าย ๆ และคล้ายกับระบบการเห็นที่มีในสัตว์ต่าง ๆ เช่นปลาและกบ

ระบบที่สองเป็นระบบที่ซับซ้อนกว่า เป็นระบบการเห็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีบทบาทในการรับรู้โลกภายนอกรอบ ๆ ตัว ส่วนระบบแรกมีบทบาทหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของตา และส่งความใส่ใจไปยังสิ่งเร้าที่เคลื่อนไหวโดยฉับพลันในส่วนรอบนอกของลานสายตา

คนไข้สภาวะเห็นทั้งบอดจะมีความเสียหายต่อระบบที่สอง คือระบบสายตาที่มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งก็คือคอร์เทกซ์สายตาในสมองและใยประสาทตา (Optic tract และ Optic nerve) ที่ส่งข้อมูลมาจากตา[4]

ปรากฏการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการบางอย่างในสมอง คือ แม้ว่าระบบสายตาที่ซับซ้อนจะเกิดความเสียหายแล้ว คนไข้ยังสามารถใช้ระบบสายตาที่ง่าย ๆ เพื่อนำทางการเคลื่อนไหวของมือ ไปสู่วัตถุตัวกระตุ้น ถึงจะไม่สามารถเห็นว่ากำลังเข้าไปคว้าจับอะไร[4] ดังนั้น ข้อมูลทางตาสามารถควบคุมพฤติกรรมโดยที่ไม่ต้องก่อให้เกิดความรู้สึกคือการเห็น สมรรถภาพในการเห็นที่ไม่มีการรับรู้ของผู้มีสภาวะนี้ บอกเป็นนัยว่า การรับรู้ไม่ใช่เป็นคุณสมบัติหรือองค์ประกอบที่จำเป็นในทุก ๆ เขตภายในสมอง และบอกเป็นนัยว่า เขตบางเขตเท่านั้นในสมองมีบทบาทสำคัญในการรับรู้สิ่งเร้า[4]

สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น คนไข้สภาวะเห็นทั้งบอดอาจจะรับรู้ลักษณะของวัตถุอย่างหนึ่ง เช่นขอบและการเคลื่อนไหวของวัตถุ แต่ไม่สามารถรับรู้อารมณ์โดยรวม ๆ ได้ นี้บอกเป็นนัยว่า การรับรู้สิ่งเร้านั้นมีได้ทั้งในระบบย่อยที่แยกเป็นส่วน ๆ (เช่นการเห็นขอบและการเคลื่อนไหวของวัตถุ) และในระบบที่รวบรวมประสานข้อมูลจากระบบย่อยเพื่อให้เกิดการรับรู้สิ่งเร้าโดยรวม ๆ ได้[6]

เพราะฉะนั้น การชี้ตัวอารมณ์ (object identification) และการรู้จำอารมณ์ (object recognition) จึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นกระบวนการต่างกัน ที่เกิดขึ้นในเขตสมองต่างกัน ทำงานโดยเป็นอิสระจากกันและกัน ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบย่อยของการชี้ตัวและการรู้จำอารมณ์ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ "การรับรู้แฝง" ที่คนไข้เห็นทั้งบอดประสบ นอกจากนั้น งานวิจัยต่าง ๆ ยังได้แสดงอีกด้วยว่า ตัวกระตุ้นทางตาที่เห็นได้โดยลักษณะอย่างเดียว เช่นขอบเขตที่ชัดเจน ความฉับพลันในการปรากฏและหายไป[10]การเคลื่อนไหว[11]ความถี่ปริภูมิ[12]ที่ต่ำ[13]เป็นตัวสนับสนุน แม้ว่าจะไม่ใช่เป็นเหตุสำคัญ ของความชัดเจนของอารมณ์ในปรากฏการณ์เห็นทั้งบอด

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาวะเห็นทั้งบอด http://www.psychologytoday.com/blog/brain-sense/20... http://blogs.scientificamerican.com/observations/2... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=u... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16143169 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16174315 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16714319 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17156217 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17901259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19805240 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21324336