ประวัติ ของ สภาวะเห็นทั้งบอด

ความเข้าใจที่มีเกี่ยวกับสภาวะนี้ในยุคต้น ๆ มาจากงานทดลองที่ทำในลิง โดยเฉพาะลิงตัวหนึ่งเป็นพิเศษที่เรียกว่า เฮเล็น ตัวที่เราอาจจะพิจารณาได้ว่า เป็นดาราลิงในงานวิจัยเกี่ยวกับสายตา เพราะว่า เธอเป็นสัตว์ทดลองดั้งเดิมในงานวิจัยบอดทั้งเห็น เฮเล็นเป็นลิงแม็กแคกที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (หรือ V1) ถูกทำลายโดยไม่มีส่วนเหลือ ซึ่งมีผลตามความคาดหมายก็คือ เฮเล็นมองไม่เห็น ซึ่งตรวจได้โดยการทดสอบความบอดทั่ว ๆ ไป

อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เฮเล็นกลับแสดงพฤติกรรมที่เหมือนกับเห็น คือ เมื่อประสบกับตัวกระตุ้นที่อาจจะเป็นภัยกับตาของเธอ ม่านตาของเธอก็จะขยาย และเธอก็กระพริบตา ยิ่งไปกว่านั้น ภายใต้การทดสอบบางอย่าง เธอสามารถตรวจจับตัวกระตุ้นทางตาแบบต่าง ๆ เช่นความมีอยู่ของตัวกระตุ้น ตำแหน่งของตัวกระตุ้น รูปร่าง ลวดลาย แนวทิศทาง ความเคลื่อนไหว และสี[5][6][7]

ในหลายกรณี เธอสามารถเคลื่อนที่ไปในสิ่งแวดล้อมและทำปฏิกิริยาต่อวัตถุต่าง ๆ เหมือนกับมองเห็น[8]

ปรากฏการณ์ที่คล้ายกันก็มีอยู่ในมนุษย์ด้วย คือ จะมีคนไข้ที่ประสบความเสียหายในคอร์เทกซ์สายตาเพราะอุบัติเหตุหรือโรคหลอดเลือดสมอง ที่แจ้งว่า มองไม่เห็นอะไรเลย หรือว่ามองเห็นบ้าง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อบอกให้เดา กลับสามารถทำการเดาที่มีความแม่นยำมากกว่าบังเอิญเกี่ยวกับความมีอยู่และรายละเอียดอื่นของตัวกระตุ้น เหมือนกับที่พบในสัตว์ทดลอง ยิ่งไปกว่านั้น คนไข้สามารถคว้าจับวัตถุที่โยนไปให้เมื่อบอกให้รับ

เป็นที่น่าสนใจว่า ความมั่นใจในความสามารถนั้นของคนไข้กลับไม่พัฒนาขึ้น คือ แม้ว่าคนไข้จะรู้ว่าตนทำงานประเภทนั้นได้สำเร็จ คนไข้ก็ยังจะไม่เริ่มทำการเดาเกี่ยวกับตัวกระตุ้นโดยตนเอง แต่ยังต้องอาศัยการบอก ยิ่งไปกว่านั้น คนไข้แทบจะไม่เคยแสดงความอัศจรรย์ใจในความสามารถของตน ตามที่คนอื่นคิดว่า คนไข้ควรจะมี[9]

ใกล้เคียง

สภาวะเห็นทั้งบอด สภาวะตื่นตัว สภาวะโลกร้อน สภาวะสมดุลอุทกสถิต สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว สภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง สภาวะกรด สภาวะแวดล้อม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สภาวะเห็นทั้งบอด http://www.psychologytoday.com/blog/brain-sense/20... http://blogs.scientificamerican.com/observations/2... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=u... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16143169 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16174315 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16714319 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17156217 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17901259 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19805240 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21324336