รายนามสมุหนายก ของ สมุหนายก

สมัยอยุธยา

ราชทินนามรูปภาพช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
ออกญาจักรีรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิถูกพม่าจับไปเป็นเชลยในสงครามช้างเผือก

เป็นไส้ศึกในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมชาวเปอร์เซีย

ปฐมจุฬาราชมนตรี

ต้นสกุลบุนนาค

เจ้าพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชชาวกรีก

เสียชีวิตในพ.ศ. 2231 ในการยึดอำนาจของพระเพทราชา

เจ้าพระยาจักรี (ครุฑ)รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ"เจ้าพระยาจักรีบ้านโรงฆ้อง"

นำทัพทำสงครามกับอาณาจักรเขมรอุดงในพ.ศ. 2260

พระยาราชสงคราม (ปาน) ที่สมุหนายกรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

จนถึงพ.ศ. 2275

ชะลอพระพุทธไสยาสน์มาไว้ที่วัดป่าโมกเมืองอ่างทอง[1]

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดฯให้ย้ายไปที่สมุหกลาโหมแทนในพ.ศ. 2275[2]

เจ้าพระยาอภัยมนตรีรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พ.ศ. 2275 - 2285

เดิมเป็นหลวงจ่าแสนยากร
เจ้าพระยาราชภักดี (สว่าง)รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พ.ศ. 2285 - 2298

บุตรของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
เจ้าพระยาอภัยราชารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์

พ.ศ. 2298 - 2301

"เจ้าคุณประตูจีน"

เดิมเป็นพระยาราชสุภาวดี

ถูกปลดในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์[2]

เข้าร่วมในสงครามอลองพญา[3]

บิดาของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี)

พระยาพระคลังที่สมุหนายก[4]รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์

ตั้งแต่พ.ศ. 2301

เข้าร่วมในสงครามอลองพญา[3]

สมัยธนบุรี

ลำดับที่ราชทินนามช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
1เจ้าพระยาจักรี (หมุด)พ.ศ. 2310 - 2317"เจ้าพระยาจักรีแขก"

เชื้อสายของสุลต่านสุลัยมาน ชาห์

บิดาของพระยาราชวังสัน (หวัง)

พระเปตามไหยกาในสมเด็จพระศรีสุลาลัย

2เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง)พ.ศ. 2313 - 2325ตำแหน่งคือพระยายมราชว่าที่สมุหนายกควบคู่กับเจ้าพระยาจักรี (หมุด) ในพ.ศ. 2313[5]

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาจักรี

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก

ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

สมัยรัตนโกสินทร์

ลำดับที่ราชทินนาม / พระนามรูปภาพช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
1เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน์)รัชกาลที่ 1

พ.ศ. 2325 - ไม่ทราบปี

เดิมเป็นพระอักขรสุนทร เสมียนตรากระทรวงมหาดไทยในสมัยธนบุรี และเป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่1

ครั้นรัชกาลที่1 ปราบดาภิเษกแล้ว โปรดฯให้เป็น พระยารัตนาพิพิธที่สมุหนายกต้นสกุลสนธิรัตน์

บิดาของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (เสือ) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (มั่ง) พระยาเสนาพิพิธ (หมี) ท้าวสมศักดิ์ (นก) และเจ้าจอมมารดาปุก เจ้าจอมมารดาในพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าจามรี ในรัชกาลที่3

หลังถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีฉลู พ.ศ.2348 อายุ 70ปีตำแหน่งสมุหนายกว่างลง

2เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน รัตนกุล)รัชกาลที่ 2

พ.ศ. 2352 - ไม่ทราบปี

ชาวจีนแต้จิ๋ว แซ่อึ้ง

ครั้งกรุงธนบุรี เป็น พระราชประสิทธิ์ในรัชกาลที่1 เป็น พระยาศรีพิพัฒน์ แล้วโปรดให้เป็นเจ้าพระยาพระคลัง เรียกว่า ท่านท่าเรือจ้าง

ครั้นรัชกาลที่2 เสวยราชสมบัติ ทรงตั้งเป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ที่สมุหนายก

บิดาของ จมื่นมหาดเล็ก(ทองอยู่) พระยารัตนามาตยพงศ์ภักดี (สัตวา) ท้าววรจันทร์ (อิ่ม) และพระเบญจวรรณซึ่งเป็นพระนิกรมมุนี ที่พระราชาคณะครองวัดพระยาทำ

ต้นสกุลรัตนกุล

3เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3

จนถึงพ.ศ. 2370

บุตรเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุณรอด)

ในรัชกาลที่1 เป็นพระยาอนุชิตราชา

ในรัชกาลที่2 เป็นเจ้าพระยายมราช

ครั้นเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์(กุน) ถึงอสัญกรรม จึงโปรดฯให้เป็น เจ้าพระยาอภัยภูธร'ที่สมุหนายก

ในรัชกาลที่3 ได้พระราชทานกลด และเสลี่ยง ครั้นปีกุน พ.ศ.2370 เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ ท่านขึ้นไปทัพป่วยถึงแก่อสัญกรรม ขณะเข้าร่วมการปราบเจ้าอนุวงศ์

บิดาของเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) พระยากลาโหมราชเสนา(กรับ) และ เจ้าจอมเคลือวัลย์ ในรัชกาลที่3

ต้นสกุลบุณยรัตพันธุ์

4เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)รัชกาลที่ 3

พ.ศ. 2370 - 2392

เดิมเป็นพระยาราชสุภาวดี

ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายกในพ.ศ. 2370

ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาในพ.ศ. 2372

ต้นสกุลสิงหเสนี

5เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4

พ.ศ. 2392 - ไม่ทราบปี

ชาวจีนฮกเกี้ยน เป็นบุตรหลวงพิชัยวารี ชื่อมัน แซ่อึ้ง เป็นข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่3

ได้เป็น พระพิชัยวารี ในรัชกาลที่2เป็นพระยาพิชัยวารี' เมื่อครั้งรัชกาลที่3 เสวยราชย์สมบัติแล้วต่อมาเป็นพระยาราชสุภาวดี โปรดฯให้ว่าที่สมุหนายกในรัชกาลที่3ครั้นรัชกาลที่4 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดีที่สมุหนายก

ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร์ในพ.ศ. 2394

บิดาของเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร)

เจ้าพระยารัตนาบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร)

ท้าวสมศักดิ์(อึ่ง)เจ้าจอมมารดาของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา

พระยาชัยวิชิต(ช่วง) บิดาเจ้าจอมมารดาแสง ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร ,พระองค์เจ้านภางคนิพัทธพงศ์ ,พระองค์เจ้าภัทรายุวดี และพระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ

พระยามหาอำมาตย์(ชื่น) บิดาเจ้าจอมมารดาแช่ม ของกรมหลวงปราจิณกิติบดี และเป็นบิดาเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์(เชย)

ต้นสกุลกัลยาณมิตร

6เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์)รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5บุตรของเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย)

ในรัชกาลที่3 เป็นนายสนิทหุ้มแพร แล้วเป็น หลวงศักดิ์นายเวร แล้วเลื่อนเป็น พระยาสุริยภักดี เมื่อปลายรัชกาลถูกถอด ในรัชกาลที่4 โปรดฯให้เป็น พระยามหามนตรี แล้วเลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราชครั้นเจ้าพระยานิกรบดินทร ถึงอสัญกรรม จึงโปรดฯให้เป็น เจ้าพระยาภูธราภัย ที่สมุหนายก

บิดาของ เจ้าพระยาศรีธรรมธิราช(เวก) ,พระยาสีหราชฤทธิไกร(แย้ม) ,เจ้าจอมมารดาตลับ ของพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ และ พระองค์เจ้ากาพย์กนกรัตน์ ในรัชกาลที่4 ,ท้าวสมศักดิ์(โหมด)

ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2421 อายุ71 ปี

7สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์รัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2421 - 2429

พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
8เจ้าพระยารัตนาบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร)รัชกาลที่ 5

พ.ศ. 2429 - 2435

บุตรของเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)