วิกฤติสันตติวงศ์ ของ สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่_2_แห่งโปรตุเกส

เมื่อพระอัยกาของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส เสด็จสรรคตเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2369 ก็เกิดวิกฤติในประเทศโปรตุเกส รัชทายาทขององค์กษัตริย์ เจ้าชายเปดรู ได้ประกาศอิสรภาพของบราซิล เมื่อ พ.ศ. 2365 และพระองค์ก็เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล พระมหากษัตริย์ยังมีโอรสองค์เล็กอีกองค์คือ พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส แต่พระองค์ก็ถูกเนรเทศในออสเตรีย หลังจากนำกองทัพเข้าต่อต้านระบอบการปกครองของพระบิดาของพระองค์และระบอบเสรีนิยม

ก่อนการสวรรคตของ พระเจ้าฌูเอาที่ 6 เจ้าหญิงอิซาเบล มารีอาแห่งโปรตุเกสได้รับการเสนอพระนามให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนกระทั่ง "ทายาทที่ถูกต้องกลับไปยังราชอาณาจักร" แต่พระองค์ก็ล้มเหลว ที่จะระบุว่าพระราชโอรสของพระองค์มีสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากพระองค์หนึ่งเป็นจักรพรรดิแห่งบราซิล อีกพระองค์หนึ่งถูกเนรเทศ

ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่าจักรพรรดิเปดรูที่ 1 นั้นคือทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ชาวบราซิลไม่ต้องการให้โปรตุเกสและบราซิลรวมกันอีกครั้ง ประเทศในยุโรปที่ได้รับภายใต้การปกครองของบราซิลเมื่อทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของ สหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ ซึ่งก่อตั้งโดยพระเจ้าฌูเอาที่ 6 ในระหว่างที่พำนักอยู่ที่รีโอเดจาเนโรจาก 2351 จนถึง 2363 ต่อมาพระองค์ทราบว่าผู้ที่สนับสนุนพระอนุชาของพระองค์จะนำพระเจ้ามิเกลมาครองบัลลังก์ จักรพรรดิเปดรูจึงตัดสินในหาทางเลือกที่ดีที่สุด สุดท้ายพระองค์จึงสละราชบัลลังก์ให้แก่ เจ้าหญิงมารีอา ดา กลอเรีย พระราชธิดาพระองค์โต (ซึ่งมีพระชนมายุเพียง 7 พรรษา) พระองค์จะต้องอภิเษกสมรสกับ พระเจ้ามิเกล พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งจะต้องยอมรับกฎหมายเสรีนิยม และทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนกว่าพระภาติยะจะโตพอที่จะครองราชย์ได้

พระเจ้ามิเกลทรงตกลงที่จะยอมรับ แต่เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงโปรตุเกส พระองค์ก็โค่นราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 และยกเลิกรัฐธรรมนูญเสรีนิยม ในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีแต่ความหวาดกลัว สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 ได้เสด็จลี้ภัยไปยังที่ต่างๆ เช่นเดียวกับพระอัยกาของพระองค์ ที่กรุงเวียนนา ลอนดอน และปารีส

จักรพรรดิเปดรูที่ 1 สละราชบัลลังก์เมื่อ พ.ศ. 2374 ซึ่งครองราชย์ต่อโดยพระราชโอรส (และพระอนุชาของสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล) และพระองค์ได้เข้าร่วมกองกำลังที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 ที่อะโซร์ส เพื่อทำสงครามกับพระเจ้ามิเกล และบังคับให้พระเจ้ามิเกลสละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2377

สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 2 ครองราชย์ครั้งที่สอง เนื่องจากพระอนุชาของพระองค์ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล และเจ้าหญิงรัชทายาท ถูกตัดสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์ตามรัฐธรรมนูณมาตราที่ 91 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2378

ใกล้เคียง

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก