การกระจายพันธุ์ ของ สิงโตกลอกตา

กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิดและแต่ละชนิดมักใช้คำว่า "สิงโต" นำหน้าสิงโตกลอกตาเป็นสกุลที่มีการกระจายพันธุ์เป็นที่กว้างในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก พบในทวีปต่างๆหลายทวีป มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่พบสิงโตกลอกตามากที่สุด ซึ่งประเทศปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตามากที่สุดถึง 600 ชนิด เราสามารถจำแนกการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้สิงโตกลอกตาได้ 2 แบบ คือ

การกระจายพันธุ์ตามเขตพฤกษภูมิศาสตร์

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน ซึ่ง ส่งผลต่อการกระจายพันธุ์ของสิงโตกลอกตา สิงโตกลอกตาที่กระจายพันธุ์เหนือเส้นศูนย์สูตรมักจะชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดกระจายพันธุ์ตั้งแต่เขตอบอุ่นเทือกเขาหิมาลัยที่อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีและมาถึงตอนเหนือของแถบอินโดจีนซึ่งมีอากาศร้อนชื้น เช่น สิงโตงาม ( B. orectepetalum ) สำหรับชนิดที่กระจายพันธุ์ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรซึ่งมีอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝันในแต่ละปีมาก จะพพบสิงโตกลอกตากลุ่มนี้เฉพาะแถบคาบสมุทรหรือตามเกาะต่างๆ เช่น สิงโตถิ่นใต้ (B. purpurascens) สิงโตดอกไม้ไฟ ( B. medusa) หรือสิงโตหนวดยาว ( B. vaginatum ) จะพบการกระจายพันทางภาคใต้ของไทยไปถึงเกาะต่างๆ ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนไปถึงฟิลิปปินส์

การกระจายพันธุ์ถิ่นเดียว

ในประเทศไทยพบสิงโตกลอกตาที่เป็นพืชถิ่นเดียวถึง 44 ชนิด บางชนิดมีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เขตกว้าง เช่น สิงโตไข่ปลาแม่สา ( B. didymotropis) พบในป่าดิบเขาหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ บางชนิดพบการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆเท่านั้นเช่น สิงโตเชียงดาว พบที่บนยอดเขาหินปูนของดอยหลวงเชียงดาว

การกระจายพันธุ์ในทวีปต่างๆ

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศทีมีผลกระทบต่อการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้สกุลนี้ ในแต่ละทวีปจึงพบสิงโตกลอกตาชนิดต่างๆที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ จะพบกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา พวก B. Pachyrachis B. atropurpureum B. bidentatum และ B. cirrhosum
  2. ทวีปแอฟริกา จะพบพวก B. nutans ซึ่งเป็นชนิดที่เป็นต้นแบบในการตั้งสกุล นอกจากนี้ยังพบชนิดอื่นๆอีก เช่น B. acutibracteatum B. aggregatum และ B. bicolotum การศึกษากล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาในทวีปแอฟริกานี้ประสบความสำเร็จมากและได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือ “ A Taxonomic Revision of the Continental African Bulbophyllinae” เขียนขึ้นโดย Jaap J. Vermeulen ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาของโลก
  3. ทวีปเอเชีย เป็นพื้นที่ที่พบกล้วยไม้สกุลนี้มากที่สุดในโลก โดยบริเวณแผ่นดินใหญ่จะพบสิงโตกลอกตาหลายชนิดมากเมื่อเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้น ในประเทศเป็นประเทศที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการกระจายพันธุ์ทำให้เราพบสิงโตกลอกตาได้หลายบชนิด รวมไปถึงสิงโตกลอกตาที่ชอบอากาศหนาวเย็นเราสามารถพบได้ทางแถบภาคเหนือของไทย และพวกที่ชอบอากาศร้อนชื้นเราสามารถพบได้ในแถบภาคใต้ของไทย ในเกาะต่างๆเราจะพบตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ศรีลังกา สุมาตรา ชวา รวมไปถึงหมู่เกาะของฟิลิปปินส์ในมหาสุมทรแปซิฟิก
  4. ทวีปออสเตรเลีย เป้นทวีปที่พบการกระจายพันธุ์ของสิงโตกลอกตาอีกจำนวนหนึ่ง เช่น B. crassulifolium, B. exiguum, B. schillerianum เป็นต้น[6]