ภาระผูกพันของรัฐ ของ สิทธิในอาหาร

ภาระผูกพันของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในอาหารนั้นเป็นที่ยอมรับภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ[5] โดยการลงนามใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) รัฐตกลงที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ของตน เพื่อให้บรรลุถึงการบรรลุถึงสิทธิที่จะได้รับอาหารอย่างเพียงพออย่างเป็นลำดับขั้น พวกเขายังรับทราบถึงบทบาทสำคัญของความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศในบริบทนี้ [30] ภาระหน้าที่นี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งโดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม[14] ผู้ลงนามในหลักเกณฑ์ด้านสิทธิในอาหาร ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามสิทธิ์ในอาหารในระดับชาติ

ในความคิดเห็นทั่วไปข้อที่ 12 โดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตีความภาระพูกผันของรัฐเป็น 3 ประเภท ได้แก่[31]

  1. เคารพ หมายความว่ารัฐต้องไม่ขัดขวางโดยพลการในการไม่ให้ผู้คนเข้าถึงอาหาร
  2. ปกป้อง หมายความว่ารัฐควรใช้มาตรการเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรหรือบุคคลจะไม่กีดกันบุคคลในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ
  3. เติมเต็ม (อำนวยความสะดวกและจัดหา) หมายถึงว่ารัฐบาลต้องมีส่วนร่วมเชิงรุกในกิจกรรมที่มุ่งมั่นเสริมสร้างในการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อดำรงชีพของประชาขน รวมทั้งความมั่นคงทางอาหาร นอกจานี้ หากด้วยเหตุผลที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ในยามสงครามหรือหลังภัยพิบัติทางธรรมชาติ กลุ่มหรือบุคคลไม่สามารถมีสิทธิในอาหารได้รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องให้สิทธิ์นั้นโดยตรง[4]

สิ่งเหล่านี้ได้รับการรับรองจากรัฐอีกครั้งเมื่อสภาองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ รับรองแนวทางด้านสิทธิในอาหาร[4]

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตระหนักดีว่าสิทธิที่จะเป็นอิสระจากความหิวโหยต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับเรื่องของการผลิต การเกษตร และอุปทานทั่วโลก มาตรา 11 ระบุว่า:

รัฐภาคีแห่งกติกานี้... จะต้องดำเนินมาตรการด้วยตนเองและโดยผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงแผนงานเฉพาะซึ่งจำเป็น:(a) เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิต การเก็บรักษา และจำหน่ายอาหารโดยใช้ความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ โดยเผยแพร่องค์ความรู้ตามหลักโภชนาการ และโดยการพัฒนาหรือปฏิรูป ระบบเกษตรกรรม ในลักษณะที่จะบรรลุการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (b) คำนึงถึงปัญหาของประเทศผู้นำเข้าอาหารและส่งออกอาหาร เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกระจายเสบียงอาหารทั่วโลกอย่างเท่าเทียมกันในส่วนที่เกี่ยวกับความต้องการ

การดำเนินการตามสิทธิในมาตรฐานอาหารในระดับชาติมีผลต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ศาล สถาบัน นโยบายและโครงการต่าง ๆ ของประเทศ รวมถึงสำหรับญัตติด้านความมั่นคงทางอาหารต่าง ๆ เช่น การประมง ที่ดิน การมุ่งเน้นกลุ่มที่เปราะบาง และการเข้าถึงทรัพยากร[5]

ยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุถึงสิทธิในอาหารอย่างก้าวหน้าควรทำหน้าที่สี่ประการ ได้แก่

  1. กำหนดภาระผูกพันที่สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับอาหารที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลหรือของเอกชน
  2. ปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ อาจทำให้เกิดผลต่อการตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
  3. กำหนดเป้าหมาย เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดที่วัดได้ กำหนดกรอบเวลาที่ควรบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ
  4. จัดให้มีกลไกเพื่อให้แน่ใจว่าทำให้เกิดความคิดริเริ่มทางกฎหมายใหม่ หรือนโยบายเกี่ยวกับสิทธิ[5]
ระหว่างประเทศ

สิทธิในอาหารได้กำหนดภาระผูกพันให้กับทุกรัฐไม่เพียงต่อบุคคลที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตของตนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชากรของรัฐอื่นด้วย สิทธิในอาหารจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ด้านหนึ่ง เป็นผลจากสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะทุพโภชนาการ และความไม่มั่นคงด้านอาหาร ในทางกลับกัน ประชาคมระหว่างประเทศสามารถมีส่วนร่วมได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดตั้งกรอบกฎหมายและสถาบันในระดับชาติเท่านั้น[5]

การไม่เลือกปฏิบัติ

ภายใต้มาตรา 2(2) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รัฐบาลตกลงว่าจะใช้สิทธิในอาหารโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทางเพศ สีผิว เชื้อชาติ อายุ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรืออื่น ๆ แหล่งกำเนิดระดับชาติหรือทางสังคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่น ๆ[4] คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เน้นย้ำถึงความเอาใจใส่เป็นพิเศษที่ควรมอบให้กับเกษตรกรผู้ด้อยโอกาสและเกษตรกรชายขอบ ซึ่งรวมถึงเกษตรกรที่เป็นผู้หญิงในสิ่งแวดล้อมชนบท[32]

ใกล้เคียง

สิทธิ สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเรียงตามประเทศหรือดินแดน สิทธิ เศวตศิลา สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย สิทธิเก็บกิน สิทธิในสุขภาพ สิทธิในอาหาร สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย สิทธิชัย ผาบชมภู สิทธิพร นิยม

แหล่งที่มา

WikiPedia: สิทธิในอาหาร http://www.cetim.ch/en/documents/Br-alim-A4-ang.pd... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/(Symbol)/3d02758c... http://www.unhchr.ch/tbs/doc.nsf/0/a5458d1d1bbd713... http://www.roosevelthouse.hunter.cuny.edu/events/r... http://www2.dijon.inra.fr/esr/pagesperso/trouve/Fo... http://a4id.org/sites/default/files/user/Right%20t... http://www.chrgj.org/publications/docs/wp/Ahluwali... http://www.fao.org/Legal/rtf/time-e.htm http://www.fao.org/righttofood/ http://www.fao.org/righttofood/kc/maps/Map1_en.htm